โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย
ตำบล : เมืองเก่า
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สุโขทัย
พิกัด DD : 17.017604 N, 99.709078 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ยม
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองแม่ลำพัน, คลองเสาหอ
โบราณสถานวัดตระพังทองตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ริมถนนจรดวิถีถ่อง หน้าประตูทางเข้าที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
โบราณสถานวัดตระพังทองตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม ดูแลรักษาโบราณสถานโดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร
ที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการรถจักรยานของเอกชนให้เช่า
การเดินทางจากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที
หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร.055-697-527 โทรสาร 055-697310
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3704 วันที่ 8 มีนาคม 2478 เรื่องกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ (วัดกระพังทอง)
ขึ้นทะเบียนของ UNESCO
วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574
โบราณสถานวัดตระพังทองตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่เรียกว่า “ตระพังทอง” ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย ในพื้นที่ฝั่งด้านทิศตะวันออกของเมือง ห่างจากกำแพงเมืองชั้นในประมาณ 250 เมตร ปัจจุบันโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ด้านทิศตะวันออกของโบราณสถานเป็นที่ตั้งของ วัดตระพังทอง ที่ยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
เมืองสุโขทัยตั้งอยู่บนที่ราบตะพักลำน้ำ (Terrace) เชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาประทักษ์ ตะกอนที่ทับถมจึงประกอบไปด้วยดิน กรวด ทราย ที่ถูกน้ำพัดพามาจากภูเขา
จากเชิงเขา พื้นที่มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณไปทางทิศตะวันออกประมาณ 11 กิโลเมตร มีลำน้ำสำคัญคือ คลองเสาหอ ซึ่งเป็นลำน้ำสายตรงทางด้านทิศใต้ และคลองแม่ลำพันทางด้านทิศเหนือและตะวันออกของเมือง และไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ตัวจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน
พื้นที่ระหว่างเมืองโบราณสุโขทัยกับแม่น้ำยมเป็นที่ลุ่ม มักมีน้ำท่วมประจำ และบางแห่งมีน้ำแช่ขังอยู่หลายเดือน จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมืองเก่าสุโขทัยไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ
คลองเสาหอ, คลองแม่ลำพัน, แม่น้ำยม
เมืองสุโขทัยตั้งอยู่บนที่ราบตะพักลำน้ำ (Terrace) เชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาประทักษ์ ซึ่งเป็นเทือกเขาหินตะกอนในยุคเพอร์เมียนและไทรแอสซิก ประกอบไปด้วยเขาหลายลูก ตะกอนที่ทับถมจึงประกอบไปด้วยดิน กรวด ทราย ที่ถูกน้ำพัดพามาจากภูเขา ดินเป็นชุดดินแม่แตง (Mae Taeng series: Mt)
ชื่อผู้ศึกษา : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2450
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2520) ขณะทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงสำรวจเมืองเก่าสุโขทัย รวมถึงวัดตระพังทองชื่อผู้ศึกษา : สุภัทรดิศ ดิศกุล
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2521
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : คณะกรรมการกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ผลการศึกษา :
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (2521) ทรงศึกษา รวบรวม และจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะสุโขทัย (โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)ชื่อผู้ศึกษา : สันติ เล็กสุขุม
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : เมืองโบราณ
ผลการศึกษา :
ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม (2540) เผยแพร่หนังสือศิลปะสุโขทัย ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงวัดตระพังทองชื่อผู้ศึกษา : ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาเอกสาร/จารึก
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ผลการศึกษา :
ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2547) ศึกษาวิจัยศิลปะสุโขทัยจากหลักฐานโบราณคดีจารึกและศิลปกรรม รวมทั้งวัดตระพังทองชื่อผู้ศึกษา : พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักโบราณคดีกรมศิลปากร รวบรวมและศึกษาข้อมูลโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร แล้วเผยแพร่ในเอกสาร “นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร”ชื่อผู้ศึกษา : ปัทมา เอกม่วง
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2549
วิธีศึกษา : ศึกษาความเชื่อ, ประวัติศาสตร์ศิลปะ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ปัทมา เอกม่วง (2549) เสนอวิทยานิพนธ์ต่อ ม.ศิลปากร เพื่อสำเร็จปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ เรื่อง “การเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมบนรอยพระพุทธบาทที่วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยาและที่วัดตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย” พบว่าคติการสร้างและรูปแบบทางศิลปะของรอยพระพุทธบาททั้งสองแห่งนั้น เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยเช่นเดียวกันโบราณสถานวัดตระพังทองตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่เรียกว่า “ตระพังทอง” ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย ในพื้นที่ฝั่งด้านทิศตะวันออกของเมือง ห่างจากกำแพงเมืองชั้นในประมาณ 250 เมตร
ในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ทรงกล่าวไว้ว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะที่มีตระพังล้อมรอบ มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ มีเจดีย์ทรงระฆังก่อด้วยอิฐเป็นประธาน ฐานก่อด้วยศิลาแลง องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐ มีเจดีย์บริวาร 8 องค์ ที่ทรุดโทรมอย่างมาก ทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้ไม่น่าจะเก่าและสำคัญมากนัก (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2520 : 35)
คติการสร้างวัดบนเกาะที่มีน้ำล้อมอรอบที่น่าจะมีแบบอย่างมาจากลังกา ได้พบอีกแห่งหนึ่งกลางเมืองสุโขทัย ได้แก่ วัดสระศรี นอกจากนี้ทั้งสองวัดยังมีเจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์ประธานเหมือนกัน จึงน่าจะมีคติ รูปแบบ และระยะเวลาในการก่อสร้างที่สัมพันธ์กันด้วย (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547 : 30)
รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังจัดเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย กล่าวคือมีส่วนที่เป็นฐานบัวคว่ำ-บัวหงายเตี้ยๆ มีบัวถลา 3 ฐาน รองรับองค์ระฆัง และมีบัลลังก์อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ลักษณะนี้น่าจะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในสมัยสุโขทัย อย่างช้าอยู่ในช่วง พ.ศ.1927 โดยเปรียบเทียบกับเจดีย์วัดช้างล้อมที่สุโขทัยที่มีจารึกการสร้างในปีดังกล่าว หรืออาจจะมีมาก่อนหน้านี้แล้ว
โบสถ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเจดีย์ ในปัจจุบันสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากราว 100 ปีก่อน พระยารณชัยชาญยุทธ (ครุฑ) เจ้าเมืองสุโขทัยเก่า ซึ่งได้เคยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดแห่งนี้ ได้เรี่ยไรทรัพย์ก่อสร้างโบสถ์ขึ้น โดยก่อลงบนฐานรากฐานโบสถ์เก่าสมัยสุโขทัย (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2520 : 35 ; พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ 2546 : 17)
รอยพระบาทที่ประดิษฐานภายในวัดตระพังทองหลาง ทำด้วยแผ่นหินสีเทา ขนาดกว้าง 19 นิ้ว ยาว 59 นิ้ว เป็นรอยพระพุทธบาทข้างขวา สลักลวดลายมงคล 108
ลวดลายเทวดาและพระสาวกกำลังพนมมือที่สลักอยู่บนรอยพระพุทธบาทนั้น ลักษณะส่วนพระชงฆ์ (ต้นขา) พระบาท และชายผ้า มีลักษณะคล้ายกับภาพสลักดุนนูนบนแผ่นทองจังโกที่ประดับพระธาตุหริภุญชัย ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกัน และหากรอยพระบาทชิ้นนี้คือหนึ่งในหลายรอยที่กล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพญาลิไทย ก็น่าจะสัมพันธ์กันทางด้านรูปแบบและระยะเวลาด้วย (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547 : 30-31)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2551.
ปัทมา เอกม่วง. “การเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมบนรอยพระพุทธบาทที่วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยาและที่วัดตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2520.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.
สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2540.
สันติ เล็กสุขุม. งานช่างหลวงแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2542.
สันติ เล็กสุขุม. โบราณสถานกับรูปแบบสันนิษฐาน มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2551.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปสุโขทัย. กรุงเทพฯ :คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก, 2521.