โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ถ.ริมโขง ต.เวียง อ.เชียงแสน
ตำบล : เวียง
อำเภอ : เชียงแสน
จังหวัด : เชียงราย
พิกัด DD : 20.285234 N, 100.088547 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : โขง
วัดแจ่งท่านาค ตั้งอยู่นอกเมืองเชียงแสนด้านทิศเหนือ ริมแม่น้ำโขงและริมถนนริมโขง (วัดตั้งอยู่ระหว่างถนนกับแม่น้ำ) โดยอยู่ห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือไปตามถนนริมโขง (ทางหลวง 1290) ประมาณ 50 เมตร
วัดแจ่งท่านาค เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งและกันเขตโบราณสถานแล้ว แต่สภาพโดยทั่วไปพังทลายจนหมดสภาพ จึงไม่มีสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวและไม่มีป้ายระบุชื่อและข้อมูลของโบราณสถาน ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กรมศิลปากร, เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน, อำเภอเชียงแสน
วัดแจ่งท่านาค เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งและกันเขตโบราณสถานแล้ว ตั้งอยู่นอกเมืองด้านทิศเหนือในตำแหน่งที่เกือบประชิดกับคูเมือง (ตัวเนินโบราณสถานห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือประมาณ 50 เมตร) และน่าจะเป็นวัดคู่กับวัดแจ่งใต้ที่ตั้งอยู่ด้านนอกประชิดกำแพงเมืองด้านทิศใต้
ปัจจุบันวัดแจ่งท่านาคตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโขง-ลำน้ำเกี๋ยงกับถนนริมโขง โดยอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงและลำน้ำเกี๋ยง และอยู่ฝั่งตะวันออกของถนนริมโขง
พื้นที่ด้านทิศตะวันตกเป็นถนนริมโขง ด้านทิศใต้เป็นพื้นที่รกร้าง ส่วนด้านทิศเหนือและตะวันออกเป็นอาคารโรงแรม (ถัดจากโรงแรมไปทางทิศตะวันออกเป็นลำน้ำเกี๋ยงและแม่น้ำโขง) พื้นที่โดยรอบโบราณสถานได้รับการถากถาง มีไม้ยืนต้นและวัชพืชขึ้นอยู่ทั่วไป
แม่น้ำโขง
เมืองเชียงแสนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ในที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งเป็นที่ราบขนาดใหญ่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา โดยเฉพาะกรวดทราย ในยุคควอเทอร์นารี
ไม่ทราบประวัติความเป็นมาของวัดแจ่งท่านาค แต่น่าจะเป็นวัดที่มีความสำคัญ เนื่องจากตั้งอยู่นอกเมืองด้านทิศเหนือในตำแหน่งที่เกือบประชิดกับคูเมือง และน่าจะเป็นวัดคู่กับวัดแจ่งใต้ ที่ตั้งอยู่ด้านนอกประชิดกำแพงเมืองด้านทิศใต้
วัดแจ่งท่านาค เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งและกันเขตโบราณสถานแล้ว ตั้งอยู่นอกเมืองด้านทิศเหนือในตำแหน่งที่เกือบประชิดกับคูเมือง (ตัวเนินโบราณสถานห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือประมาณ 50 เมตร) และน่าจะเป็นวัดคู่กับวัดแจ่งใต้ที่ตั้งอยู่ด้านนอกประชิดกำแพงเมืองด้านทิศใต้
ปัจจุบันวัดแจ่งท่านาคตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโขง-ลำน้ำเกี๋ยงกับถนนริมโขง โดยอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงและลำน้ำเกี๋ยง และอยู่ฝั่งตะวันออกของถนนริมโขง
ร่องรอยโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่ของวัดแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างก่ออิฐ 1 หลัง สภาพพังทลายเป็นกองอิฐ สูงประมาณ 2 เมตรเศษ ด้านบนมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่เห็นได้ชัดที่สุดคือส่วนฐานที่ก่อขึ้นในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละประมาณ 5 เมตร จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจดีย์ ส่วนอื่นๆ ของวัด โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออก น่าจะถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทลายลง เนื่องจากพื้นที่ด้านทิศตะวันออกติดกับโบราณสถานเป็นพื้นที่ลาดชันลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำสายนี้