วัดพระยืน


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ถ.พหลโยธิน ต.เวียง (เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน) อ.เชียงแสน

ตำบล : เวียง

อำเภอ : เชียงแสน

จังหวัด : เชียงราย

พิกัด DD : 20.273983 N, 100.084609 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : โขง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดพระยืนตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน ใกล้กับวัดพระบวช วัดมุงเมือง และวัดพระเจ้าทองน้อย ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนและตัวอำเภอเชียงแสน ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1016)

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

วัดพระยืนเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว มีสภาพร่มรื่น มีป้ายระบุชื่อและข้อมูลโบราณสถาน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร, เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน, อำเภอเชียงแสน

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

วัดพระยืนได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 2 ครั้ง คือ

1. ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนที่ 96 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2500 เรื่อง การกำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถานสำหรับชาติ

2. ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 41 วันที่ 14 มีนาคม 2523 เรื่อง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานสำหรับชาติ

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดพระยืนเป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1016) ฝั่งทิศใต้ แวดล้อมไปด้วยชุมชน ใกล้กับวัดพระบวช วัดมุงเมือง และวัดพระเจ้าทองน้อย

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

384 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำโขง

สภาพธรณีวิทยา

เมืองเชียงแสนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ในที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งเป็นที่ราบขนาดใหญ่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา โดยเฉพาะกรวดทราย ในยุคควอเทอร์นารี

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านนา

อายุทางโบราณคดี

ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21

อายุทางตำนาน

พ.ศ.1875

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ตามประวัติที่ปรากฏในตำนานมีการกล่าวถึงชื่อวัดพระยืนว่าสร้างขึ้นในสมัยของพญาคำฟู เมื่อ พ.ศ.1875 เพื่อบรรจุพระธาตุ 140 องค์ ต่อมาสมัยเจ้าหลวงทิพเนตร (ผู้ครองเมืองเชียงแสน) เจดีย์องค์นี้ชำรุด จึงโปรดให้พญาหลวงไชยวิชิต (พญาหลวงไชยชิต) ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ซ่อมแซมใน พ.ศ.2181

ในพงศาวดารที่ 61 บันทึกว่าในปี พ.ศ.2261 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองเชียงแสนสูง 3 ศอก เป็นเหตุให้วัดอาทิต้นแก้ว วัดพระบวช วัดมุงเมืองและวัดพระยืน ได้รับความเสียหายอย่างมาก

กรมศิลปากรได้ขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระยืนตั้งแต่ พ.ศ.2500 เป็นต้นมา รูปแบบเจดีย์วัดพระยืนคล้ายกับเจดีย์วัดแสนเมืองมา คือเป็นเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยม เรือนธาตุย่อเก็จ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น ขนาด 7.5 เมตร ไม่พบวิหารและอาคารอื่นๆ แต่พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนอยู่บนพื้นดินด้านทิศใต้ของเจดีย์

จากรูปแบบเจดีย์สันนิษฐานได้ว่าเจดีย์วัดพระยืน น่าจะสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 (ไม่พบหลักฐานตามพงศาวดารว่าเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนการซ่อมแซมใน พ.ศ.2181 นั้น น่าจะเป็นการซ่อมแซมตามรูปแบบเดิม)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี