วัดพระเจ้าทองน้อย


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ถ.พหลโยธิน ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน

ตำบล : เวียง

อำเภอ : เชียงแสน

จังหวัด : เชียงราย

พิกัด DD : 20.27393 N, 100.083949 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : โขง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดพระเจ้าทองน้อย ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนและตัวอำเภอเชียงแสน ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1016)

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

วัดพระเจ้าทองน้อยเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว แต่พื้นดินโดยรอบโบราณสถานมีวัชพืชขึ้นค่อนข้างหนาแน่น มีป้ายระบุชื่อและข้อมูลโบราณสถานสำหรับผู้เยี่ยมชม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร, เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน, อำเภอเชียงแสน

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดพระเจ้าทองน้อยเป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1016) ฝั่งทิศใต้ แวดล้อมไปด้วยชุมชน

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

387 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำโขง

สภาพธรณีวิทยา

เมืองเชียงแสนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ในที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งเป็นที่ราบขนาดใหญ่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา โดยเฉพาะกรวดทราย ในยุคควอเทอร์นารี

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านนา

อายุทางโบราณคดี

ราวพุทธศตวรรษที่ 21

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดพระเจ้าทองน้อยปัจจุบันเป็นวัดร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง น่าจะถูกทิ้งร้างไปหลัง พ.ศ.2347 เมื่อทัพล้านนายกขับไล่พม่า สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 ยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

วัดนี้ประกอบด้วยโบราณสถาน 2 หลัง ได้แก่ วิหารและเจดีย์ โดยวิหารปรากฏเฉพาะส่วนท้าย หัหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกของวิหารเป็นที่ตั้งของเจดีย์ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนบนพังทลาย  

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี