บล็อก


แสดง 1 ถึง 20 จาก 26 ผลลัพธ์

พิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 5 ส.ค. 2021

ร่วมสำรวจ ค้นคว้า เรียนรู้ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ผ่านพิพิธภัณฑ์และวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ จากฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

นำความรู้สู่ชุมชน-แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 17 ต.ค. 2018

 นิสา เชยกลิ่น
 
         15 สิงหาคม 2561 ได้มีการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่ชุมชน-เยาวชน เขาศรีวิชัย สืบเนื่องมาจากโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเขาพระนารายณ์ (เขาศรีวิชัย) นำโดย สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสหวิทยาการเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โรงเรียนวัดเขาศรีวิชัย และเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ ณ วัดเขาศรีวิชัย และโบราณสถานเขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี
 
 
จากซ้า
... อ่านเพิ่มเติม

หลุมหลบภัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ปทุมธานี

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 1 ต.ค. 2018

นิสา เชยกลิ่น

        วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2555 ได้มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการค้นพบหลุมหลบภัยที่สร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี[1] ข่าวนี้สร้างความตื่นตัวให้ไปในวงกว้างเนื่องจากคิดไม่ถึงว่าที่ปทุมธานียังมีหลุมหลบภัยที่ค่อนข้างสมบูรณ์หลงเหลืออยู่

       หลุมหลบภัยเหล่านี้สร้างเมื่อตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องเล่าย้อนไป เมื่อพ.ศ.2482 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปเมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามเย

... อ่านเพิ่มเติม

มรดกโลกทางวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Infographic]

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 23 เม.ย. 2018

อินโฟกราฟิกนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของ แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่านเพิ่มเติม

วัดหินหมากเป้ง : หลักหิน เสมาหิน และพิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 31 มี.ค. 2018

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

วัดหินหมากเป้ง ตั้งอยู่ ม.4 บ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (พิกัดภูมิศาสตร์ 17.983630 N, 102.428640 E) อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บนพื้นที่ภูเขาหินทรายในหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช (ต่อเนื่องกับหมวดหินโคกกรวด กลุ่มหินโคราช ทางทิศตะวันออก)

วัดหินหมากเป้ง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดธรรมยุติกนิกาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 โดยพระอาจารย์หล้า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2513 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากในสมัยห

... อ่านเพิ่มเติม

อัฐิซานตา (?)

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 3 ม.ค. 2018

เรียบเรียงโดย ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

ซานตาคลอส” (Santa Claus) หรือ “ซานตา” บุคคลในจินตนาการจากตำนานในโลกตะวันตก มีลักษณะเป็นคุณลุงใจดี พุงพลุ้ย หนวดเคราสีขาวยาวเฟิ้ม ใส่ชุดสีแดงทั้งตัว พร้อมส่งเสียงหัวเราะ “โฮะโฮะโฮะ” นั่งรถเลื่อนหิมะที่ลากด้วยกวางเรนเดียร์มาจากขั้วโลกเหนือพร้อมกับของขวัญเต็มคันรถ เพื่อนำมามอบให้กับเด็กดีถึงบ้านในช่วงระหว่างวันคริสต์มาสอีฟ (วันที่ 24 ธันวาคม) จนถึงเช้ามืดของวันคริสต์มาส (วันที่ 25 ธันวาคม)

หลายท่านอาจจะทราบอยู่แล้วบ้างบุคลิกและเรื่องราวของ ซานตาคลอส นั้น ได

... อ่านเพิ่มเติม

10 อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย [Infographic]

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 3 ต.ค. 2017

อินโฟกราฟิกนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้อ่านรู้จัก "อุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 10 แห่งในประเทศไทย"

อ่านเพิ่มเติม

โบราณคดีคืออะไร [Infographic]

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 7 ก.ค. 2017

อินโฟกราฟิกที่จะทำให้รู้จักพื้นฐานของงานโบราณคดีมากขึ้น ให้ผู้อ่านได้ทราบความหมายของโบราณคดี นักโบราณคดีศึกษาอะไร ไม่ศึกษาอะไร เป้าหมายของการทำงานและขั้นตอนการทำงานทางโบราณคดี

อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม ณ วัดคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 30 มิ.ย. 2017

นิสา เชยกลิ่น

ความเป็นมา

พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม ก่อตั้งขึ้นโดย พระครูอาทรสังวรกิจ (พระสวาส กนฺตสงฺวโร) (นามสกุลเดิม เอี่ยวน้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองท่อม เจ้าคณะอำเภอคลองท่อมและอำเภอเกาะลันตา ได้รวบรวมลูกปัดโบราณแบบต่างๆ รวมทั้งโบราณวัตถุอื่นๆ ที่พบในควนลูกปัดหลังวัดคลองท่อม มาเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2525 ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานพระครูอาทรสังวรกิจ” เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มาศึกษาและอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าของแผ่นดินไว้ ไม่ให้สูญหายไป ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม

... อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑสถานโบราณคดีเขางาม ณ โรงเรียนบ้านเขางาม ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 30 มิ.ย. 2017

นิสา  เชยกลิ่น

ความเป็นมา

จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน ภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยภูเขาหินปูนลูกโดดกระจายอยู่ทั่วไป ภูเขาแหล่งนี้เป็นที่ตั้งของถ้ำและเพิงผา ซึ่งเกือบทุกแห่งได้ค้นพบร่องรอยการอยู่อาศัย และกิจกรรมของมนุษย์โบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาโต๊ะช่อง-เขาหน้าวังหมี และแหล่งโบราณคดีถ้ำผีหัวโต เป็นต้น

เมื่อ พ.ศ.2530 ชาวบ้านได้พบเครื่องใช้ของคนโบราณ เช่น เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา กระดูกมนุ

... อ่านเพิ่มเติม

วัดสักน้อย นนทบุรี

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 4 ม.ค. 2016

ในสมัยอยุธยา “นนทบุรี” เป็นหัวเมืองปากแม่น้ำที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา อยู่ทางเหนือของเมืองธนบุรีหรือเมืองบางกอก สภาพพื้นที่ ทรัพยากร และทำเลที่ตั้งเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ทั้งเกษตรกรรมและค้าขาย และยังคงเป็นเมืองสำคัญต่อเนื่องมาจนสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ทำให้นนทบุรีปรากฏร่องรอยศิลปวัฒนธรรมสำคัญมากมาย ราษฎรที่อยู่อาศัยก็มาจากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ แขก

พื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปัจจุบันอยู่ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (เป็นพื้นที่ต่อเนื่องหรือค่อนข้างเป็นอันห

... อ่านเพิ่มเติม

"ศูนย์ประวัติศาสตร์ประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2" โรงเรียนชุมชนบ้านทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 15 ต.ค. 2015

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 

“บ้านทรายขาว” หมู่บ้านริมแม่น้ำเลยในตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเลย ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างน้อยตั้งแต่สมัยล้านช้างหรือราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ดังปรากฏร่องรอยทั้งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี 

เสมาหินหน้าอุโบสถวัดกู่คำ บ้านทรายขาว พบจากการปรับพื้นดินด้านหน้าอุโบสถ

พระประธานในอุโบสถวัดกู่คำ บ้านทรายขาว

พระพุทธรูปสำริดในกุฏิเจ้าอาวาสวัดกู่คำ บ้านทรายขาว มีจารึกอ

... อ่านเพิ่มเติม

ยองๆ

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 31 ก.ค. 2015

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

นั่ง “ยอง” “ยองๆ” หรือ “หย่อง” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “squat” เป็นลักษณะการนั่งชันเข่าทั้ง 2 ข้าง โดยที่ก้นไม่ถึงพื้น น้ำหนักของร่างกายจะทิ้งลงเท้าทั้ง 2 ข้าง (เช่นเดียวกับการยืน) ข้อเข่าจะงออย่างเต็มที่

สังคมไทยคุ้นชินกับการนั่งยองๆ เป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในทุกเพศทุกวัย และแทบจะในทุกสถานที่

ผู้อ่านส่วนใหญ่อาจนึกไปถึงหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ หรือพระเทพวิทยาคม ที่มักนั่งยองเป็นประจำจนกลายเป็นเอกลักษณ์ สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือสารพัดวัตถุมงคล เหรียญหลวงพ่อ

... อ่านเพิ่มเติม

กฎหมาย “โบราณสถาน” ฉบับแรกของไทย

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 5 เม.ย. 2015

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล เรียบเรียง

 

ข่าวคราวการทำลายโบราณสถานยังคงปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ กรณีโด่งดังล่าสุดเช่นเหตุการณ์ทำลายโบราณสถานในวัดดัง

ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ปกป้องดูแลโบราณสถานโดยตรง คือ พระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) ส่วนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 พ.ศ.2543 และ พ.ศ.2550) และประมวลกฎหมายอาญา

คุณประโยชน์ของการอนุรักษ์โบราณส

... อ่านเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคมาลาเรียในไขกระดูกของคนโบราณ

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 26 มี.ค. 2015

นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ได้พัฒนาวิธีการใหม่ที่ใช้บ่งชี้การเป็นโรคมาลาเรียในไขกระดูกของมนุษย์สมัยโบราณ นับเป็นครั้งแรกที่มีการคิดค้นวิธีวินิจฉัยโรคนี้ในโครงกระดูกของคนโบราณโดยเฉพาะ

วิธีการดังกล่าวอาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สืบค้นย้อนกลับไปได้ถึงมนุษย์คนแรกที่เป็นโรคมาลาเรีย รวมถึงอาจพัฒนาเทคนิคไปใช้ค้นหาโรคติดเชื้ออื่นๆ ในกระดูกของมนุษย์สมัยโบราณต่อไป

Jamie Inwood นักศึกษามหาวิทยาลัยเยล หัวหน้าคณะนักวิจัยกล่าวว่า “ชุดข้อมูลที่เราสร้างจะเป็นการปฏิวัติการทำ epidemic curve[1]

... อ่านเพิ่มเติม

โรมัน...มังสวิรัติ?

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 18 ม.ค. 2015

เมื่อกล่าวถึง “แกลดิเอเตอร์” (gladiator) หรือนักสู้ที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมในสมัยโรมันนั้น หลายคนคงนึกถึงภาพชายหนุ่มตัวใหญ่แข็งแรงหุ่นล่ำเหมือนอย่างพระเอกในภาพยนตร์ Gladiator ที่เข้าฉายไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน

และคงคิดต่อไปว่านักสู้เหล่านี้ต้องได้รับการบำรุงด้วยอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง เหมือนกับนักกีฬาสมัยปัจจุบันที่ต้องสร้างกล้ามเนื้อด้วยการบริโภคโปรตีนพร้อมด้วยของบำรุงร่างกายต่างๆ

 

การต่อสู้ของแกลดิเอเตอร์

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Gladiator

 

แต่จ

... อ่านเพิ่มเติม

การบรรยายพิเศษ "วิสาขบูชา ศิลปกรรมเกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน"*

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 26 ต.ค. 2014

รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์

 

            เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดการบรรยายพิเศษ "วิสาขบูชา ศิลปกรรมเกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน" โดย ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี และ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง จากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

            ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เกริ่นนำถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานประวัติศาสตร์ศิลปะ จากนั้น ผศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี ได้บรรยายถึง สังเวชนียสถานที่เกี่ยวข้องกับวันวิ

... อ่านเพิ่มเติม

ทองคำเขาชัยสน : ความคืบหน้า (2)

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 1 ต.ค. 2014

 
     ระยะเวลากว่า 4 เดือน นับตั้งแต่มีการค้นพบทองโบราณที่ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง สถานการณ์ตื่นทองยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะลดความเข้มข้นลงตามกาลเวลาและเงื่อนไขต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าดูแลพื้นที่ของหน่วยงานราชการ การบังคับใช้กฎหมาย และสำนึกรักหวงแหนสมบัติชาติของคนในท้องถิ่นและคนในชาติ
 
สวนปาล์มของนายวิ ทับแสง
     พื้นที่สวนปาล์มของนายวิ ทับแสง ที่พบทองคำ ปัจจุบันถูกล้อมด้วยรั้วลวดหนาม พร้อมทั้งทั้งประกาศของทางการ “ห้ามเข้า”
     ส่วนการขุดค้นของกรมศิลปากร นำโดยสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมรา
... อ่านเพิ่มเติม

ในความเหมือน มีความต่าง : สืบสายสัมพันธ์ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหลักฐานโบราณคดี

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 21 ก.ค. 2014

ในความเหมือน มีความต่าง :

สืบสายสัมพันธ์ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหลักฐานโบราณคดี [1]

ปิยณัฐ สร้อยคำ [2]

การก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในประชาคมอาเซียน ไม่ใช่เพียงการพูดถึงภาพฝันในอนาคตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการย้อนมองอดีตผ่านหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งช่วยให้มนุษย์ในปัจจุบันสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ในภูมิภาคในอดีต ที่สามารถนำมาเชื่อมความร่วมมือในอนาคตได้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดการบรรยายทางวิชาการครั้งที่ 2 ในโครงการเรียนรู้อาเซียนในมิติวัฒนธรรม ในหัวข้อเรื

... อ่านเพิ่มเติม

ทองคำเขาชัยสน : ความคืบหน้าและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 17 มิ.ย. 2014

ข่าวครึกโครมเกี่ยวกับการค้นพบทองคำโบราณในสวนปาล์มของนายวิ ทับแสง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ช่วงเดือนที่ผ่านมา สร้างปรากฏการณ์กระตุ้นความสนใจในเรื่องโบราณวัตถุสมบัติของชาติและมหาสมบัติใต้ดินให้กับชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากข่าวการค้นพบทองก็ตามมาด้วยข่าวมวลชนเข้าไปขุดหาทองจนเจ้าของที่ดินรับมือไม่ไหว ข่าวการเข้าควบคุมพื้นที่โดยหน่วยงานราชการ ข่าวการพบเรื่องลี้ลับของชาวบ้านและผู้ครอบครองทอง รวมทั้งเรื่องราวดีๆ อย่างการส่งมอบทองคำคืนแก่หน่วยงานราชการ

ลักษณะทองคำที่พบมีทั้งแผ่นทอง ทองรูปพรรณ แผ่นทองที่มีลวด

... อ่านเพิ่มเติม