โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร
ตำบล : หนองปลิง
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : กำแพงเพชร
พิกัด DD : 16.511722 N, 99.523069 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
เขตลุ่มน้ำรอง : ห้วยทราย
วัดอาวาสน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอรัญญิก ทางเข้าบริเวณซอยข้างโรงเรียนบ้านบ่อสามแสนตรงข้ามกับทางเข้าสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เข้าชมได้ทุกวัน ไม่มีเวลาเปิด–ปิด ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
วัดอาวาสน้อยเป็นวัดร้างขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร ห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือไปทางทิศเหนือประมาณ 2,319 เมตร ห่างจากห้วยทรายไปทางทิศเหนือประมาณ 894 เมตร ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศเหนือประมาณ 3,910 เมตร
แม่น้ำปิง, ห้วยทราย
ตะกอนทับถมเป็นเนินศิลาแลงอยู่ใต้ดิน
ชื่อผู้ศึกษา : พิทยา ดำเด่นงาม
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2512
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
จากการขุดค้นพบว่าวัดนี้มีขนาดอีกวัดหนึ่ง มีฐานไพทีรองรองรับวิหารและเจดีย์ประธานยาวมากที่สุดในเมืองกำแพงเพชร บอกจากนี้ยังขุดแต่งบริเวณเจดีย์ด้านหลังฐานไพทีจำนวน 2 องค์ (กรมศิลปากร 2514 : 26 – 27)ชื่อผู้ศึกษา : หจก.สามเพชร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2551, พ.ศ.2552
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
วัดอาวาสน้อยมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีร่องรอยคูน้ำล้อมรอบ สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ได้ทำการขุดแต่งอาคารต่างๆ ได้แก่ ฐานไพทีรองรับวิหารและเจดีย์ประธาน แนวกำแพงวัด เจดีย์ราย กุฏิ จากหลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานว่าวัดอาวาสน้อยมีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 23 ตรงกลับสมัยสุโขทัยตอนปลายจนถึงสมัยอยุธยา (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร 2552 : 104 - 106)ชื่อผู้ศึกษา : หจก.สามเพชร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2557
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ทำการบูรณะและเสริมความมั่นคงของสิ่งก่อสร้างภายในวัดอาวาสน้อยทุกหลังโดยการก่อศิลาแลงซ่อมในส่วนที่ผุพังรวมทั้งอัดฐานอาคารเพื่อเสริมความมั่นคงและป้องกันการพังทลายอีก (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร 2557 : 165)วัดอาวาสน้อยตั้งอยู่นอกเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวัดที่ไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่แน่นอนได้เนื่องจากไม่ปรากฏแนวกำแพงล้อมรอบวัดทั้งสี่ด้าน
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญประกอบด้วย
อุโบสถ ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัด เป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ก่อฐานเป็นฐานบัว พบร่องรอยฐานศิลาแลงขนาดเล็กโดยรอบสันนิษฐานว่าเป็นที่ปักใบเสมา
ฐานไพที ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถ เป็นฐานบัวก่อศิลาแลงขนาดใหญ่ มีความกว้างประมาณ 27 เมตร ยาวประมาณ 118 เมตร มีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ด้าน ด้านบนประกอบด้วยวิหารขนาดใหญ่จำนวน 2 หลังและเจดีย์ประธาน 1 องค์
วิหาร 1 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกบนฐานไพที เป็นอาคารแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีการก่อมุขออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
เจดีย์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่กลางฐานไพที ปรากฏหลักฐานเพียงฐานหน้ากระดานแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนบนพังทลายหมดแล้ว
วิหาร 2 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกบนฐานไพที เป็นอาคารแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถานเมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชชนาลัย พ.ศ.2508-2512. พระนคร : ม.ป.ท. , 2514.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. โครงการขุดแต่งวัดอาวาสน้อย ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ม.ป.ท. , 2552.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำแพงเพชร. ม.ป.ท. , 2557.
Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com