ป้อมทุ่งเศรษฐี


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ทางหลวงหมายเลข 101 ต.นครชุม (เทศบาลตำบลนครชุม) อ.เมืองกำแพงเพชร

ตำบล : นครชุม

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : กำแพงเพชร

พิกัด DD : 16.473683 N, 99.502732 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองสวนหมาก

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 2.9 กิโลเมตร จะพบโบราณสถานป้อมทุ่งเศรษฐีทางซ้ายมือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

เข้าชมได้ทุกวัน ไม่มีเวลาเปิด–ปิด ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478

2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480

3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

ป้อมทุ่งเศรษฐีเป็นโบราณสถานร้างขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณนครชุมทางด้านทิศใต้ ภายในเขตเทศบาลตำบลนครชุมในปัจจุบัน พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งที่ราบ ด้านทิศเหนือของป้อมติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันตกประมาณ 1.4 กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

81 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำปิง, คลองสวนหมาก

สภาพธรณีวิทยา

ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงทับถมของตะกอนกรวด ทราย ทรายแป้งและดินเหนียว มีลำคลองที่ไหลมาจากภูเขาทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำปิง

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยอยุธยา, สมัยอยุธยาตอนกลาง

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 21 – 22

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : พิทยา ดำเด่นงาม

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2508

วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ขุดแต่ง, ทำผัง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

จากการขุดค้นพบหลักฐานว่าเป็นป้อมขนาดใหญ่ ที่มุมป้อมย่อเป็นป้อมเล็กๆ กำแพงด้านทิศตะวันออกหายไปทั้งด้าน ภายในป้อมมีบ่อน้ำหนึ่งบ่อ เชิงกำแพงป้อมด้านในทำเป็นซุ้มโค้งสำหรับเป็นช่องปืน (กรมศิลปากร 2514 : 10 - 11)

ชื่อผู้ศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2542, พ.ศ.2543

วิธีศึกษา : ขุดค้น, ขุดแต่ง, ขุดตรวจ, ทำผัง, ศึกษาสถาปัตยกรรม

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

จากการขุดแต่ง ขุดค้นบริเวณป้อมทุ่งเศรษฐีและพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่างๆ สามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 เป็นป้อมที่ใช้สังเกตการณ์ข้าศึกและมีสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลตะวันตก (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร 2543 : 67 - 68)

ชื่อผู้ศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543, พ.ศ.2544

วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ทำผัง, ปรับปรุงภูมิทัศน์

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

ทำการบูรณะและเสริมความมั่นคงป้อมทุ่งเศรษฐีทั้งหมดและปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆโดยเน้นการป้องกันน้ำท่วมขัง (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร 2543 : 59 - 65)

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ป้อมค่าย

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ป้อมทุ่งเศรษฐีที่ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งที่ราบ ลักษณะป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลงยาวด้านละ 84 เมตร ด้านเหนือถูกรื้อทำลายตลอดแนว แต่ละด้านมีช่องประตูเข้าออกตรงบริเวณกึ่งกลาง

ด้านนอกก่อเป็นกำแพงสูงด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาทุกใบมีช่องอาจจะใช้เป็นช่องปืน ตรงมุมกำแพงทั้งสี่มุมทำเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ตอนล่างของแนวกำแพงมีช่องกุดทำเป็นวงโค้งยอดแหลม ภายในบริเวณป้อมไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างอื่น ป้อมทุ่งเศรษฐีคงสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลางและเป็นลักษณะป้อมที่ได้รับอิทธิพลจากยุโรป (กรมศิลปากร 2552 : 43)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

วีระศักดิ์ แสนสะอาด เรียงเรียงข้อมูล, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล ดูแลฐานข้อมูล

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์ , 2552.

กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถานเมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชชนาลัย พ.ศ.2508-2512. พระนคร : ม.ป.ท. , 2514.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการขุดแต่งป้อมทุ่งเศรษฐี. กรุงเทพ : โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก , 2543.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพ : โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก , 2544.

Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง