โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร
ตำบล : หนองปลิง
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : กำแพงเพชร
พิกัด DD : 16.504531 N, 99.517752 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
เขตลุ่มน้ำรอง : ห้วยทราย
วัดกรุสี่ห้องตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกนอกเมืองโบราณกำแพงเพชรไปทางทิศเหนือ ใกล้กับที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยจากตัวเมืองกำแพงเพชร ใช้ถนนราชดำเนิน 2 ต่อเนื่องไปยังถนนที่มุ่งหน้าที่ทำการอุทยาน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลาเปิด – ปิด 8.30 – 16.30 น. ค่าธรรมเนียม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
ขึ้นทะเบียนของ UNESCO
วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574
วัดกรุสี่ห้องเป็นวัดร้างขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองโบราณกำแพงเพชร ถัดจากวัดอาวาสใหญ่ไปทางทิศใต้ประมาณ 400 เมตร ห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือไปทางทิศเหนือประมาณ 1.3 กิโลเมตร ห่างจากห้วยทรายไปทางทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศเหนือประมาณ 2.4 กิโลเมตร
แม่น้ำปิง, ห้วยทราย
ตะกอนทับถมเป็นเนินศิลาแลงอยู่ใต้ดิน
ชื่อผู้ศึกษา : บริษัท ปรียะธุรกิจ จำกัด
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543, พ.ศ.2544
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ทำผัง, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : บริษัท ปรียะธุรกิจ จำกัด, กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ทำการบูรณะและเสริมความมั่นคงวัดกรุสี่ห้องในส่วน วิหาร กุฏิ ศาลากำแพงวัด เจดีย์ราย บ่อน้ำ เว็จกุฏิและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ (บริษัท ปรียะธุรกิจ จำกัด 2544 : 64 - 71)วัดกรุสี่ห้องเป็นวัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร อยู่ห่างจากวัดอาวาสใหญ่ไปทางทิศใต้ รอบวัดมีบ่อน้ำละเป็นบ่อขุดศิลาแลงกระจายตัวอยู่ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญประกอบด้วย
วิหาร เป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานวิหารด้านล่างก่อเป็นเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยม 2 ชั้นรองรับส่วนของฐานบัวที่สร้างเพื่อยกพื้นให้สูงขึ้น โดยฐานหน้ากระดานชั้นล่างด้านหน้าและหลังวิหารจะก่อพื้นยื่นออกมาจากฐานประมาณ 1.6 เมตรโดยมีแนวเสาแปดเหลี่ยมรับชายคา (พาไล) ด้านละ 6 ต้นตั้งอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าวิหารมีบันไดขึ้นลงแห่งเดียวอยู่ตรงกลาง ส่วนด้านหลังมีบันไดขึ้นลง 2 แห่ง ด้านบนพบร่องรอยของฐานชุกชี และร่องรอยการใช้หินชนวนปูพื้นบนวิหาร
กลุ่มเจดีย์ราย วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก มีกำแพงแก้วล้อมรอบแสดงขอบเขต ตำแหน่งของกลุ่มเจดีย์รายจะอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหาร เจดีย์แต่ละองค์พังทลายเหลือเพียงส่วนฐาน สันนิษฐานว่ากลุ่มเจดีย์รายล้วนเป็นเจดีย์ทรงระฆัง
บริษัท ปรียะธุรกิจ จำกัด. รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง. ม.ป.ท. , 2544.
Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com