โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ถนนแก้วเงินทอง (ถ.ฉิมพลี-วัดรัชฎาธิฐาน) เชิงสะพานข้ามคลองบางระมาด แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน
ตำบล : ฉิมพลี
อำเภอ : เขตตลิ่งชัน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.772555 N, 100.450784 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองชักพระ, คลองบางระมาด
จากถนนบรมราชชนนี บริเวณสถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน ให้ใช้ถนนฉิมพลี (อยู่ติดกับสถานีตำรวจ) ไปตามถนนฉิมพลีประมาณ 850 เมตร เลี้ยวขวาใช้ถนนแก้วเงินทอง ประมาณ 700 เมตร จะพบป้ายวัดอังกุลาอยู่ทางซ้ายมือ ติดกับซอยแก้วเงินทอง 38 ตรงข้ามกับซอยแก้วเงินทอง 51 ก่อนถึงสะพานข้ามคลองบางระมาด
วัดอังกุลา (ร้าง) และหลวงพ่อดำ เป็นที่เคารพสักการะและศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณะสร้างอาคารขึ้นใหม่บนซากฐานอาคารเดิม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถเดิม แล้วประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญคือหลวงพ่อดำ ในวันที่ 2 มกราคมของทุกปี จะมีการทำบุญประจำปีของวัดอังกุลา (ร้าง)
วัดอังกุลาเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ริมคลองบางระมาด ฝั่งด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างวัดช่างเหล็กและวัดมณฑป ริมถนนแก้วเงินทอง (ถ.ฉิมพลี-วัดรัชฎาธิฐาน) เชิงสะพานข้ามคลองบางระมาด โดยอยู่ห่างจากวัดช่างเหล็กมาทางทิศตะวันตกประมาณ 200 เมตร ห่างจากวัดมณฑปมาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร และห่างจากคลองชักพระมาทางทิศตะวันตกประมาณ 380 เมตร
พื้นที่วัดร้างปัจจุบันเป็นบ้านเรือนราษฎร ร้านค้า ถนนแก้วเงินทอง รวมทั้งตรอกซอกซอยต่างๆ แต่วัดยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน มีการสร้างอาคารขึ้นทับซากอาคารเดิมเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป “หลวงพ่อดำ”
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง โดยรอบวัดเป็นชุมชนเมือง มีบ้านเรือนราษฎรและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น อาคารโรงเรียน ตั้งอยู่หนาแน่นสลับกับพื้นที่สวน ทิศใต้ติดกับคลองบางระมาด ทิศตะวันตกติดถนนแก้วเงินทอง
คลองบางระมาด, คลองชักพระ, แม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มบางกอกหรือที่ราบลุ่มกรุงเทพ เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period)
ชื่อผู้ศึกษา : ประยูร อุลุชาฏะ (น. ณ ปากน้ำ)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2513
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
ประยูร อุลุชาฏะ (2514 : 89) ได้สำรวจวัดอังกุลา และระบุว่าเหลือเพียงซากอุโบสถชื่อผู้ศึกษา : ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2549
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
ประภัสสร์ ชูวิเชียร (2549) สำรวจและศึกษาวัดโบราณในคลองบางระมาด และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเมืองโบราณชื่อผู้ศึกษา : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2552
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผลการศึกษา :
รวบรวมและศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ทางสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่เขตตลิ่งชัน เสนอเป็นรายงานวิจัย “ศึกษาประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน” ต่อศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)ชื่อผู้ศึกษา : วิชญดา ทองแดง, ศรัณย์ ทองปาน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : เมืองโบราณ
ผลการศึกษา :
ชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน (2555) รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์รวมถึงข้อมูลต่างๆ ของวัด และสำรวจบันทึกสภาพปัจจุบันวัดอังกุลาปัจจุบันเป็นวัดร้าง เหลือเพียงองค์พระพุทธรูปที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อดำ” ประดิษฐานอยู่บนซากปรักหักพังของอาคารที่อาจเป็นอุโบสถ รายล้อมด้วยบ้านเรือนร้านค้า แต่ก็ยังมีผู้ศรัทธาจัดงานประจำปี หารายได้ก่อสร้างซ่อมแซมวิหารหลังใหม่ให้เป็นที่ประดิษฐาน ทับซ้อนอยู่บนฐานรากของโบราณสถาน (วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน 2555 : 137) ฐานวิหารก่ออิฐฉาบปูน พื้นปูกระเบื้อง ฝาผนังเป็นลูกกรงเล็กดัดตลอดแนว หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องลอน
หลวงพ่อดำองค์นี้ ประภัสสร์ ชูวิเชียร (2549 : 79) กล่าวว่าน่าจะเป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา ด้วยพระพักตร์รียาว มีเม็ดพระศกเล็กละเอียด ส่วนฐานชุกชีที่ยังพอเหลือให้เห็นเป็นลายปูนปั้น ประดับลายขาสิงห์ หลวงพ่อดำประดิษฐานหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ ออกสู่คลองบางระมาด
ภายในวิหารใหม่พบก้อนหินขนาดใหญ่ที่น่าจะเป็นลูกนิมิตรอบอุโบสถที่ถูกขุดขึ้นมา รวมทั้งพบกระเบื้องเชิงชายดินเผาหลายชิ้น ซึ่งน่าจะเป็นกระเบื้องมุงหลังคาของอุโบสถหลังนี้มาแต่เดิม (วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน 2555 : 137) ก้อนอิฐที่มีแกลบข้าวปนแบบอิฐสมัยอยุธยา (ประภัสสร์ ชูวิเชียร 2549 : 79)
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากวัดอังกุลาอีกองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อขาว ปัจจุบันถูกเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานอยู่ที่วัดจันทร์ประดิษฐาราม (วัดจันตาผ้าขาว) (กรมการศาสนา 2526 : 50 ; ประภัสสร์ ชูวิเชียร 2549 : 79)
กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. กรุงเทพฯ. กรมการศาสนา 2526.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. “วัดโบราณในคลองบางระมาด.” เมืองโบราณ 32, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2549) : 73-88.
ประยูร อุลุชาฏะ (น. ณ ปากน้ำ). ศิลปกรรมในบางกอก. พระนคร ; เกษมบรรณกิจ, 2514.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. การศึกษาภูมิหลังและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552.
วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน. ชุมทางตลิ่งชัน : ย่านเก่า[ก่อน]กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.
ศรัณย์ ทองปาน และวิชญดา ทองแดง. “ชุมทางตลิ่งชัน.” เมืองโบราณ 32, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2549) : 43-57.