โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองกำแพงเพชร) อ.เมืองกำแพงเพชร
ตำบล : ในเมือง
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : กำแพงเพชร
พิกัด DD : 16.486908 N, 99.524264 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
ศาลพระอิศวรตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชร ในพื้นที่ส่วนทางทิศใต้ตอนกลางของเมือง ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ด้านหลังศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร จากซอยปิ่นดำริห์ สามารถใช้ซอยข้างศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชรไปยังศาลพระอิศวรได้
เข้าชมได้ทุกวัน ไม่มีเวลาเปิด–ปิด ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม ปัจจุบันประดิษฐานประติมากรรมพระอิศวร เป็นที่เคารพสักการะของคนโดยทั่วไป
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534
ศาลพระอิศวรเป็นโบราณสถานที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชร ในพื้นที่ส่วนทางทิศใต้ตอนกลางของเมือง ปัจจุบันอยู่ในเขตตัวอำเภอเมืองกำแพงเพชรและเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
แม่น้ำปิง
ดินปนทรายและมีชั้นทรายตะกอนแม่น้ำ เนื่องจากบริเวณนี้แต่เดิมเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาแม่น้ำปิงตื้นเขินขึ้นเนื่องจากการทับถมของตะกอนทรายและดินปนทรายจึงเกิดเป็นที่ราบบริเวณเมืองกำแพงเพชรนี้
ชื่อผู้ศึกษา : พิทยา ดำเด่นงาม
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2509
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
จากการขุดแต่งพบว่า ศาลพระอิศวรเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านบนเป็นแท่นตั้งเทวรูป จากหลักฐานพบว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์และพระอุมา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา(กรมศิลปากร 2514 : 3 – 5)ชื่อผู้ศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ทำผัง, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร, เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
ผลการศึกษา :
ทำการบูรณะและเสริมความมั่นคงศาลพระอิศวรและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ามีการใช้พื้นที่ศาลพระอิศวรช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 - 23 สมัยอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร 2544 : 59 - 65)ศาลพระอิศวรเป็นโบราณสถานที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองกำแพงเพชร อาคารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ศาลพระอิศวรแห่งนี้เดิมได้ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร เทวรูปพระนารายณ์และเทวสตรีสำริด (อาจเป็นรูปพระอุมาหรือพระลักษมี) รวมอยู่ด้วย แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าได้นำไปประดิษฐานไว้ภายหลังหรือนำมาจากที่อื่น (กรมศิลปากร 2552 : 70 - 71) ปัจจุบันด้านบนประดิษฐานประติมากรรมพระอิศวรจำลองจากองค์จริงที่พบบริเวณศาล เป็นที่เคารพสักการะของคนโดยทั่วไป
จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์ , 2552.
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถานเมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชชนาลัย พ.ศ.2508-2512. พระนคร : ม.ป.ท. , 2514.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลพระอิศวร. ม.ป.ท. , 2544.
Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com