โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : วัดอโสการาม, วัดสลัดได
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย
ตำบล : เมืองเก่า
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สุโขทัย
พิกัด DD : 17.005941 N, 99.713125 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ยม
จากเมืองเก่าสุโขทัย บริเวณด้านหน้าทางเข้าที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใช้ถนนจรดวิถีถ่อง (ทางหลวงหมายเลข 12) มุ่งหน้าทางทิศตะวันออกหรือมุ่งหน้าอำเภอเมืองสุโขทัย ประมาณ 850 เมตร (ผ่านประตูกำแพงหักหรือประตูเมืองด้านทิศตะวันออก) พบสามแยกให้เลี้ยวขวา ใช้ทางหลวงหมายเลข 1272 ประมาณ 1.1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าซอยโรงเรียนวัดพระเชตุพน ไปตามถนนประมาณ 300 เมตร จะพบวัดอโศการามทางขวามือ
โบราณสถานวัดอโศการามทองตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ 650 เมตร ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม ดูแลรักษาโบราณสถานโดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร
ที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการรถจักรยานของเอกชนให้เช่า
การเดินทางจากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที
หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร.055-697-527 โทรสาร 055-697310
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของ UNESCO
วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574
โบราณสถานวัดอโสการามตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกเมืองสุโขทัย (อยู่ด้านทิศใต้แนวเดียวกับมุมกำแพงเมืองคูเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้) ห่างจากคูเมืองด้านทิศใต้ไปประมาณ 650 เมตร ห่างจากประตูนะโม ซึ่งเป็นประตูเมืองด้านทิศใต้ของสุโขทัยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 900 เมตร ห่างจากวัดโพรงเม่นไปทางทิศใต้ 100 เมตร ห่างจากวัดมุมลังกามาทางทิศใต้ประมาณ 450 เมตร และห่างจากวัดวิหารทองไปทางทิศเหนือประมาณ 450 เมตร
เมืองสุโขทัยตั้งอยู่บนที่ราบตะพักลำน้ำ (Terrace) เชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาประทักษ์ ตะกอนที่ทับถมจึงประกอบไปด้วยดิน กรวด ทราย ที่ถูกน้ำพัดพามาจากภูเขา
จากเชิงเขา พื้นที่มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณไปทางทิศตะวันออกประมาณ 11 กิโลเมตร มีลำน้ำสำคัญคือ คลองเสาหอ ซึ่งเป็นลำน้ำสายตรงทางด้านทิศใต้ และคลองแม่ลำพันทางด้านทิศเหนือและตะวันออกของเมือง และไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ตัวจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน
พื้นที่ระหว่างเมืองโบราณสุโขทัยกับแม่น้ำยมเป็นที่ลุ่ม มักมีน้ำท่วมประจำ และบางแห่งมีน้ำแช่ขังอยู่หลายเดือน จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมืองเก่าสุโขทัยไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ
คลองเสาหอ, คลองยาง, แม่น้ำยม
เมืองสุโขทัยตั้งอยู่บนที่ราบตะพักลำน้ำ (Terrace) เชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาประทักษ์ ซึ่งเป็นเทือกเขาหินตะกอนในยุคเพอร์เมียนและไทรแอสซิก ประกอบไปด้วยเขาหลายลูก ตะกอนที่ทับถมจึงประกอบไปด้วยดิน กรวด ทราย ที่ถูกน้ำพัดพามาจากภูเขา ดินเป็นชุดดินแม่แตง (Mae Taeng series: Mt)
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2498
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
กองโบราณคดี กรมศิลปากร พบจารึกที่วัดสลัดได เมืองเก่าสุโขทัย (ปรากฏชื่อตามจารึกคือวัดอโสการาม) เมื่อ พ.ศ.2498 เป็นจารึกรูปทรงเสมาชื่อผู้ศึกษา : ประสาร บุญประคอง
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2507, พ.ศ.2508
วิธีศึกษา : ศึกษาเอกสาร/จารึก
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ประสาร บุญประคอง อ่าน ศึกษา และเผยแพร่จารึกวัดสลัดไดหรือจารึกวัดอโสการาม ที่กรมศิลปากรกำหนดให้เป็น “ศิลาจารึกหลักที่ 93 ศิลาจารึกวัดอโสการาม” พบว่ามีจารึก 2 ด้าน 98 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 47 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 51 บรรทัด เป็นจารึกตัวอักษรสุโขทัยและขอมสุโขทัย ภาษาไทยและบาลี ปรากฏศักราชในจารึก พ.ศ.1942ชื่อผู้ศึกษา : ประสาร บุญประคอง, ประเสริฐ ณ นคร, แสง มนวิทูร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2513, พ.ศ.2526
วิธีศึกษา : ศึกษาเอกสาร/จารึก
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ประสาร บุญประคอง, ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร และแสง มนวิทูร อ่าน ศึกษา และเผยแพร่จารึกวัดอโสการามชื่อผู้ศึกษา : สุภัทรดิศ ดิศกุล
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2521
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : คณะกรรมการกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ผลการศึกษา :
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (2521) ทรงศึกษา รวบรวม และจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะสุโขทัย (โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)ชื่อผู้ศึกษา : ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาเอกสาร/จารึก
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ผลการศึกษา :
ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2547) ศึกษาวิจัยศิลปะสุโขทัยจากหลักฐานโบราณคดีจารึกและศิลปกรรม รวมทั้งวัดอโศการามชื่อผู้ศึกษา : พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักโบราณคดีกรมศิลปากร รวบรวมและศึกษาข้อมูลโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร แล้วเผยแพร่ในเอกสาร “นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร”โบราณสถานวัดอโสการามตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกเมืองสุโขทัย (อยู่ด้านทิศใต้แนวเดียวกับมุมกำแพงเมืองคูเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้) ห่างจากคูเมืองด้านทิศใต้ไปประมาณ 650 เมตร ห่างจากประตูนะโม ซึ่งเป็นประตูเมืองด้านทิศใต้ของสุโขทัยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 900 เมตร ห่างจากวัดโพรงเม่นไปทางทิศใต้ 100 เมตร ห่างจากวัดมุมลังกามาทางทิศใต้ประมาณ 450 เมตร และห่างจากวัดวิหารทองไปทางทิศเหนือประมาณ 450 เมตร
เดิมชาวบ้านเรียกวัดอโศการามหรือวัดอโสการามนี้ว่า วัดสลัดได กรมศิลปากรพบจารึกที่วัดแห่งนี้เมื่อ พ.ศ.2498 เป็นจารึกรูปทรงเสมา มีจารึก 2 ด้าน 98 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 47 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 51 บรรทัด เป็นจารึกตัวอักษรสุโขทัยและขอมสุโขทัย ภาษาไทยและบาลี ปรากฏศักราชในจารึก พ.ศ.1942 (ประสาร บุญประคอง และคณะ 2526 ; วชรพร อังกูรชัชชัย และคณะ 2546)
เนื้อหาจารึกด้านที่ 1 กล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระมหาธรรมราชาที่ 2) ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม
จารึกด้านที่ 2 กล่าวถึงท่านกวีราชบัณฑิตศรีธรรมไตรโลก ได้รจนาเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลในวัดอโสการาม และการตั้งความปรารถนาเป็นบุรุษ ความเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยรูป ยศ และอายุของสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์
ความสำคัญของจารึกคือทำให้ทราบว่า สมเด็จพระราชเทพศรีจุฬาลักษณ์ พระมเหสีของพรมหาธรรมราชาที่ 2 หรือพญาลือไทย ทรงสถาปนาพระอารามวัดอโสการามในคราวเดียวกับที่ก่อสร้างวัดทักษิณาราม ทรงสร้างสถูปบรรจุพระมหาธาตุซึ่งเรียกว่ามหาเจดีย์ โดยใช้เวลาถึง 4 เดือน สร้างวิหาร มณฑป เจดีย์ และปลุกต้นพระศรีมหาโพธิ์ นอกจากนั้นยังแต่งตั้งผู้ดูแลรักษาวัด การถวายที่ดินหรือกัลปนา ข้าทาสวัด (ประสาร บุญประคอง และคณะ 2526) แล้วได้นิมนต์สรภังคเถรให้มาเป็นเจ้าอาวาส
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการสร้างวัดครั้งนี้ เป็นการสร้างวัด และมหาสถูปที่พระองค์ทรงสถาปนาได้แก่ เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานที่ปรากฏในปัจจุบัน เพราเป็นเจดีย์ประธานขนาดใหญ่มีอยู่เพียงองค์เดียว นอกนั้นเป็นเจดีย์รายขนาดเล็ก ส่วนหนึ่งอาจสร้างในคราวเดียวกัน อีกส่วนหนึ่งคงสร้างขึ้นภายหลัง (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547 : 60)
ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2547 : 60) ระบุว่า แผนผังของวัดประกอบด้วยเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นประธานของวัด ด้านหน้าเป็นวิหาร ด้านหลังเจดีย์ประธานมีมณฑปขนาดเล็ก ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นงานที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน เพราะมีแผนผังสมมาตรแกนหลักที่ปรากฏในศิลาจารึกที่กล่าวถึงทั้งมหาสถูป วิหาร มณฑป และเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์รายทางด้านทิศใต้อีกหลายองค์ คงสร้างขึ้นในระยะหลัง เพราะแผนผังไม่สมมาตร ขอบเขตของวัดล้อมรอบด้วยคูน้ำสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านยาวเป็นสองเท่าของด้านกว้าง (50x90 เมตร) ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของช่วงเวลานี้
รูปแบบของเจดีย์ยอดดอกบัวตูมประกอบด้วยลักษณะของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป กล่าวคือ ส่วนฐานที่ประกอบด้วยชุดฐานเขียงทรงสูง 4 ฐาน รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ (ประดับแนวลูกแก้วอกไก่ 2 แนว) ส่วนกลางประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟัก 2 ชุดเรียกว่า ชั้นแว่นฟ้า รองรับส่วนที่เป็นเรือนธาตุ ไม่ดับซุ้มจระนำ ส่วนยอดที่เป็นทรงดอกบัวตูมหักพังตกลงมา แต่ยังปรากฏหลักฐานตกอยู่ที่พื้น อันมีระเบียบที่เหมือนกัยทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547 : 60-61)
การสร้างวัดนอกเมืองสุโขทัยทางด้านใต้ แสดงถึงการขยายเมืองและชุมชนออกมาด้านนี้ นอกจากนี้ จากข้อมูลจารึกยังแสดงให้เห็นว่า เจดีย์ยอดดอกบัวตูมเป็นเจดีย์รูปแบบสำคัญที่ระดับเจ้านายทรงสร้างตามที่ปรากฏในวัดสำคัญๆ ขนาดใหญ่ในเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย และเจดีย์รูปแบบนี้คงมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547 : 61)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2551.
ประสาร บุญประคอง. “คำอ่านศิลาจารึก อักษรไทย ภาษาไทย จากวัดอโสการาม สุโขทัย.” ศิลปากร 8, 2 (กรกฎาคม 2507) : 61-66.
ประสาร บุญประคอง. “คำอ่านศิลาจารึก อักษรขอม ภาษามคธ จากวัดอโสการาม สุโขทัย.” ศิลปากร 9, 3 (กันยายน 2508) : 71-78.
ประสาร บุญประคอง, ประเสริฐ ณ นคร และแสง มนวิทูร. “หลักที่ 93 ศิลาจารึกวัดอโสการาม.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต. พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513 : 41-56.
ประสาร บุญประคอง, ประเสริฐ ณ นคร และแสง มนวิทูร. “ศิลาจารึกวัดอโสการาม พุทธศักราช 1942.” ใน จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526 : 319-334.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2520.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546.
วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี. “จารึกวัดอโสการาม.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ออนไลน์), 2546. เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2558.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปสุโขทัย. กรุงเทพฯ :คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก, 2521.