โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : วัดราชกิตติ
ที่ตั้ง : โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ถ.ราชมรรคา 5 ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่
ตำบล : พระสิงห์
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.784888 N, 98.985899 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
เจดีย์วัดกิตติตั้งอยู่ภายในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ริมถนนราชมรรคา และถนนพระปกเกล้าซอย 7 ภายในเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร หรือหากมาจากอนุสาวรีย์สามกษัตริย์มุ่งไปทางทิศตะวันตก ตามถนนอินทรวโรรสเข้าสู่ซอยราชดำเนิน 6 เดินตรงไปประมาณ 170 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจาบาน ตรงไป 450 เมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนราชมรรคา ตรงไปอีกประมาณ 110 เมตร จะพบโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่และเจดีย์วัดกิตติจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ
เจดีย์วัดกิตติตั้งอยู่ในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ สามารถเข้าสักการะและเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่, กรมศิลปากร
1.ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอน 177 ประกาศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2524
2.ประกาศขึ้นทะเบียนวัดร้างสำนักงานพระพุทธศาสนา แต่ไม่ปรากฏเลขทะเบียน (ธนธร เหลี่ยมวานิช 2553 : 54)
เจดีย์วัดกิตติในปัจจุบันได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ บริเวณพื้นที่ด้านทิศใต้ของโรงเรียน ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณเชียงใหม่ ในพื้นที่ด้านทิศใต้ของเมือง ทางทิศใต้ของวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อยู่ห่างจากคูเมืองด้านทิศใต้ขึ้นมาทางเหนือประมาณ 360 เมตร
สภาพอดีตของเจดีย์วัดกิตติก่อนการขุดแต่งและบูรณะของหน่วยกรมศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ (ในขณะนั้น) ใน พ.ศ.2511 องค์เจดีย์มีต้นหญ้าขึ้นเป็นหย่อมๆ อิฐหักและดินร่วงหล่นจากด้านบนทับถมโดยทั่วไปจากฐานล่างสุดถึงใต้บัวหงาย องค์เจดีย์บางแห่งแตกร้าว อิฐที่สอปูนสึกกร่อน (สมจิตต์ เรืองคณะ 2516 : 79-80)
แม่น้ำปิง
สภาพเมืองเชียงใหม่เป็นที่ราบที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในสมัยโฮโลซีน
สภาพธรณีวิทยาในแอ่งที่ราบเชียงใหม่มีความหลากหลายมากทั้งหินอัคนีแทรกซ้อน หินภูเขาไฟ หินแปรและหินตะกอนอายุต่างๆมากกว่า 600 ล้านปี จนถึงชั้นตะกอนหินทรายที่ยังไม่แข็งตัวบนที่ราบกลางแอ่งสมัยรีเซนต์ (Recent) ที่มีอายุประมาณ 10,000-20,000 ปีมาแล้ว ซึ่งได้แก่พื้นที่ราบส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันกลายเป็นที่นาและที่อยู่อาศัย (สรัสวดี อ๋องสกุล 2543 : 2-3)
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2511
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ขุดแต่ง
ผลการศึกษา :
ดำเนินการขุดแต่งและบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์วัดกิตติ โดยการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่เต็มโบราณสาน ถ่ายภาพเดิมก่อนการบูรณะ และเริ่มบูรณะซ่อมแซมฐานเขียงชั้นล่างสุด บัวคว่ำบัวหงายที่ชำรุดก่ออิฐประสานด้วยปูนซีเมนต์ ยึดหมุดแผ่นทองจังโกที่องค์เจดีย์ระหว่างฐานบัวลูกแก้วจนถึงองค์ระฆังที่ชำรุดชื่อผู้ศึกษา : ห.จ.ก.ฐานอนุรักษ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2552
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
บูรณปฏิสังขรณ์หลังจากกรมศิลปากรได้บูรณะไปเมื่อ 41 ปีก่อน โดยการปิดทองคำเปลวองค์เจดีย์ใหม่รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ เนื่องจากภูมิทัศน์ก่อนการบูรณะคับแคบและชิดกับพื้นที่ใช้งานของโรงเรียน โดยได้ขยายพื้นที่องค์เจดีย์ สร้างพื้นลาดปูอิฐพร้อมเสารั้วเตี้ยโดยรอบ และติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ระบายน้ำ และป้ายบรรยายชื่อผู้ศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2553
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ประวัติศาสตร์, สถาปัตยกรรม
ผลการศึกษา :
ศึกษาและระบุว่า รูปทรงและแบบแผนของเจดีย์มีความคล้ายคลึงกับเจดีย์ประธานวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน สันนิษฐานว่าเจดีย์ที่วัดกิตตินี้น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลายชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2553
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากรเปลี่ยนทองจังโกวัดกิตติเป็นวัดที่ถวายพระศพของพระเมืองแก้ว มีเจดีย์บรรจุพระอัฐิและพระอาคารธาตุ ในอดีตน่าจะเป็นวัดที่สำคัญ วัดแห่งนี้ร้างไปเมื่อเจ้าอาวาสองค์สุดท้ายมรณภาพ ประมาณ 50 ปีที่แล้ว ต่อมาได้มีการรื้อถอนอาคารสิ่งก่อสร้าง เช่น เสาวิหารนำไปสร้างกุฏิที่วัดทุงยู ส่วนไม้ที่หอธรรมนำไปสร้างที่วัดพวกแต้ม (กรมศิลปากร 2559)
เจดีย์วัดกิตติปัจจุบันตั้งอยู่ในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ เหลือเจดีย์เพียงหนึ่งองค์ สภาพสมบูรณ์ ฐานเขียงเจดีย์ขนาด 16 x 16 เมตร ทางทิศใต้เป็นอาคารเรียนสูง 4 ชั้น ทิศเหนือติดสนามกีฬาและถนนราชมรรคา รอบบริเวณเจดีย์เป็นพื้นคอนกรีต มีต้นไม้ใหญ่อยู่โดยรอบ มีมุมมองทางด้านทิศตะวันตก
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของเจดีย์คือ เจดีย์ฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม ฐานบัวลูกแก้วยกเก็จสองชั้นในฐานใหญ่ฐานเดียว ต่อด้วยฐานหน้ากระดานยกเก็จ ฐานหน้ากระดานกลมสามชั้น รองรับชุดมาลัยเถาทรงกลมสามชั้น ท้องกระดานของชุดมาลัยเถาประดับลวดบัวลูกแก้วอกไก่ชั้นละสองเส้น เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆังทรงกลม บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ปล้องไฉน ปลี และเม็ดน้ำค้าง
รูปทรงเจดีย์สูง เพรียวซึ่งเป็นลักษณะของเจดีย์พื้นเมืองล้านนา เจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน เรียงอิฐแบบสั้นสลับยาว หุ้มทองจังโกปิดทอง
จากรูปแบบและแบบแผนของเจดีย์ที่ปรากฏพบว่ามีความคล้ายคลึงกับพระธาตุหริภุญชัยมาก จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุใกล้เคียงกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย (ธนธร เหลี่ยมวานิช 253 : 54-56)
เจดีย์วัดกิตติถูกบูรณะเปลี่ยนทองจังโกโดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2553 (กรมศิลปากร 2559)
จารึกที่เกี่ยวข้อง
จารึกแผ่นทองจังโก วัดกิตติ เป็นจารึกที่บนด้านหลังแผ่นจังโกดุนลายพระพุทธรูปด้านทิศเหนือ จารึกเป็นภาษาล้านนาโบราณ อ่านได้ดังนี้ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฐานอนุรักษ์ 2552 : 21-22)
บรรทัดที่ 1
- โอก(า)ส(ะ) แก่ ภ (พระ) เทวดาทั้งหลาย เบน (เปน) ต้นว่าพระญาอินท์ พระยาพรหม เบน(เปน) เจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยกุสลบุญอันข้า...
บรรทัดที่ 2
- ข้าอันยังจ่ายค่า วตฺตสง...าร(อ่าน) นับค็ดี...ค็ดี ขอหื้อได้สมาธิ 4 ประการ อุปจารสมาธิ อปนสมาธิ ทุกตฺถติ ขอหื้อสิ้นทุก(ข์)ในชาติ...หื้อ...
บรรทัดที่ 3
- เมื่อได้สารีริกธาตุพระพุทธเจ้ามาชุมนุมกันในเค้ามหาโพธิเมื่อใด...หื้อข้าได้พ้น..ร...สยังอรหัตตมัคคญาณ ยา...
บรรทัดที่ 4
- ...เจ้าเท่ามน...มา...ย...กุสลบุญอันข้าได้ส้างพระพุทธ...น เท่าคัน
กรมศิลปากร. “เจดีย์วัดกิตติ (ในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่).” ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 เข้าถึงได้จาก www.gis.finearts.go.th
จังหวัดเชียงใหม่. แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ 4 ปี (พ.ศ.2558-2561). (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559. เข้าถึงได้จาก www.chiangmai.go.th
ฐานอนุรักษ์, ห้างหุ้นส่วนจำกัด. รายงานบูรณะ งานบูรณปฏิสังขรณ์และปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์เจดีย์วัดกิตติ (ร้าง) ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฐานอนุรักษ์, 2552.
ธนธร เหลี่ยมวานิช. รายงานการสำรวจวัดร้างเมืองเชียงใหม่. (เอกสารอัดสำเนา) ม.ป.ท., มิถุนายน 2553.
สมจิตต์ เรืองคณะ. “รายงานการบูรณะซ่อมแซมเจดีย์ วัดกิตติ จังหวัดเชียงใหม่.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 6 (มีนาคม 2516) : 79-80.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2543.
Google Maps. โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/maps/place/เจดีย์วัดกิตติ