วัดเชตวัน


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ชื่ออื่น : วัดกาเผือก

ที่ตั้ง : ถ.พหลโยธิน ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน

อำเภอ : เชียงแสน

จังหวัด : เชียงราย

พิกัด DD : 20.274426 N, 100.085346 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : โขง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดเชตวัน ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนและตัวอำเภอเชียงแสน ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1016) ฝั่งด้านทิศเหนือ ตัดกับถนนสาย 2 ติดกับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ใกล้กับวัดพระยืน

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

วัดเชตวันเป็นโบราณสถานในเมืองเชียงแสนที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว มีการปลูกต้นไม้และหญ้าคลุมดิน มีการทำทางเดินรอบโบราณสถาน มีป้ายระบุชื่อและข้อมูลโบราณสถานสำหรับผู้เยี่ยมชม แต่ป้ายบางส่วนสภาพชำรุด นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร, เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน, อำเภอเชียงแสน

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

วัดเชตวันได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 2 ครั้ง ได้แก่

            1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 53 วันที่ 6 กรกฎาคม 2508 เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

            2. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 10 วันที่ 24 มกราคม 2523 เรื่อง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานสำหรับชาติ

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดเชตวันเป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน ค่อนไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนและตัวอำเภอเชียงแสน ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1016) ฝั่งด้านทิศเหนือ ตัดกับถนนสาย 2 ใกล้กับวัดพระยืน ห่างจากแม่น้ำโขงมาทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

375 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำโขง

สภาพธรณีวิทยา

เมืองเชียงแสนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ในที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งเป็นที่ราบขนาดใหญ่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา โดยเฉพาะกรวดทราย ในยุคควอเทอร์นารี

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านนา

อายุทางโบราณคดี

พ.ศ.2175-2180

อายุทางตำนาน

พ.ศ.2175 หรือ พ.ศ.2179 (พงศาวดารโยนก)

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดเชตวันมีปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า “ศักราช 998 (พ.ศ.2175 หรือ พ.ศ.2179) ปีชวด อัฐศก เจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา (กษัตริย์อังวะ) ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรพันหนึ่ง แล้วมีพระราชโองการให้สถาปนาที่วังนางฟ้ากาเผือก เมืองเชียงแสน เป็นพระอาราม ขนานนามว่า วัดเชตวัน แล้วอาราธนาพระมหาเถรวัดป่าไผ่ดอนแท่นมาเป็นเจ้าอาวาส”

พงศาวดารโยนกระบุถึงวัดเชตวันว่า “ศักราช 998 ปีชวด อัฐศก เจ้าฟ้าสุทโธ ธรรมราชา ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรพันหนึ่ง แล้วมีพระราชโองการให้สถาปนาที่วังนางฟ้ากาเผือก เมืองเชียงแสน เป็นพระอาราม ขนานนามว่า วัดเชตวัน แล้วอาราธนาพระมหาเถรวัดป่าไผ่ดอนแท่นมาเป็นเจ้าอาวาส”

โบราณสถานสำคัญของวัดได้แก่ วิหารและเจดีย์

วิหารก่ออิฐถือปูน ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 32 เมตร ด้านหน้าเป็นห้องเปิดโล่ง หลังคาเครื่องไม้ มุงกระเบื้องดินเผา ผนังก่อทึบ บนฐานชุกชีขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น บีบันไดทางขึ้นที่ด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า) และด้านทิศใต้ที่เชื่อมต่อกับทางเดินที่ทำออกไปจากวิหาร

เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน มีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งแต่ส่วนฐานขึ้นไปจนถึงส่วนรองรับองค์ระฆัง ส่วนฐานล่างสุดกว้างด้านละ 15 เมตร ประกอบด้วยฐานประทักษิณ 1 ฐาน มุขขนาดเล็กยื่นออกจากฐานด้านทิศตะวันออก ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียง 3 ฐานรองรับฐานบัว เหนือขึ้นไปเป็นชุดฐานบัว 2 ฐานรองรับองค์ระฆังทรงกลม ลักษณะส่วนฐานของเจดีย์มีอิทธิพลศิลปะของล้านช้าง จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับล้านช้าง ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์ด้านรูปแบบตามที่ปรากฏตามตำนานการสร้างราว พ.ศ.2175-2180 ซึ่งอยู่ในช่วงที่พม่าปกครองล้านนาและเชียงแสน แม้ว่าผู้สร้างจะเป็นกษัตริย์พม่า แต่กลุ่มคนสร้างอาจเป็นกลุ่มคนลาวหรือคนเชียงแสนที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านช้างก็เป็นได้

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี