วัดสบเกี๋ยง


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ถ.ริมโขง (ทางหลวงหมายเลข 1290) ต.เวียง อ.เขียงแสน

อำเภอ : เชียงแสน

จังหวัด : เชียงราย

พิกัด DD : 20.286998 N, 100.087361 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : โขง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดสบเกี๋ยงตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเชียงแสนด้านทิศเหนือ โดยจากคูเมืองเชียงแสนด้านทิศเหนือ ใช้มถนนริมโขงมุ่งหน้าทิศเหนือหรือมุ่งหน้าสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 270 เมตร จะพบซอยเข้าสู่วัดสบเกี๋ยงอยู่ทางซ้ายมือ (วัดสบเกี๋ยงตั้งอยู่ด้านหลังบ้านเรือนราษฎร)

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

วัดสบเกี๋ยงเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว สภาพทั่วไปร่มรื่น มีการปลูกหญ้าคลุมดิน ล้อมรอบไปด้วยบ้านเรือนราษฎร มีป้ายระบุชื่อและข้อมูลโบราณสถานสำหรับผู้เยี่ยมชม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร, เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน, อำเภอเชียงแสน

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดสบเกี๋ยงเป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเชียงแสนด้านทิศเหนือ ห่างจากคูเมืองด้านทิศเหนือไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหลังบ้านเรือนราษฎร และอยู่ห่างจากแม่น้ำโขงมาทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

382 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำโขง

สภาพธรณีวิทยา

เมืองเชียงแสนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ในที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งเป็นที่ราบขนาดใหญ่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา โดยเฉพาะกรวดทราย ในยุคควอเทอร์นารี

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านนา

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 21-23

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2548, พ.ศ.2549

วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ขุดแต่ง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

กรมศิลปากรขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ใน พ.ศ.2548-2549 พบสิ่งก่อสร้างของวัดประกอบด้วย อุโบสถ เจดีย์ประธาน เจดีย์ขนาดเล็ก อาคาร 2 หลัง แท่นบูชาและป้อมในแนวคันดินที่ล้อมรอบวัด 2 ป้อม โดยด้านทิศใต้ของอุโบสถมีทางเดินเชื่อมกับศาลาทางทิศใต้

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดสบเกี๋ยงตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเชียงแสนด้านทิศเหนือ วัดนี้ไม่ปรากฏประวัติการก่อสร้าง แต่คงเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงแสน เพราะใน พ.ศ.2292 ได้มีการราชาภิเษกเจ้าอาวาสวัดสบเกี๋ยงให้เป็นสังฆราชาของเมืองเชียงแสน วัดสบเกี๋ยงยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

กรมศิลปากรขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ใน พ.ศ.2548-2549 พบสิ่งก่อสร้างของวัดประกอบด้วย อุโบสถ เจดีย์ประธาน เจดีย์ขนาดเล็ก อาคาร 2 หลัง แท่นบูชาและป้อมในแนวคันดินที่ล้อมรอบวัด 2 ป้อม โดยด้านทิศใต้ของอุโบสถมีทางเดินเชื่อมกับศาลาทางทิศใต้

เจดีย์ประธานของวัดสบเกี๋ยงตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับอุโบสถซึ่งอยู่ด้านหน้าเจดีย์และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลักฐานที่บอกถึงรูปแบบทางศิลปกรรมได้คือ เจดีย์ประธานที่เหลือเฉพาะส่วนฐานบัวและบางส่วนของฐานรองรับองค์ระฆังเท่านั้น แต่พอที่จะศึกษารูปแบบและรูปทรงสันนิษฐานได้ว่าเป็นเจดีย์ในกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัว 3 ฐานที่อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมที่สุดในเมืองเชียงแสนช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22

จากการขุดแต่งยังได้พบหลักฐานที่สำคัญคือ เครื่องถ้วยลายครามจีนสมัยราชวงศ์ชิง กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 พบร่วมกับตาชั่งและลูกชั่ง (ลูกเป้ง) แต่พบอยู่ในฐานอาคารขนาดเล็ก ซึ่งน่าจะเป็นการบรรจุเข้าไปภายหลัง (สัมยรัตนโกสินทร์) นอกจากนี้ยังพบร่องรอยกิจกรรมการหล่อตะกั่วทำเป็นกระสุนปืนในอาคารด้านทิศใต้ของวัด ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการทำสงครามระหว่างล้านนากับพม่า ครั้งเมืองเชียงแสนแตกใน พ.ศ.2347

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี