สมัยเด็กๆแทบทุกคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า “แมงกินฟัน” ที่เป็นตัวการให้เกิด “ฟันผุ”
ความเชื่อนี้มีมาช้านานและไม่ได้มีเฉพาะในคนไทย บันทึกของชาวซูเมอร์ (Sumerians) ในดินแดนเมโสโปเตเมียเมื่อหลายพันปีก่อนได้กล่าวถึง “หนอนในฟัน” (tooth worm) ที่เป็นต้นตอของฟันผุ
ความเชื่อนี้อยู่มายาวนานจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 Robertson ทันตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอว่า “ฟันผุเกิดจากเศษอาหารที่ติดและหมักหมมในซอกฟัน” คำอธิบายที่ว่านี้เป็นแนวทางในการศึกษาสาเหตุของฟันผุในเวลาต่อมา จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงได้รู้แน่ชัดว่าแบคทีเรีย
... อ่านเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอขอความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.โบราณสถานฉบับใหม่ หรือชื่อเต็มๆว่า “พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. .....”
นอกจากนั้นยังมีการขอให้แก้ไขเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย)
เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมีเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาสำคัญบางมาตรา หนึ่งในนั้นคือนิยามของ “โบราณสถาน” (ร่างมาตรา 4)
ขั้นต
... อ่านเพิ่มเติมตามที่มีข่าวครึกโครมในขณะนี้เกี่ยวกับกรรม (การกระทำ) ต่างๆ ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายรูปหนึ่ง ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมในวงกว้าง หนึ่งในกรรมเหล่านั้นคือ การสร้างพระแก้วมรกตจำลององค์ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร ตามคำอาราธนาของพระอินทร์ (http://www.luangpunenkham.com/wat-pa-kuntitum/buddha/) ณ สำนักสงฆ์ขันติธรรม จังหวัดศรีสะเกษ
นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์ว่าการสร้างพระแก้วมรกตจำลองของวัดแห่งนี้ดำเนินการไม่ถูกต้องตามระเบีย
... อ่านเพิ่มเติมผมขออนุญาตแนะนำโลโก้ (Logo หรือที่ในภาษาไทยอาจใช้คำว่า “เครื่องหมาย” หรือ “สัญลักษณ์”) ของ “ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย” นะครับ
โลโก้ของฐานฯ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพเขียนสีบนเพดานถ้ำผีหัวโต จ.กระบี่ นำมาดัดแปลงท่าทางให้กำลังใช้คอมพิวเตอร์หรือฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่กำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งในโลกยุคปัจจุบัน
โลโก้ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
ในแง่มุมวิชาการ ภาพดังกล่าวที่ถ้ำผีหัวโตยังไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าเป็นรูป “คน” ลักษณะของภาพเป็
... อ่านเพิ่มเติมด้วยเหตุที่ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยที่เผยแพร่ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกือบทั้งหมดเป็นข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว ขาดการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ดังนั้น การ “ยกระดับความน่าเชื่อถือ” และ “การระบุแหล่งที่มา” ของข้อมูลแหล่งโบราณคดีจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในยุคที่อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ข้อมูลเรื่องแหล่งโบราณคดีในอินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นข้อมูลที่ฉาบฉวยและขาดความน่าเชื่อถือ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้
... อ่านเพิ่มเติม