วัดริมทาง


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร

ตำบล : หนองปลิง

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : กำแพงเพชร

พิกัด DD : 16.50822 N, 99.513502 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดริมทางตั้งอยู่นอกเมืองโบราณกำแพงเพชรไปทางทิศเหนือ ใกล้กับที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยจากตัวเมืองกำแพงเพชร ใช้ถนนราชดำเนิน 2 ต่อเนื่องไปยังถนนที่มุ่งหน้าที่ทำการอุทยาน

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลาเปิด – ปิด 8.30 – 16.30 น. ค่าธรรมเนียม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร, ขึ้นทะเบียนของ UNESCO

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478

2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480

3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511

 

ขึ้นทะเบียนของ UNESCO

วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดริมทางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร อยู่ห่างจากวัดช้างรอบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 700 เมตร ห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือไปทางทิศเหนือประมาณ 1,670 เมตร ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศเหนือประมาณ 2.5 กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

97 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำปิง

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนทับถมเป็นเนินศิลาแลงอยู่ใต้ดิน

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยอยุธยาตอนต้น, สมัยอยุธยาตอนกลาง

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 20 – 22

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : เขมิกา หวังสุข

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540

วิธีศึกษา : ขุดแต่ง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลการศึกษา :

เขมิกา หวังสุข และคณะ ทำการขุดแต่งโบราณสถานวัดริมทางในส่วนทางด้านทิศตะวันตกของอาคารหมายเลข 2 ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวิหาร จากรูปแบบสันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้เป็นศาลาของวัด (เขมิกา หวังสุข และคณะ 2540 : 10 - 11)

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดริมทางตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ถัดจากวัดช้างรอบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ วัดริมทางมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่

วิหารหมายเลข 1 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เป็นอาคารแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด          5 ห้องก่อด้วยศิลาแลง ภายในปรากฏร่อยฐานชุกชี ด้านหลังวิหารพบร่องรอยเจดีย์ประธานที่เหลือเพียงส่วนเขียง

วิหารหมายเลข 2 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวารหมายเลข 1 แผนผังเป็นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 7 ห้องก่อด้วยศิลาแลง บนวิหารมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นที่เหลือเพียงเฉพาะส่วนหน้าตักและพระวรกายเพียงบางส่วน 

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

วาทินี ถนอมพลกรัง เรียบเรียงข้อมูล, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล ดูแลฐานข้อมูล

บรรณานุกรม

เขมิกา หวังสุข และคณะ. รายงานสรุปผลการฝึกภาคสนาม การขุดแต่งโบราณสถานวัดริมทาง. ม.ป.ท., 2540.

Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง