วัดดงหวาย


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ถ.ราชดำเนิน 2 ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองกำแพงเพชร) อ.เมืองกำแพงเพชร

ตำบล : ในเมือง

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : กำแพงเพชร

พิกัด DD : 16.496092 N, 99.5193 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง

เขตลุ่มน้ำรอง : ห้วยทราย

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดดงหวายตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมืองกำแพงเพชร ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ริมถนนราชดำเนิน 2 (ทางหลวงหมายเลข 101) ห่างจากคูเมืองกำแพงเพชรด้านทิศเหนือบริเวณประตูโคมไปตามถนนราชดำเนิน 2 ประมาณ 400 เมตร 

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

เข้าชมได้ทุกวัน ไม่มีเวลาเปิด–ปิด ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 

2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480

3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือห่างจากประตูสะพานโคมประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถนนราชดำเนิน 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-สุโขทัย) ตัดผ่านด้านทิศตะวันตกของวัด 

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

79 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำปิง, ห้วยทราย

สภาพธรณีวิทยา

ดินปนทรายและมีชั้นทรายตะกอนแม่น้ำ เนื่องจากบริเวณนี้แต่เดิมเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาแม่น้ำปิงตื้นเขินขึ้นเนื่องจากการทับถมของตะกอนทรายและดินปนทรายจึงเกิดเป็นที่ราบบริเวณเมืองกำแพงเพชรนี้

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยอยุธยา, สมัยอยุธยาตอนต้น, สมัยอยุธยาตอนกลาง

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 20 – 22

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือห่างจากประตูสะพานโคมประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-สุโขทัย) ตัดผ่านด้านหลังวัด เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระด้านตะวันออกด้านเดียว ลักษณะเด่นของเจดีย์องค์นี้คือ การสร้างฐานแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้นจนทำให้รูปทรงของเจดีย์เพรียวชะลูด ที่น่าจะรับอิทธิพลจากฐานเจดีย์ของล้านนา วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ (กรมศิลปากร 2552 : 75-76)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

วีระศักดิ์ แสนสะอาด เรียงเรียงข้อมูล, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล ดูแลฐานข้อมูล

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์ , 2552.

Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง