โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ม.3 บ้านห้วยม่วง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์
ตำบล : หนองห้าง
อำเภอ : กุฉินารายณ์
จังหวัด : กาฬสินธุ์
พิกัด DD : 16.584206 N, 104.147194 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ห้วยจุมจัง, ลำพะยัง, ห้วยม่วง
จากตัวอำเภอกุฉินารายณ์ ใช้ถนนกาฬสินธุ์-มุกดาหาร (ทางหลวงหมายเลข 2042) มุ่งหน้าจังหวัดมุกดาหาร (มุ่งหน้าทางทิศตะวันออก) ประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายใช้ถนนมุ่งหน้าตำบลหนองห้าง ไปตามถนนประมาณ 5.9 กิโลเมตร (ผ่านตัวตำบลหนองห้าง) พบสามแยกให้เลี้ยวขวาไปตามถนนอีกประมาณ 3.7 กิโลเมตร (มุ่งหน้าบ้านห้วยม่วง) พบสี่แยกที่บ้านห้วยม่วง ให้เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงชนบท กาฬสินธุ์ 4008 ไปตามถนนประมาณ 1.2 กิโลเมตร พบทางขึ้นสู่ภูหัวนาทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายไปตามทางนี้อีกประมาณ 1 กิโลเมตร พบทางขึ้นสู่ถ้ำเซ่งเม่ง
ถ้ำเซ่งเม่งปัจุจบันอยู่ในความดูแลของหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาผึ้ง เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาทิ ลานหินปุ่มภูผาผึ้ง ภูน้อย ป่าหูหลา ป่าไผ่ ป่าหินซ้อน ก้อนหินหมี หินหนามหน่อ ภูผาผึ้ง ถ้ำพระ ถ้ำลายมือหรือถ้ำฝ่ามือแดง หินหนามนอ สะพานหิน ถ้ำน้ำหยาดถ้ำแกลบ ถ้ำบิ้ง ถ้ำดอกบัว กลุ่มครกผี ภูผีปอบ กองหินแห่งความ โชคดี อ่างเก็บน้ำห้วยแก้งหว้า ดอกไข่ดานลานหินปูน และภูหินปูนที่มีกล้วยไม้ธรรมชาติหาชมได้ยาก
ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐานยังมีที่พักและเต็นสำหรับนักท่องเที่ยวพักแรม สามารถติดต่อได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ตู้ ปณ. 2 อ. กุฉินารายณ์ จ. กาฬสินธุ์ 46110 หรือสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เลขที่ 61 อาคารไพโรจน์สุวรรณกร ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 02-561- 0777
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน (สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช), กรมศิลปากร, องค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง
ถ้ำเซ่งเม่งเป็นเพิงหินที่เกิดจากการซ้อนกันของก้อนหินขนาดใหญ่บนภูหัวนา หนึ่งในภูเขาหินทรายในเขตเทือกเขาภูพาน (เหนือขึ้นไปจากภูหัวนาเป็นอุทยานแห่งชาติภูผายลและอุทยานแห่งชาติภูพาน) เพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก พื้นที่โดยรอบถ้ำค่อนข้างราบ
ถ้ำเซ่งเม่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านห้วยม่วงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.5 กม. ห่างจากถ้ำลายมือมาทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร
แหล่งโบราณคดีมีห้วยม่วงไหลผ่านอยู่ทางทิศใต้ของแหล่ง (เกือบประชิดแหล่ง) ส่วนลำน้ำอื่นๆ ได้แก่ ห้วยจุมจังอยู่ห่างจากแหล่งไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร และลำพะยัง (ห้วยม่วง) อยู่ห่างจากแหล่งไปทางทิศเหนือประมาณ 7 กิโลเมตร
ลักษณะของแหล่งเป็นก้อนหินที่มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 13 เมตร สูงหรือหนาประมาณ 1.8 เมตร ตั้งอยู่ตรงกลางลานหินที่มีขนาดกว้าง 70x70 เมตร เป็นสถานที่ชาวบ้านมักนำสัตว์มาเลี้ยง และเป็นเส้นทางผ่านขึ้นเขา มีบ่อน้ำเล็กๆ อยู่ในบริเวณนี้ด้วย
ภาพที่พบอยู่บริเวณใต้เพิงผาหรือบริเวณเพดานหินเตี้ยๆ ซึ่งจะต้องสอดตัวเข้าไปนอนดูภาพที่มีอยู่เกือบเต็มผนัง ผู้สำรวจและศึกษาระบุว่าระยะสายตาไม่อาจคุมภาพได้ทั้งหมด ต้องค่อยๆ ขยับตัวในขณะที่ยังนอนหงายดูทีละจุด เพราะว่าเพดานกับพื้นห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร บางช่วงแค่ 30 เซนติเมตร จากระยะสายตาเท่านั้น (พเยาว์ เข็มนาค 2539 : 104)
ห้วยม่วง, ห้วยจุมจัง, ลำพะยัง
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2525
วิธีศึกษา : สำรวจ, ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจและศึกษาศิลปะถ้ำที่ถ้ำเซ่งเม่ง บนภูหัวนาชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2532
วิธีศึกษา : ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
รวบรวมและศึกษาศิลปะถ้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือชื่อผู้ศึกษา : พเยาว์ เข็มนาค
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2539
วิธีศึกษา : ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
รวบรวมและศึกษาศิลปะถ้ำก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยชื่อผู้ศึกษา : พัชรี สาริกบุตร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543
วิธีศึกษา : ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
รวบรวมและศึกษาศิลปะถ้ำก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยถ้ำเซ่งเม่งมีลักษณะเป็นเพิงหินที่เกิดจากการซ้อนกันของก้อนหินขนาดใหญ่บนภูหัวนา หนึ่งในภูเขาหินทรายในเขตเทือกเขาภูพาน เพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ห่างจากถ้ำลายมือมาทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร
ลักษณะของแหล่งเป็นก้อนหินที่มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 13 เมตร สูงหรือหนาประมาณ 1.8 เมตร ตั้งอยู่ตรงกลางลานหินที่มีขนาดกว้าง 70x70 เมตร
ภาพที่พบอยู่บริเวณใต้เพิงผาหรือบริเวณเพดานหินเตี้ยๆ ซึ่งจะต้องสอดตัวเข้าไปนอนดูภาพที่มีอยู่เกือบเต็มผนัง ผู้สำรวจและศึกษาระบุว่าระยะสายตาไม่อาจคุมภาพได้ทั้งหมด ต้องค่อยๆ ขยับตัวในขณะที่ยังนอนหงายดูทีละจุด เพราะว่าเพดานกับพื้นห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร บางช่วงแค่ 30 เซนติเมตร จากระยะสายตาเท่านั้น ระยะที่ใกล้เกินไปนี้ผู้เขียนภาพจะต้องกำหนดของเขตและวางภาพไว้ก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถคุมตำแหน่งภาพได้ตามต้องการ (พเยาว์ เข็มนาค 2539 : 104)
ภาพที่พบมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ภาพมือคนและภาพสัญลักษณ์ (พเยาว์ เข็มนาค 2539 : 104-105)
ภาพมือ มีทั้งสิ้น 31 ภาพ และที่นับไม่ได้อีกจำนวนหนึ่ง ทั้ง 31 ภาพนี้มีทั้งมือขนาดเล็ก (เท่าขนาดมือเด็ก) มือขนาดกลาง และมือขนาดเท่าผู้ใหญ่ มีทั้งมือซ้ายและขวา
ภาพมือเด็กมี 3 ภาพ มือข้างซ้าย 1 ภาพ ข้างขวา 2 ภาพ
ภาพมือผู้ใหญ่ 28 ภาพ มือข้างซ้าย 2 ภาพ ข้างขวา 14 ภาพ ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นข้างใดอีก 12 ภาพ
เทคนิคทำภาพมือมี 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. ใช้สีทามือแล้วทาบลงบนผนัง เรียกว่า การทาบมือ พบ 29 ภาพ เป็นมือเด็ก 2 ภาพ ทั้งซ้ายและขวา ส่วนมือผู้ใหญ่ 16 ภาพ มือข้างซ้าย 2 ภาพ ข้างขวา 14 ภาพ ไม่สามารถแยกได้อีก 11 ภาพ
2. ใช้สีทามือแล้วขูดสีบางส่วนจากอุ้งมือออก เรียกว่า มือทาบแบบประดิษฐ์ ทำเป็นลายคล้ายก้นหอย แล้วทาบลงบนผนังหิน มี 2 ภาพ เป็นมือขวาของเด็ก 1 ภาพ มือผู้ใหญ่ไม่สามารถแยกได้ว่าซ้ายหรือขวา 1 ภาพ
ภาพสัญลักษณ์ ลักษณะเป็นลายเส้นเขียนปะปนไปกับภาพมือ ส่วนใหญ่เป็นการนำเส้นตรงมาสร้างภาพ ใช้เส้นโค้งน้อยกว่า โดยทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลายขนาดนำมาต่อกันเป็นภาพ แทรกอยู่กับภาพมือ บางภาพทับอยู่กับภาพมือ เห็นไม่ชัดว่าภาพอะไรทับอะไร
แหล่งภาพเขียนสีถ้ำเซ่งเม่ง และถ้ำลายมือ ต่างก็ตั้งอยู่ในตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ ตั้งอยู่บนเขาเดียวกัน ห่างกัน 4 กิโลเมตร ผู้วาดภาพเลือกหน้าผาบนหลังเขาด้านทิศตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่ราบ และแหล่งโบราณคดีที่โนนบ้านฮ้างปลาฝากับบ้านหนองห้างเหมือนกัน ผู้ศึกษาจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างสรรค์ภาพน่าจะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน (พเยาว์ เข็มนาค 2539 : 105)
กรมศิลปากร. “ถ้ำลายมือ.” ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และระบบภูมิสารสนเทศ โรงการสำรวจแหล่งมาดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์), มปป. เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2557. แหล่งที่มา http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.aspx
พเยาว์ เข็มนาค. ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2539.
พัชรี สาริกบุตร. “ถ้ำเซ่งเม่ง.” ภาพเขียนสีและภาพสลัก : ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. (ออนไลน์), 2543. เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2557. แหล่งที่มา http://www.era.su.ac.th/RockPainting/south/index.html
พิสิฐ เจริญวงศ์ (บรรณาธิการ). ศิลปะถ้ำในอีสาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532.