โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : เลขที่ 1 ม.11 ถ.ช่อแฮ ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่
ตำบล : ช่อแฮ
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : แพร่
พิกัด DD : 18.08622 N, 100.204345 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ยม
เขตลุ่มน้ำรอง : แม่น้ำแคม, แม่น้ำสาย, แม่น้ำก๋อน
การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต (กวีรัตน์) หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่ (กฤษกร วงค์กรวุฒิ 2549)
การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต (กวีรัตน์) หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่ (กฤษกร วงค์กรวุฒิ 2549)
พระธาตุช่อแฮเป็นโบราณปูชนียสถานที่สำคัญของไทย สามารถเข้าสักการะและเยี่ยมชมได้ทุกวัน
ทุกปีจะมีประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮ เริ่มในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (เดือน 4) ของทุกปี ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบ ไปด้วยริ้ว ขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่กังสดาลขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก การเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน
วัดพระธาตุช่อแฮ, กรมศิลปากร
วัดพระธาตุช่อแฮเป็นวัดในพุทธศาสนา เป็นที่สักการะของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ตั้งอยู่บนเนินเขาในพื้นที่เทือกเขาสลับกับที่ราบและเนินเขาทางตะวันออกของจังหวัดแพร่
แม่น้ำยม, แม่น้ำแคม, แม่น้ำสาย, แม่น้ำก๋อน
พื้นที่บริเวณวัดพระธาตุช่อแฮตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาด้านตะวันออกของจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแนวยาวตั้งแต่ด้านตะวันออกของอำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ และอำเภอร้องกวาง ขึ้นไปถึงอำเภอสอง ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาคือ เป็นหินชุดลำปาง(lampang formation) ประกอบด้วยหินดินดาน (Shale) ที่มีสีเทาเข้ม และสีเทาเขียว หินทราย (Sandstone) และหินกรวดมน (Conglomerate)ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในยุคTriassic (คือประมาณ 230 ล้านปีมาแล้ว) มักจะพบเศษเปลือกหอย และซากสิ่งมีชีวิตปะปนในเนื้อหินเหล่านี้ พบในบริเวณอำเภอเด่นชัย อำเภอเมืองแพร่ และอำเภอสอง(คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2542)
ชื่อผู้ศึกษา : สมหมาย เปรมจิตต์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2524
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
ให้ความเห็นถึงเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมในกลุ่มเมืองแพร่เอาไว้ว่าเป็น “พระเจดีย์แบบพุกามแปดเหลี่ยม” โดยถือว่าเป็นรูปแบบที่แปลกไปจากเจดีย์ล้านนาโดยทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบพิเศษเฉพาะของเมืองแพร่ และสันนิษฐานว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ด้านรูปแบบกับเจดีย์แปดเหลี่ยมวัดจามเทวี(รัตนเจดีย์) หรือเจดีย์เหลี่ยมวัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี นอกจากนั้นยังเชื่อว่ารูปแบบที่แตกต่างออกไปนี้อาจจะเป็นอิทธิพลของงานศิลปกรรมแบบทวารวดีในสมัยเก่าก่อนที่ยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา ทว่าในงานศึกษาดังกล่าวยังไม่ได้ทาการศึกษารูปแบบศิลปกรรมและกำหนดอายุสมัยเอาไว้ชัดเจน มีแต่เพียงการประมวลประวัติวัดและเจดีย์ตามที่ได้ศึกษาและเก็บข้อมูลมาเท่านั้นชื่อผู้ศึกษา : สายกลาง จินดาสุ
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2547
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
ทำการสรุปผลการศึกษาในเรื่อง “อิทธิพลทางวัฒนธรรมภายนอกที่ปรากฏในเมืองแพร่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21” ว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เมืองแพร่ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มวัฒนธรรมภายนอกคือสุโขทัย และล้านนาซึ่งทั้งสองกลุ่มวัฒนธรรมได้มีการส่งอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมเข้ามาสู่เมืองแพร่ด้วย โดยสำหรับกลุ่มเจดีย์ทรงบัวถลาแปดเหลี่ยมในเมืองแพร่ น่าจะเป็นอิทธิพลของศิลปกรรมแบบล้านนาที่เข้ามาปรากฏในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22ชื่อผู้ศึกษา : วรวรรษ เศรษฐธนสิน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2547
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
ศึกษากลุ่มเจดีย์บัวถลาเจ็ดชั้น และเจดีย์บัวถลาแปดเหลี่ยมในจังหวัดแพร่ โดยแบ่งกลุ่มเจดีย์ตามรูปแบบศิลปกรรมและกำหนดอายุสมัยออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ กลุ่มเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีฐานปัทมลูกแก้วอกไก่รองรับชุดบัวถลา กำหนดอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21, กลุ่มเจดีย์บัวถลาเจ็ดชั้น กำหนดอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 และกลุ่มเจดีย์บัวถลาสิบชั้น กำหนดอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งเป็นพัฒนาการของกลุ่มเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในเมืองแพร่ชื่อผู้ศึกษา : ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2554
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
ศึกษาแบ่งกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังล้านนาตามรูปแบบศิลปกรรมและอายุสมัย โดยกำหนดให้เจดีย์ทรงระฆังที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดบัวถลาในศิลปะล้านนาเป็น “เจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาระยะหลัง” มีอายุสมัยอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป เช่น พระธาตุดอยสุเทพ เจดีย์วัดเชษฐา เจดีย์วัดอุโมงค์อารยมณฑล เจดีย์วัดหัวข่วง เจดีย์วัดหม้อคำตวง และเจดีย์วัดนางเหลียว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้น “พระธาตุช่อแฮ” อันเป็นเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมในเมืองแพร่ก็ถูกจัดให้อยู่ในศิลปกรรมกลุ่มนี้ด้วย4 ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงกลุ่มเจดีย์รูปแบบนี้ในเมืองแพร่เกือบทั้งหมดด้วยเช่นกันชื่อผู้ศึกษา : พลวัตร อารมณ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
รูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมแบบเมืองแพร่ ที่เกิดขึ้นและสร้างอยู่ในเมืองแพร่มาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ในสมัยที่เมืองแพร่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน จึงน่าจะเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของงานช่างท้องถิ่นเมืองแพร่ได้เป็นอย่างดียิ่ง และจากการที่รูปแบบของเจดีย์ดังกล่าวถูกนำไปสร้างเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอย่าง“พระธาตุช่อแฮ” จึงน่าจะมีส่วนที่ช่วยตอกย้ำความศักดิ์สิทธิ์ของรูปแบบเจดีย์ได้มากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความนิยมในการจำลองหรือสร้างเจดีย์เลียนแบบพระธาตุช่อแฮกันเป็นจำนวนมากในแถบเมืองแพร่ ซึ่งความนิยมดังกล่าวนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทาให้“พระธาตุช่อแฮ” กลายเป็นสัญลักษณ์แทนเจดีย์ของเมืองแพร่ และทำให้เจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมกลายเป็นเจดีย์ทรงเอกลักษณ์ของเมืองแพร่ไปด้วยนั่นเองลักษณะสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ศิลปะของพระธาตุช่อแฮ
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุสูง 33 เมตร
ส่วนฐาน : ฐานล่างสุดประกอบด้วยฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยม 1 ฐานกว้างประมาณ 10X10 เมตร แล้วซ้อนด้วยชุดฐานเขียงในผังแปดเหลี่ยมอีก 2 ฐาน ซึ่งฐานเขียงทั้งสามชั้นนี้เป็นส่วนฐานที่ใช้รองรับองค์พระธาตุ
ส่วนกลาง : ใช้ชุดบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมจำนวน 7 ชั้นเป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆัง แล้วต่อด้วยองค์ระฆังขนาดเล็กในผังแปดเหลี่ยม
ส่วนยอด : ต่อด้วยบัลลังก์ย่อมุม (ฐานบัวย่อมุมไม้สิบสอง) ซึ่งน่าจะรับรูปแบบมาจากบัลลังก์ของเจดีย์ล้านนา ถัดจากบัลลังก์ขึ้นไปเป็นก้านฉัตร และปล้องไฉน คั้นด้วยบัวทรงคลุ่ม สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับการประดับปัทมบาทในเจดีย์แบบมอญ-พม่า แล้วจึงต่อด้วยปลี และประดับด้วยดอกหมากเบ็ง ตามลำดับ
จากรูปแบบศิลปกรรมดังกล่าวจะพบว่า ส่วนรองรับองค์ระฆังมีลักษณะในการออกแบบที่เน้นส่วนของหน้ากระดานมากกว่าส่วนของบัวคว่ำ(บัวถลา) โดยการทำหน้ากระดานให้มีขนาดที่กว้างและใหญ่กว่าความกว้างของบัวคว่ำ ประกอบกับการออกแบบเจดีย์ให้อยู่ในผังแปดเหลี่ยมด้วยแล้ว จึงทำให้มุมมองของส่วนรองรับองค์ระฆังนี้มีความราบเรียบและนำสายตาไปสู่ส่วนยอดที่ยืดสูงขึ้นไปตามการขยายของขนาดและจำนวนชั้นของชุดบัวถลา โดยการทำส่วนรองรับองค์ระฆังให้ยืดสูงขึ้นนี้จึงส่งผลให้องค์ระฆังมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งน่าจะเป็นอิทธิพลของกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่นิยมให้ความสำคัญกับส่วนรองรับองค์ระฆังจนทำให้เจดีย์มีลักษณะที่ยืดสูง แต่จะแตกต่างไปจากกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยที่จะคงระเบียบของส่วนรองรับองค์ระฆังเอาไว้อย่างชัดเจน คือ ใช้ชุดบัวถลาสามชั้นในผังกลมเป็นส่วนรองรับองค์ระฆังเสมอ แต่หากต้องการเน้นความยืดสูงของเจดีย์ จะใช้การปรับปรุงส่วนฐานล่างที่รองรับองค์เจดีย์แทน เช่น เจดีย์วัดเจดีย์สูง ซึ่งจะเห็นว่าส่วนที่ทำให้เจดีย์ยืดสูงขึ้นคือส่วนฐานล่าง ไม่ใช่ส่วนรองรับองค์ระฆังที่เป็นชุดบัวถลาสามชั้นแต่อย่างใด
ลักษณะเช่นนี้ก็น่าจะคล้ายคลึงกันกับเจดีย์ทรงระฆังในกลุ่มเมืองกำแพงเพชรด้วย เช่น เจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ เมืองกำแพงเพชร ถึงกระนั้นขนาดขององค์ระฆังในกลุ่มเจดีย์ที่ทำส่วนฐานยืดสูงก็มักมีขนาดที่เล็กลงเป็นธรรมดา แต่ทว่าความสำคัญในส่วนขององค์ระฆังจะยังชัดเจนกว่าองค์ระฆังในกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา
พัฒนาการทางด้านรูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมในเมืองแพร่กับความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์
จากการศึกษาเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนารุ่นหลัง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 เชื่อว่าน่าจะมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบศิลปกรรมกับเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมของเมืองแพร่ เพราะหลังจากที่เมืองแพร่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 สันนิษฐานว่าอิทธิพลทางด้านการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนาคงจะแผ่ขยายเข้ามาสู่เมืองแพร่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชสมัยที่พระเจ้าติโลกราชจนถึงสมัยพระเมืองแก้วทรงเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนา ถือได้ว่าเป็นยุคทองของล้านนาทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่อิทธิพลและแรงบันดาลใจจากงานช่างในศิลปะล้านนาน่าจะเข้ามาสู่เมืองแพร่อย่างเต็มตัว ในขณะที่เมืองแพร่เองเมื่อรับรูปแบบงานศิลปกรรมต่างๆ จากล้านนามาก็น่าจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานบางส่วนให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตนเองด้วย โดยรูปแบบศิลปกรรมของกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมในเมืองแพร่ทั้ง 4 ระยะนั้น มีพัฒนาการที่สอดคล้องและสัมพันธ์กันกับประวัติศาสตร์ดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 : ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21
ระยะแรกนี้เป็นช่วงเวลาที่เมืองแพร่ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาแล้ว โดยตามประวัติศาสตร์จะนับตั้งแต่ปี พ.ศ.1986-1987 เป็นต้นมา9 หลังจากที่พญาท้าวแม่นคุณ เจ้าเมืองแพร่ในสมัยนั้นยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งล้านนาที่ส่งกองทัพของพระมหาเทวีผู้เป็นพระชนนีมาล้อมตีเมืองแพร่เอาไว้ได้10 ซึ่งช่วงเวลาในระยะแรกนี้ตรงกับสมัยที่พระเจ้าติโลกราชทรงปกครองล้านนาเป็นสำคัญ และน่าจะเป็นช่วงแรกเริ่มที่ศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนาอย่างแท้จริงได้แผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมของเมืองแพร่ เช่น วัฒนธรรมทางด้านภาษาและวรรณกรรม พบหลักฐานจารึกพรหมจินดาและเจ้าสมุทรมงคลรูจี ซึ่งจารึกด้วยอักษรฝักขาม ระบุปี พ.ศ.1999 แสดงให้ถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมล้านนาที่เข้ามาสู่เมืองแพร่อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่ารูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังที่ใช้ชุดบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมเป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ดังที่ได้สันนิษฐานเอาไว้จึงน่าจะเข้ามาสู่เมืองแพร่ในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมในเมืองแพร่ที่น่าจะรับมาจากเจดีย์ในศิลปะล้านนาในระยะแรกนี้ ได้แก่ “กลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมที่ไม่มีฐานบัวรองรับ” ซึ่งเจดีย์กลุ่มนี้พบกระจายตัวอยู่ในเขตตัวเมืองแพร่เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างสำคัญคือ พระธาตุช่อแฮ พระธาตุมิ่งเมือง พระธาตุวัดพระร่วง เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพระธาตุเหล่านี้ใช้ชุดบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมเป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง บางองค์มีบัลลังก์อยู่ในผังย่อมุม และบางองค์มีบัลลังก์อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ต่อด้วยปล้องไฉนและปลีตามรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาทั้งหมด ทว่ากลับไม่นิยมทำฐานยกเก็จแบบล้านนารองรับองค์เจดีย์ แต่จะใช้ฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมเป็นส่วนฐานล่างที่รองรับองค์เจดีย์แทน โดยลักษณะการใช้เพียงฐานเขียงเป็นฐานรองรับองค์เจดีย์นี้เป็นระเบียบที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย ที่นิยมใช้ฐานเขียงไล่เหลี่ยมเป็นส่วนฐานล่างเหมือนกัน เช่น เจดีย์วัดเขาสุวรรณคีรี หรือเจดีย์วัดสระไข่น้ำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จะเห็นว่าเจดีย์เหล่านี้จะใช้เพียงฐานเขียงซ้อนกันขึ้นไปเป็นส่วนฐานล่างเท่านั้นและบางองค์มีการไล่รูปทรงจากฐานเขียงสี่เหลี่ยมไปหาฐานเขียงแปดเหลี่ยมด้วย ซึ่งระเบียบของชั้นฐานล่างดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นระเบียบเดียวกันกับกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมแบบเมืองแพร่ในระยะแรก และจากการที่ไม่ใช้ฐานบัวยกเก็จแบบล้านนารองรับองค์เจดีย์นี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเหตุผลประการสำคัญที่ทำให้เจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมของเมืองแพร่จำเป็นจะต้องเพิ่มจำนวนชั้นบัวถลาที่รองรับองค์ระฆังให้มีมากขึ้น เพื่อให้องค์เจดีย์มีขนาดและความสูงที่เหมาะสมเทียบเท่ากับเจดีย์ในศิลปะล้านนาทั่วไป เพราะถึงแม้ว่าจะไม่มีฐานบัวยกเก็จคอยเป็นฐานรองรับและยกองค์เจดีย์ให้มีความสูงมากขึ้น แต่ขนาดและสัดส่วนขององค์เจดีย์ก็ยังคงสูงเพรียวขึ้นไปได้ด้วยการเพิ่มชั้นบัวถลานั่นเอง อีกทั้งการทำให้อยู่ในแผนผังแปดเหลี่ยมยังช่วยนำสายตาให้กลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบเมืองแพร่มีความสูงชะลูดยิ่งขึ้นไปด้วยส่วนการทำองค์ระฆังให้อยู่ในผังแปดเหลี่ยมสอดรับกันกับส่วนรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม คงจะเป็นแนวความคิดที่มีอยู่ในศิลปกรรมล้านนากลุ่มนี้แล้วบางส่วน เช่น กู่ไก่ วัดไก่แก้ว จังหวัดลำพูน ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ เครื่องเคลือบจากแหล่งเตาพาน ช่วยในการกำหนดอายุสมัยว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 แต่คงจะไม่ได้รับความนิยมมากนักเท่ากับองค์ระฆังในผังกลม ในขณะที่เจดีย์กลุ่มเมืองแพร่คงรับรูปแบบองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยมมาปรับใช้ จนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่นิยมสร้างกันอย่างชัดเจนในที่สุด ซึ่งการกำหนดอายุ “กลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมที่ไม่มีฐานบัวรองรับ” ในเมืองแพร่ให้อยู่ในช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ก็เนื่องจากเจดีย์กลุ่มนี้ยังคงยึดแบบแผนและระเบียบของส่วนฐานล่างแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยอยู่ คือ ใช้เฉพาะฐานเขียงเป็นส่วนรองรับองค์เจดีย์ ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาที่เมืองแพร่เพิ่งจะถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ดังนั้นจึงอาจจะยังคงติดในรสนิยมแบบศิลปกรรมสุโขทัยอยู่บ้าง เลยไม่นิยมการสร้างฐานบัวยกเก็จแบบล้านนารองรับองค์เจดีย์ และอาจสันนิษฐานถึงเหตุปัจจัยที่เมืองแพร่นิยมสร้างเจดีย์ทรงนี้ได้เป็น 2 ประการ
ประการที่ 1 : ช่วงที่พม่าปกครองเมืองแพร่ในครึ่งหลัง (พ.ศ.2207-2217) คงจะไม่มีการก่อสร้างพวกถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด เนื่องจากบ้านเมืองและประชาชนถูกพม่ากดขี่ข่มเหงเป็นอย่างมาก นำไปสู่การกบฏเพื่อต่อต้านอำนาจของพม่า ทำให้การพัฒนาทางด้านศิลปวัฒนธรรมขาดช่วงไปเป็นเวลานาน เพราะติดพันอยู่กับศึกสงครามกับพม่าเป็นสำคัญ ดังนั้นงานศิลปกรรมต่างๆ ในล้านนาและเมืองแพร่เองจึงน่าจะเป็นรูปแบบศิลปกรรมเก่าแก่ที่ปรากฏการสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายปกครองล้านนาเกือบทั้งหมด ทำให้กลุ่มงานศิลปกรรมที่หลงเหลืออยู่นี้กลายเป็นแรงบันดาลใจหลักให้กับช่าง โดยน่าจะเริ่มจากการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์เก่าภายในเมืองก่อน แล้วจึงนำไปสู่การสร้างเจดีย์ใหม่เลียนแบบงานรุ่นเก่าในที่สุด
ประการที่ 2 : หลังจากการฟื้นม่าน(ต่อต้านพม่า) ในล้านนาดำเนินการสำเร็จลุล่วงแล้วในปี พ.ศ.2347 บ้านเมืองในล้านนาและเมืองแพร่ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา โดยสมัยนั้นการฟื้นฟูบ้านเมืองอาจจะอยู่ภายใต้แนวคิด “ย้อนกลับไปสู่ครั้งบ้านเมืองรุ่งเรือง” ดังนั้นจึงเน้นการบูรณะเจดีย์รุ่นเก่าให้มีสภาพที่สมบูรณ์ดังเดิม และเมื่อมีการสร้างพระธาตุเจดีย์แห่งใหม่ขึ้นจึงเลือกสร้างตามแบบงานรุ่นเก่า โดยเมืองแพร่คงจะยึดเอารูปแบบพระธาตุช่อแฮ อันเป็นพระธาตุเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นหลักในการออกแบบ ซึ่งสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองแพร่ไปโดยปริยาย และในสมัยปัจจุบันจึงเกิดแนวคิดเรื่องเจดีย์ทรงเอกลักษณ์ขึ้นอย่างแท้จริง ทำให้มีการสร้างเจดีย์เลียนแบบพระธาตุองค์สำคัญของเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเมืองแพร่ที่สร้างตามแบบพระธาตุช่อแฮ หรือเมืองลองที่สร้างตามแบบพระธาตุศรีดอนคำนั่นเอง โดยลักษณะดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องปกติสามัญของบ้านเมืองในล้านนาที่นิยมสร้างเจดีย์ตามแบบงานรุ่นเก่ากัน ตัวอย่างเช่น จังหวัดลำพูนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 พบความนิยมในการสร้างเจดีย์ตามแบบพระธาตุหริภุญไชยเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้นการยกพระธาตุช่อแฮขึ้นมาเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองแพร่นี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากแต่เดิมนั้นเรื่องของพระธาตุสำคัญประจำเมืองควรจะเป็นพระมหาธาตุที่ตั้งอยู่กลางเมืองมากกว่า แต่ทว่าความสำคัญของพระธาตุช่อแฮนี้น่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับแนวคิดของการบูชาพระธาตุประจำปีเกิด ซึ่งไม่ใช่ข้อวัตรปฏิบัติหรือปรากฏในพระธรรมคำสอนทางพุทธศาสนามาก่อน แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นความเชื่อเฉพาะของกลุ่มคนล้านนา ซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อใดอย่างเด่นชัด
หากสังเกตจะพบว่าพระธาตุประจำปีเกิดนั้น เป็นกลุ่มพระธาตุที่พบได้ในแถบล้านนาเป็นส่วนใหญ่ มีบางองค์เชื่อว่าอยู่ที่ประเทศพม่า และบางองค์อยู่นครพนม เช่น พระธาตุพนม ประจำปีวอก เป็นต้น ลักษณะการคัดสรรพระธาตุประจำปีเกิดเหล่านี้ไม่มีความเกี่ยวเนื่องอันใดกับพื้นที่ภาคกลางของไทยทั้งที่ดินแดนเหล่านี้ต่างก็มีความสัมพันธ์กันมานานตั้งแต่อดีต จึงทำให้เชื่อว่าการเกิดขึ้นของพระธาตุประจำปีเกิดอาจเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการรวมกลุ่มอำนาจทางการเมืองของชาวล้านนา หรือกลุ่มไท-ลาวทางตอนเหนือ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากพื้นที่ภาคกลางของไทย จึงอาจเป็นไปได้ว่าแนวคิดนี้น่าจะเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา และคงกลายเป็นความเชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นในสมัยหลัง จึงทำให้ในเมืองแพร่เกิดความนิยมในรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมเป็นอย่างมากก็เป็นได้
แต่ในทางกลับกัน บดินทร์ กินาวงศ์ ได้ให้ความเห็นว่าธรรมเนียมการสร้างพระธาตุบนเขา หรือยอดดอยที่อยู่ใกล้ๆกับตัวเมืองนั้น เห็นจะเริ่มนิยมสร้างกันขึ้นในสมัยที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เริ่มแพร่หลายเข้ามาในพื้นที่เอเชียอาคเนย์ ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นต้นมา โดยเฉพาะสุโขทัยซึ่งเป็นซึ่งเป็นแหล่งที่เผยแพร่ลัทธินี้เข้ามา จะพบว่านอกเมืองสุโขทัยมีการสร้างเจดีย์บนเขาสุมนกุฎหลายแห่ง และมีการสร้างเจดีย์บนเขาสุมนกุฎในหลายๆเมือง และหากพิจารณาเจดีย์บนยอดดอยของแคว้นล้านนาแล้ว จะพบลักษณะเดียวกันคือ เจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และเจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ซึ่งทั้ง 2 เจดีย์นี้มีประวัติการสร้างพร้อมๆกัน คือ เจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างในสมัยพระยากือนา(อ่านว่า “กื๋อนา”) ซึ่งพระองค์ทรงนิมนต์พระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมายังเชียงใหม่และนำพระธาตุที่ได้แต่ลังกานั้นมาประดิษฐานในพระธาตุดอยสุเทพ ส่วนเจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่านนั้น สร้างในสมัยพระยาคลานเมือง(อ่านว่า “กานเมือง”) เนื่องจากพระองค์ทรงช่วยพระยาโสปัจจกันติ (น่าจะหมายถึงพระยาลิไท) กษัตริย์สุโขทัยจึงได้ทรงมอบพระสารีริกธาตุให้ 4 องค์ พร้อมพระพิมพ์ 40 องค์ พระยาคลานเมืองจึงนำไปประดิษฐานในเจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งเหตุการณ์ของทางเชียงใหม่และน่านช่วงนี้ ตรงกับพระยาลิไทแห่งสุโขทัย และเมื่อพิจารณาจารึก 2 หลักของแคว้นสุโขทัย คือ จารึกวัดป่าแดง กล่าวถึง “พระมหาธรรมราชาผู้ปู่เอาพลไปเมืองแพลอยู่ได้เจ็ดเดือน” คำถามคือ เหตุใดพระองค์มาประทับเมืองแพร่ถึงเจ็ดเดือน ซึ่งเป็นเวลานานเกินครึ่งปี จารึกอีกหลักหนึ่งคือจารึกวัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ช่วงสมัยปลายรัชกาลพระยาไสยลือไท แต่จารึกกล่าวย้อนไปถึงสมัยพระอัยกาของพระองค์คือ พระยาลิไท ว่า“จึงคลาดยังสุโขทัย (ศรี)สัชชนาไลย กระทำการสมภารบารมี... พระมหาธาตุคลาดยัง ฝาง แพล ระพุน ตาก เชียง... รอดถึงดงโปรดช้าง นครพัน...” หมายความถึงการสร้างพระมหาธาตุในที่ต่างๆของพระองค์ และเมื่อนำจารึก 2 หลักมาพิจารณาพอจะมีความเป็นไปได้ว่า ระยะเจ็ดเดือนที่พระยาลิไททรงประทับที่เมืองแพร่นั้น พระองค์อาจจะทรงสร้างพระธาตุช่อแฮก็เป็นไปได้ (บดินทร์ กินาวงศ์, 2552)
และแนวคิดสนับสนุนถึงเรื่องการสถาปนาพระธาตุประจำวันเกิดนั้น เกิดในช่วงพระเจ้าติโลกราช ซึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองลองหัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศของภูเดช แสนสาได้กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าติโลกราชทรงมีนโยบายดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางที่เมืองเชียงใหม่ นอกจากใช้วิธีทางการเมืองการสงครามแล้วยังสร้างเครือข่ายบูชาพระธาตุประจำปีเกิด โดยสถาปนาพระมหาธาตุหลักประจำแต่ละเมืองที่มีมาแต่เดิมให้อยู่ในระเบียบเดียวกัน” (ภูเดช แสนสา. 2554)
ดังนั้นรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมแบบเมืองแพร่ ที่เกิดขึ้นและสร้างอยู่ในเมืองแพร่มาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ในสมัยที่เมืองแพร่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน จึงน่าจะเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของงานช่างท้องถิ่นเมืองแพร่ได้เป็นอย่างดียิ่ง และจากการที่รูปแบบของเจดีย์ดังกล่าวถูกนำไปสร้างเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอย่าง“พระธาตุช่อแฮ” จึงน่าจะมีส่วนที่ช่วยตอกย้ำความศักดิ์สิทธิ์ของรูปแบบเจดีย์ได้มากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความนิยมในการจำลองหรือสร้างเจดีย์เลียนแบบพระธาตุช่อแฮกันเป็นจำนวนมากในแถบเมืองแพร่ ซึ่งความนิยมดังกล่าวนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทาให้“พระธาตุช่อแฮ” กลายเป็นสัญลักษณ์แทนเจดีย์ของเมืองแพร่ และทำให้เจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมกลายเป็นเจดีย์ทรงเอกลักษณ์ของเมืองแพร่ไปด้วยนั่นเอง
(พลวัตร อารมณ์, 2555)
ประวัติศาสตร์
พระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวงว่า สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยที่พระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราชซึ่งครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ในครั้งนั้น พระองค์โปรดให้สร้างสถานที่สำคัญทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่าง ๆ รวมทั้งที่เมืองแพร่ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำมาบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสัยธชัคคะเห็นว่าทำเลดีจึงสร้างเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำ สร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน ภายหลังเมืองแพร่ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนากษัตริย์ล้านนาก็ทรงได้ทะนุบำรุงพระธาตุช่อแฮตามลำดับ จนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจลง พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรมเป็นอันมากจนล่วงมาถึง พ.ศ. 2467 พระครูบาศรีวิชัย(หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) ได้เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ และมีพระมหาเมธังกร (พรหม พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ จนทำให้พระธาตุช่อแฮกลับมามีความงดงาม และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่ และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่
สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดี (สันนิษฐานว่าแพร กร่อนเสียงเป็น แร ซึ่งเสียง ร ปฏิภาคกับเสียง ฮ จึงออกว่า แฮ ส่วนในโคลงท้าวฮุ่งท้าวเจือง ปรากฏคำว่า“แฮ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะหมายถึงผ้าแพร) ซึ่งทอจากสิบสองปันนาที่ชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม)
(ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ 2551)
มหาสีลา วีรวงศ์.ชำระ. (2518). พุทธตำนาน พระเจ้าเลียบโลก.
(แปลจาก พุทธจารีต วัดหัวขัว ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จารเมื่อ พ.ศ. 2425,
วัดต้นแงะ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จารเมื่อ พ.ศ. 2450,
วัดบ้านเอื้อม ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จารเมื่อพ.ศ. 2594,
วัดบ้านเอื้อม ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง จารเมื่อ พ.ศ. 2453,
กรุงเทพฯ : ส.ธรรมภักดี(พิมพ์เป็นอักษรไทยกลาง พ.ศ. 2504),
แปลโดยสิงฆะ วรรณสัย, ม.ป.ท : ม.ป.พ.
กฤษกร วงค์กรวุฒิ. (2549). แพร่. นายรอบรู้.กรุงเทพฯ : สารคดี.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2542).วัฒนธรรม
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ.
จินตนา ยอดยิ่ง. (2519). ประวัติของชื่อตำบลและหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ตรึงใจ บูรณสมภพ. และคนอื่น ๆ. (2545). รายงานฉบับสุดท้ายโครงการรักษาเอกลักษณ์ของ
สถาปัตยกรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว : จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ. :
ธีรชาติ วีรยุทธานนท์. (2548). วัดพระธาตุดอยเล็ง จังหวัดแพร่ วิทยานิพนธ์(สถ.ม.(สถาปัตยกรรมไทย)).
มหาวิทยาลัย. : ศิลปากร.
พลวัตร อารมณ์. (2555). เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมในเมืองแพร่ความสัมพันธ์กับกลุ่มเจดีย์ทรงระฆัง
แบบล้านนารุ่นหลังช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บดินทร์ กินาวงศ์. (2552). พญาแพร่เมืองไจย เชลยศึกอังวะเชลยศักดิ์รัตนโกสินทร์. เชียงใหม่. :
มิ่งเมืองเชียงใหม่.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2554). ตำนานพระพุทธรูปล้านนาพลังปัญญาทางความเชื่อและ
ความสัมพันธ์กับท้องถิ่น. เชียงใหม่. : แม็กซ์พริ้นติ้ง(สำนักมรดกล้านนา).
ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช. (2544). ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุลำปางหลวง. อาษา, 4, 84-87.
ภูเดช แสนสา. (2554). ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ.
เชียงใหม่. : นพบุรีการพิมพ์จำกัด.
มหาดไทย, กระทรวง. ศึกษาธิการ, กระทรวง. ศิลปากร, กรม. ปรุงศรี วัลลิโภดม.(บก.). และคนอื่น ๆ.
(2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแพร่.
กรุงเทพฯ. : มปท.
วรวรรษ เศรษฐธนสิน. (2547). การศึกษาเจดีย์บัวถลาเจ็ดชั้นที่พบในจังหวัดแพร่เพื่อนำมาเชื่อมโยง
กับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองแพร่กับอาณาจักสุโขทัยและล้านนา. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
วิไลรัตน์ ยังรอด. (2547). ไหว้พระธาตุเจดีย์ตามปีเกิด. กรุงเทพฯ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ศรีจันทร์. (2548). เรื่องเล่าล้านนา. กรุงเทพฯ. บ้านหนังสือ
ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2551). นครแพร่จากอดีตมาปัจจุบัน :
ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. : สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สมัย สุทธิธรรม. (2548). แพร่ : ดินแดนแห่งลุ่มน้ำยม. กรุงเทพฯ. : แสงดาว.
สมัย สุทธิธรรม. (2548). สารคดีชุดพุทธเจดีย์สี่ภาคของไทย. กรุงเทพฯ. : ที เจ เจ.
สายกลาง จินดาสุ. (2547). การศึกษาอิทธิพลทางวัฒนธรรมภายนอกที่ปรากฏในเมืองแพร่
ในช่วงพุทธศตวรรษที่19-21. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สายสุนีย์ สิงหทัศน์. (2547). พระธาตุจอมแจ้ง จังหวัดแพร่. อนุสาร อสท, 45 (4), 136-137
สุวิภา จำปาวัลย์, วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์ และสุรชัย จงจิตงาม, (2550). รายงานฉบับสมบูรณ์ผลกระทบ
ทางวัฒนธรรมจากรูปแบบ “พระอุโบสถเพื่อทำแบบก่อสร้างต่างจังหวัด” ในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดแพร่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โสภิต แก้วมงคล. (2553). เอกสารประกอบการเรียน ชุด “แพร่เมืองงาม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สาระที่ 4 : ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. แพร่. :
โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง.
ไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่. (2543). กินรี, 17 (3) 88-91.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ (ฉบับพ.ศ.2550). แพร่ : ผู้แต่ง
อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่อุ๊ มีทรัพย์ ณ เมรุบ้านดอนทัน อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. (2521).
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์พระจันทร์.