บ้านกุดโง้ง ต.บุ่งคล้า อ.เมืองชัยภูมิ ที่ในปัจจุบันเป็นชุมชนที่มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่อย่างค่อนข้างหนาแน่นสลับกับพื้นที่เกษตรกรรมนั้น หากย้อนกลับไปเมื่อราวพันปีก่อน ก็จะพบการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และน่าจะเป็นหนึ่งในชุมชนที่มีความสำคัญในพื้นที่แถบนี้ในสมัยนั้น โดยเฉพาะด้านศาสนาและความเชื่อ เห็นได้จากการปรากฏหลักฐานเป็นเสมาหินทรายขนาดใหญ่จำนวนมาก
อ่านเพิ่มเติม
ข้อมูลจากการศึกษาฟันและสุขภาพในช่องปากของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ชุมชนโบราณชุมชนหนึ่งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในพื้นที่ภาคกลางฝั่งตะวันออก ทำให้ทราบข้อมูลข้อมูลด้านประชากร ชีวิตความเป็นอยู่ สังคม-วัฒนธรรมบางประการของคนในชุมชนโบราณบ้านโป่งมะนาว
อ่านเพิ่มเติม
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดนครราชสีมาจนถึงสมัยอยุธยากล่าวถึงพื้นที่ของอำเภอปากช่องในปัจจุบันน้อยมาก บทความนี้จึงพยายามจะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโบราณคดีของปากช่อง ซึ่งผู้เขียนคาดหวังว่าในอนาคตจะมีการสำรวจศึกษาในเชิงลึกต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ในปี 2558 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนทุนแก่อาจารย์ศุภรัตน์ ตี่คะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดงโบราณวัตถุในหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม
จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ตึกแถวริมถนนหน้าพระลานเมื่อปี 2553 ภายใต้การควบคุมของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และกรมศิลปากร นอกจากจะพบข้อมูลหลักฐานการก่อสร้างตึกแถวแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว ยังพบซากโบราณสถานสมัยวังถนนหน้าพระลาน
อ่านเพิ่มเติม
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง “ความก้าวหน้าของโครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณดงละคร” ในรอบสี่ทศวรรษ (พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๔๙) วันที่ ๑๗-๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ โรงแรมชลพฤกษ์รีสอร์ท อ.บ้านนา จ.นครนายก
อ่านเพิ่มเติม
ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 แล้วนั้น ก็ได้มีการรื้อกำแพงวังถนนหน้าพระลานด้านทิศใต้ (ริมถนนหน้าพระลาน) ออก แล้วสร้างเป็นตึกแถว ราว พ.ศ.2452 เพื่อรับรองแขกบ้านแขกเมืองต่างประเทศ และเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จนกระทั่งปัจจุบัน สถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกสมัยนีโอคลาสสิก
อ่านเพิ่มเติม
"พิพิธภัณฑสถานชุมชนบ้านโป่งตะขบ" นำเสนอข้อมูล ผลการศึกษา และหลักฐานทางโบราณคดีของแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งตะขบ หนึ่งในชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ของที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสัก
อ่านเพิ่มเติม
จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ที่ปรากฏในที่ต่างๆ นั้นเป็นเสมือนเครื่องหมายการเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งจารึกพระปรมาภิไธยย่อนี้นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
อ่านเพิ่มเติม
พื้นที่ริมถนนหน้าพระลานที่ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และตึกแถวริมถนนหน้าพระลานนั้น ในอดีตเป็นที่ตั้งของวัง 3 วัง แยกตามลักษณะที่ตั้งได้เป็น วังถนนหน้าพระลาน วังตะวันตก (คนทั่วไปนิยมเรียกว่า วังท่าพระ) วังถนนหน้าพระลาน วังกลาง และวังถนนหน้าพระลาน วังตะวันออก
อ่านเพิ่มเติม
*ดร.ตรงใจ หุตางกูร แปลจาก Boeles J.J., 1967. A Note on The Ancient City called Lavapura. JSS 55(1): 113-114. เกี่ยวกับจารึกเหรียญเงินที่ค้นพบที่เมืองโบราณอู่ทอง เมื่อ ค.ศ.1966
อ่านเพิ่มเติม
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งของไทยที่อุดมไปด้วยหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหิน สมัยโลหะ ต่อเนื่องมาจนยุคประวัติศาสตร์ ที่เด่นชัดคือ เมืองเชียงแสน เมืองโบราณริมแม่น้ำโขงของอาณาจักรล้านนา สถาปนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะเสื่อมโทรมลงพร้อมกับการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรล้านนา
อ่านเพิ่มเติม
"พิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำดี ปภาโส" ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำผาปู่ อ.เมืองเลย จ.เลย ภายในมีการจัดแสดงรูปปั้นและสิ่งของเครื่องใช้ของหลวงปู่คำดี ปภาโส หรือพระครูญาณทัสสี
อ่านเพิ่มเติม
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งไฮฟา นำโดย Prof. Dani Nadel ขุดค้นแหล่งโบราณคดี Raqefet Cave ในประเทศอิสราเอล พบหลักฐานที่เก่าที่สุดในโลกเกี่ยวกับการอุทิศดอกไม้ให้กับผู้ตายของคนในวัฒนธรรมนาทูเฟียน (Natufian culture) อายุประมาณ 13,700-11,700 ปีมาแล้ว ตรงกับช่วงปลายยุคน้ำแข็ง
อ่านเพิ่มเติม
บทความแปลชิ้นนี้ ดร.ตรงใจ หุตางกูร แปลจากบทความเรื่อง "Some Ancient Human Skeletons Excavated in Siam" ของ H.G. Quaritch Wales ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Man เล่มที่ 27 (มิถุนายน 1937) หน้า 89-90 โดยเป็นการรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบในพงตึก เมื่อ พ.ศ.2479
อ่านเพิ่มเติม
การศึกษาทางเรณูวิทยาและกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์จากอินทรีย์วัตถุ ของ ดร.ตรงใจ หุตางกูร ที่พบจากการเจาะสำรวจชั้นดินที่ความลึก 10 เมตร ณ วัดโคกยายเกตุ ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองอู่ทองไปทางทิศตะวันออก 8 กิโลเมตร เพื่อพิสูจน์ทราบถึงสภาพแวดล้อมสมัยโบราณ และอายุที่แน่นอนของปรากฎการณ์ "การรุกเข้าสูงสุดของน้ำทะเลสมัยโฮโลซีน"
อ่านเพิ่มเติม
การทดลองศึกษาในขั้นต้นเกี่ยวกับสภาพสังคมที่แฝงนัยอยู่ในหลักฐานประเภทหลุมฝังศพจากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว โดยใช้ปริมาณวัตถุอุทิศหรือโบราณวัตถุที่พบในหลุมฝังศพ (Grave goods) จากตัวอย่างหลุมฝังศพที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีในหลุมขุดค้นที่ 1-4 ระหว่างปี พ.ศ.2543-2546 จำนวน 44 หลุม นำมาวิเคราะห์เชิงสถิติ
อ่านเพิ่มเติม
บทความนำเสนอสมการประเมินส่วนสูงคนไทยปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขา ที่ได้จากการศึกษาร่างมนุษย์ชาวไทยปัจจุบัน (วัยผู้ใหญ่) จำนวน 275 ร่าง ระหว่างปี พ.ศ.2548-2551
อ่านเพิ่มเติม
"อำเภอตาพระยา" เป็นเส้นทางการติดต่อระหว่างที่ราบภาคกลางและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออกของไทยกับกัมพูชาในปัจจุบัน ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของคนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะเกิดเป็นชุมชนหนาแน่นในยุคประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่พบในพื้นที่บางส่วนปัจจุบันถูกเก็บไว้ใน "พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเทียบ" ภายในวัดตาพระยา
อ่านเพิ่มเติม
การศึกษาครั้งนี้ ได้แก้ไขค่าอายุเรดิโอคาร์บอนจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ตำบลพระประโทนในเขตเมืองนครปฐมโบราณ ซึ่งอาจเกิดจากการผิดพลาดจากการพิมพ์ข้อมูล จากเดิม คือ 2800 ± 23 BP เป็น 800 ± 23 BP นอกจากนี้ เมื่อใช้โปรแกรม CALIB 6.1 ปรับปรุงค่าอายุเรดิโอคาร์บอนจากเดิมที่อยู่ในช่วงอายุ พ.ศ. 1653 – 1699 มาเป็นค่าใหม่คือระหว่าง พ.ศ. 1766-1800
อ่านเพิ่มเติม