สถานีผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่ทะ


โพสต์เมื่อ 26 ก.ค. 2021

ชื่ออื่น : แม่ทะ

ที่ตั้ง : ม.1 บ้านแม่ทะ

ตำบล : แม่ทะ

อำเภอ : แม่ทะ

จังหวัด : ลำปาง

พิกัด DD : 18.189564 N, 99.575933 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : วัง

เขตลุ่มน้ำรอง : แม่ทะ, แม่จาง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากเมืองจังหวัดลำปางใช้ถนนวชิราวุธดำเนิน มุ่งหน้าทางทิศตะวันออกสู่อำเภอแม่ทะ ประมาณ 11 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแม่ทะ-ผาลาด (ลป4220) ประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงสถานีวนวัฒนวิจัยแม่ทะ แหล่งโบราณคดีอยู่ภายในสถานี

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมป่าไม้

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

เนินเขา

สภาพทั่วไป

แหล่งโบราณคดีอยู่ภายในสถานีวนวัฒนวิจัยแม่ทะ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สภาพทั่วไปเป็นเนินเขาที่มีทางน้ำหรือลำธารเล็กๆไหลผ่านหลายสาย พบหลักฐานทางโบราณคดีมากบริเวณพื้นที่ระหว่างลำธาร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

300 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำวัง, แม่ทะ, แม่จาง

สภาพธรณีวิทยา

แหล่งโบราณคดีตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาไฟในอดีต หินฐานชั้นบนสุดเป็นหินบะซอลท์ที่เกิดจากการปะทุและไหลบ่าของลาวาเมื่อประมาณ 500,000-900,000 ปีมาแล้ว

ยุคทางโบราณคดี

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยหินใหม่, สมัยหิน

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : ชินณวุฒิ วิลยาลัย

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2537, พ.ศ.2541

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

สำรวจพบเครื่องมือหิน (Stone Tools) สะเก็ดหินและเศษสะเก็ดหิน (Flakes) ประเภทขวานกะเทาะ (Hand Axes) เครื่องมือสะเก็ดหิน (Flaked Tools) เครื่องมือขูด (Scrapers) ขวานหินขัด (Polished Stone Adze) ที่ทำจากหินเนื้อละเอียดประเภทหินเชิร์ท (Chert) หรือหินไดโอไรท์ (Diorite) หรือหินทรายเนื้อละเอียด (Silicious Sandstone) สีเขียวและเทาอมเขียว นอกจากนั้นยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenwares) ผิวเรียบ สีส้มอ่อน เนื้อหยาบ มีเม็ดทรายปะปนในเนื้อดินมาก (ชินณวุฒิ วิลยาลัย 2553)

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งผลิต

สาระสำคัญทางโบราณคดี

การสำรวจของชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2537 และ 2541 (ชินณวุฒิ วิลยาลัย 2541 ; 2553) ในพื้นที่อำเภอแม่ทะ พบเครื่องมือหิน (Stone Tools) สะเก็ดหินและเศษสะเก็ดหิน (Flakes) ประเภทขวานกะเทาะ (Hand Axes) เครื่องมือสะเก็ดหิน (Flaked Tools) เครื่องมือขูด (Scrapers) ขวานหินขัด (Polished Stone Adze) ที่ทำจากหินเนื้อละเอียดประเภทหินเชิร์ท (Chert) หรือหินไดโอไรท์ (Diorite) หรือหินทรายเนื้อละเอียด (Silicious Sandstone) สีเขียวและเทาอมเขียว นอกจากนั้นยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenwares) ผิวเรียบ สีส้มอ่อน เนื้อหยาบ มีเม็ดทรายปะปนในเนื้อดินมาก (ชินณวุฒิ วิลยาลัย 2553)

ผู้สำรวจสันนิษฐานว่าพื้นที่นี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหิน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยแหล่งวัตถุดิบหินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งโบราณคดีมากนัก

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ชินณวุฒิ วิลยาลัย. “แหล่งผลิตเครื่องมือหินพบใหม่ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง” สารกรมศิลปากร 11, 9 (กันยายน 2541).

ชินณวุฒิ วิลยาลัย. “แหล่งผลิตเครื่องมือหินพบใหม่ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง” ใน โบราณคดีหลากสาระในดินแดนอีสาน-ล้านนา. อุบลราชธานี : สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี กรมศิลปากร, 2553 : 253-260.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง