โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย
ตำบล : ศรีสัชนาลัย
อำเภอ : ศรีสัชนาลัย
จังหวัด : สุโขทัย
พิกัด DD : 17.430484 N, 99.788474 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ยม
จากอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มาตามทางสาย 101 ที่ไปสวรรคโลก ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะตรงเข้าสู่อำเภอศรีสัชนาลัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยสามารถเดินทางเข้ามาได้หลายวิธี ดังนี้
1. รถโดยสารประจำทาง โดยมีรถประจำทางของบริษัทสุโขทัยวินทัวร์จากกรุงเทพฯ (สถานีขนส่งหมอชิต)ทุกวัน
2. รถไฟ เส้นทางกรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์ ลงที่สถานีสวรรคโลก จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทาง
3. เครื่องบิน มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ-สุโขทัย วันละ 2 เที่ยว
4. รถส่วนตัว จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 เส้นสุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ไปจนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 17 - 19 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ไป ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นระยะทาง 68 กิโลเมตร หรือ หรือ จากอำเภอสวรรคโลกไปตามทางหลวงหมายเลข 1201 ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร
หลักเมืองเป็นโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์และมรดกโลกทางวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และมีรถรางให้บริการนำชมทั่วอุทยานฯ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อปี พ.ศ.2533 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO เมื่อปี พ.ศ.2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในฐานะเมืองบริวารของสุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่มาเยี่ยมชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่าง ดังนี้
- ศูนย์บริการข้อมูลที่เปิดให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและประวัติศาสตร์ของเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- เจ้าหน้าที่นำชมโบราณสถาน/วิทยากร ที่คอยแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ และพร้อมนำชมโบราณสถานในเขตอุทยานฯทุกวัน
- แผ่นพับประชาสัมพันธ์และป้ายอธิบายโบราณสถานแต่ละแห่ง
- เส้นทางท่องเที่ยวภายในอุทยานฯที่สะดวกสบาย เชื่อมโยงโบราณสถานแต่ละแห่ง
- ป้ายบอกทางไปโบราณสถานเป็นระยะ
- จักรยานและรถรางในพื้นที่ภายในกำแพงเมือง
อัตราค่าเข้าชมสำหรับชาวไทย 20 บาท และ 40 บาท(สำหรับบัตรรวม) สามารถเข้าชมภายในอุทยานฯ วัดชมชื่น และแหล่งอนุรักษ์เตาเผาสังคโลกหมายเลข 61 และ 42
ค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ 100 บาท และ 220 บาท (สำหรับบัตรรวม)
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่คอยบริการนักท่องเที่ยวด้วย เช่น ค่าเช่าจักรยานคันละ 20 บาท สำหรับชาวไทย, ค่ารถรางคนละ 20 บาท สำหรับชาวไทย และ 40 บาทสำหรับชาวต่างชาติ หรือเหมาคันละ 300 บาท (ไม่เกิน 15 คน) *จักรยานและรถรางเป็นสัมปทานเอกชน อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้*
สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าชมได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โทรศัพท์ 055 679211
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
หลักเมือง บน.6 เป็นโบราณสถานที่อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งมีรายละเอียดของการประกาศขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานหลักเมือง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้า 3702 โดยในขณะนั้น ประกาศขึ้นทะเบียนเพียงแค่ชื่อเท่านั้น (ชื่อที่ใช้ในการประกาศฯ คือ หลักเมือง) แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขตของโบราณสถานแต่อย่างใด
2. กรมศิลปากร ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 105 ตอนที่ 57 ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื้อที่ 28,217 ไร่ หรือ 45.14 ตารางกิโลเมตร มี โบราณสถาน 283 แห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง โดยโบราณสถานหลักเมือง เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ขึ้นทะเบียนของ UNESCO
วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย พร้อมด้วย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับเกียรติให้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ณ กรุงคาร์เทจ สาธารณรัฐตูนิเซีย
หลักเมืองเป็นโบราณสถานร้างในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ภายในเมือง ในพื้นที่ด้านทิศใต้ของเมือง ทางตะวันออกของวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ ห่างจากแม่น้ำยมมาทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร โบราณสถานประกอบด้วยปรางค์ประธาน และวิหาร
เมืองศรีสัชนาลัยตั้งอยู่บนที่ราบ มีลักษณะการวางตัวของเมืองขนานไปกับลำน้ำยมตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ ตัวเมืองถูกล้อมรอบด้วยแนวเทือกเขา ทำให้มีสภาพคล้ายเมืองในหุบเขา
แม่น้ำยม
เมืองศรีสัชนาลัยตั้งอยู่บริเวณที่เรียกกันทั่วไปว่า แก่งหลวง ซึ่งก็คือ แก่งหินในแม่น้ำยมที่เกิดจากการไหลผ่านแนวภูเขาที่เป็นผนังหินควอร์ทซ์ วางตัวขวางแม่น้ำยม ของแม่น้ำยม
ลักษณะทางธรณีวิทยาบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย มีสภาพเป็นหินเชล (Shale) สี Olive หรือสี Grey จนถึงสี Dark Grey พบเป็นผืนใหญ่ตั้งแต่พื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีลักษณะ ของหินปูน (Limestone) สีจาง เนื้อละเอียดแทรกอยู่บริเวณตอนกลางของต้นน้ำห้วยแม่สานอีกด้วย
ลักษณะทางปฐพีวิทยานั้น เป็นดินที่เกิดอยู่กับที่ (Residual soil) เกือบทั้งสิ้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชัน จึงจัดหน่วยของดินนี้ไว้เป็นที่ลาดเชิงซ้อน (Slope complex)
สภาพพื้นที่ของอำเภอศรีสัชนาลัยค่อนข้างเรียบถึงสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยและสภาพพื้นที่เนินเขา พื้นที่ส่วนใหญ่ลาดเทจากด้านตะวันตกไปสู่ด้านตะวันออก ลักษณะของดินมีทั้งดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินดินดานและดินที่เกิดจากตะกอนของลำน้ำ เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง
กลุ่มเทือกเขาทางด้านตะวันตกเป็นกลุ่มหินราชบุรี จัดอยู่ในยุคคาร์บอนิฟอรัสและเพอร์เมียน
กลุ่มเทือกเขาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ เป็นกลุ่มหินตะนาวศรี จัดอยู่ในยุคคาร์บอนิฟอรัส และ Silurian Devonian
ชื่อผู้ศึกษา : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2450
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสำรวจโบราณสถานในเมืองสวรรคโลก รวมถึงโบราณสถานทรงปรางค์จัตุรมุข โดยทรงสันนิษฐานว่าอาจเป็นหลักเมือง ซึ่งปัจจุบันคือโบราณสถานหลักเมือง บน.6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2520 : 116)ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2478
วิธีศึกษา : ประกาศขึ้นทะเบียน
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากร ประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานระดับชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 หน้า 3702ในขณะนั้นเพียงแต่ประกาศแค่ชื่อเท่านั้น (ชื่อที่ใช้ในการประกาศฯ คือ หลักเมือง) ยังไม่ได้กำหนดขอบเขตโบราณสถานแต่อย่างใด โดยหลักเมืองเป็นหนึ่งในรายชื่อโบราณสถานที่ประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานในครั้งนั้นชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2508, พ.ศ.2509
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ขุดแต่ง
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากร ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานนี้ในปี พ.ศ.2508-2509ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2526
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากรสำรวจสภาพโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2531
วิธีศึกษา : ประกาศขึ้นทะเบียน
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากร ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 57 ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื้อที่ 28,217 ไร่ หรือ 45.14 ตารางกิโลเมตร มี โบราณสถาน 283 แห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง โดยโบราณสถานหลักเมือง เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2535
วิธีศึกษา : ศึกษาสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์, ศึกษาสภาพสังคม/วัฒนธรรม
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากรได้จัดทำหนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยขึ้นเพื่อเป็นคู่มือแนะนำประวัติความเป็นมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ในยุคนั้นๆของเมืองศรีสัชนาลัย และได้บรรยายเกี่ยวกับลักษณะของโบราณสถานแต่ละแห่งรวมถึงหลักเมืองอีกด้วยชื่อผู้ศึกษา : มานพ ถนอมศรี
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : ศึกษาสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์, ศึกษาสภาพสังคม/วัฒนธรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : บริษัท พีพีเวิลด์มีเดีย จำกัด
ผลการศึกษา :
มานพ ถนอมศรีได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถานในเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญในประเทศไทย มีความสำคัญต่อความเป็นมาของชนชาติไทย ทั้งในรูปแบบศิลปกรรม ประวัติความเป็นมา และวัฒนธรรมของคนในอดีต เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองที่มีอายุยาวนานถึงสามสมัยด้วยกัน คือ สมัยขอม สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาชื่อผู้ศึกษา : : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2549
ผลการศึกษา :
ภาควิชาศิลปะสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรเผยแพร่ รายงานแบบสำรวจรังวัดโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2549ชื่อผู้ศึกษา : สันติ เล็กสุขุม
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2551
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
ผลการศึกษา :
สันติ เล็กสุขุม จัดทำรูปแบบสันนิษฐานของโบราณสถาน ของพื้นที่มรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และตีพิมพ์เผยแพร่ชื่อผู้ศึกษา : นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2553
วิธีศึกษา : ศึกษาประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผลการศึกษา :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร ภายใต้การควบคุมของกรมศิลปากรได้จัดทำหนังสือนำชมขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ผ่านมาทั้งหมดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าใจอดีตของแคว้นสุโขทัยและเมืองลูกหลวงคือเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองกำแพงเพชร ซึ่งทั้งสามแห่งได้กลายเป็นเมืองมรดกโลกที่ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก และเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทยหลักเมือง บน.6 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ ห่างออกมาประมาณ 150 เมตร โบราณสถานประกอบด้วย วิหารขนาด 9.50x15.50 เมตร เสา 4 แถว 5 ห้อง มีมุขหน้า หลังคาลดลง 1 ตับ ซ้อน 1 ชั้น ด้านหลังเป็นซุ้มพระฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4 เมตร ย่อมุม 6 มุม หลังคาทรงมะลิซ้อน 1 ชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง มีบันไดทางขึ้นวิหาร 4 ทาง คือด้านหน้า 2 ทาง และด้านหลัง 2 ทาง หลังซุ้มพระเป็นเจดีย์เรือนธาตุย่อมุมไม้ 20 ยอดปรางค์ (ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2520 : 116) ทรงสันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง) ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 9.50 เมตร ประกอบด้วยฐานเขียง 3 ชั้น ฐานบัวลูกแก้ว เรือนธาตุ เหนือขึ้นไปเป็นฐานเชิงบาตรรับกลีบขนุนลดหลั่นซ้อนกันอยู่ 6 ชั้น ขวามือเจดีย์เป็นศาลาโถงขนาด 10x14.60 เมตร พื้นปูด้วยศิลาแลงฉาบปูน เสาด้านในเป็นเสาสี่เหลี่ยม เสาผนังทำด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาปลายตัด จากศาลาโถงมีทางเดินปูด้วยศิลาแลงไปสู่เจดีย์ประธาน ด้านหน้ามีทางเดินเช่นเดียวกัน (กรมศิลปากร 2535 : 61-62)
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัขนาลัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์, 2535.
กรมศิลปากร. “หลักเมือง บน.6.” ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมและระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2558. แหล่งที่มา http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.aspx
คณะอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย.รายงานทางวิชาการเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2533.
ธิดา สาระยา.เมืองศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2537.
นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์.นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2553.
ประโชติ สังขนุกิจ. นำชมโบราณวัตถุสถาน ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. พระนคร : กรมศิลปากร, 2513.
ประโชติ สังขนุกิจ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (A guidebook to Si Satchanalai historical park). กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2535.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2520.
ภาควิชาศิลปะสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม. แบบสำรวจรังวัดโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (ภาค 1). มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
มานพ ถนอมศรี. ศรีสัชนาลัย โบราณสถานสามสมัย. กรุงเทพฯ : พีพีเวิลด์มีเดีย, 2546.
สด แดงเอียด และคณะ. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย : เมืองเชลียง เชียงชื่น ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2536.
สมัย สุทธิธรรม. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ 1999 จำกัด, 2546.
สันติ เล็กสุขุม. โบราณสถานกับรูปแบบสันนิษฐานมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2551.