วัดป่ามืด


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร

ตำบล : หนองปลิง

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : กำแพงเพชร

พิกัด DD : 16.497984 N, 99.514126 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง

เขตลุ่มน้ำรอง : ห้วยทราย

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดป่ามืดตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกนอกเมืองโบราณกำแพงเพชรไปทางทิศเหนือ ใกล้กับที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยจากตัวเมืองกำแพงเพชร ใช้ถนนราชดำเนิน 2 ต่อเนื่องไปยังถนนที่มุ่งหน้าที่ทำการอุทยาน

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลาเปิด – ปิด 8.30 – 16.30 น. ค่าธรรมเนียม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร, ขึ้นทะเบียนของ UNESCO

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478

2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480

3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511

 

ขึ้นทะเบียนของ UNESCO

วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดป่ามืดเป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองโบราณกำแพงเพชร ถัดจากวัดพระนอนไปทางทิศใต้ประมาณ 40 เมตร ห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือไปทางทิศเหนือประมาณ 560 เมตร ห่างจากห้วยทรายไปทางทิศเหนือประมาณ 230 เมตร ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศเหนือประมาณ 1.3 กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

87 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำปิง, ห้วยทราย

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนทับถมเป็นเนินศิลาแลงอยู่ใต้ดิน

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยอยุธยาตอนต้น, สมัยอยุธยาตอนกลาง

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 20 – 22

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดป่ามึดตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ถัดจากวัดพระนอนไปทางทิศใต้ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแนวกำแพงศิลาแลงล้อมรอบหันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างสำคัญที่ประกอบด้วย

เจดีย์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลง ปรากฏฐานเขียงด้านล่างก่อเป็นหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมเพื่อรองรับฐานหน้ากระดานในผังแปดเหลี่ยม 3 ชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวในฝังแปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยเถา ด้านบนถัดขึ้นไปพังทลายหมดแล้ว เจดีย์องค์นี้มีการก่อมุขยื่นออกมาคล้ายกับซุ้มจรนำ พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในซุ้มพังทลายหมดแล้ว

วิหาร เป็นอาคารในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ฐานวิหารก่อเป็นฐานบัว ลักษณะเป็นวิหารโถงมีบันไดขึ้นวิหาร 2 แห่งทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านบนวิหารปรากฏร่องรอยฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ปัจจุบันพังทลายหมดแล้ว

บรรณานุกรม

Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง