โพสต์เมื่อ 7 ก.พ. 2021
ชื่ออื่น : วัดพระเจ้ามังราย
ที่ตั้ง : ม.1
ตำบล : ท่าวังตาล
อำเภอ : สารภี
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.752432 N, 98.997393 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
จากวัดเจดีย์เหลี่ยม ให้เข้าทางซอยเจดีย์เหลี่ยม 4 ประมาณ 220 เมตร โบราณสถานจะอยู่ทางซ้ายมือ
วัดพญามังรายเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งแล้ว นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กรมศิลปากร
ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนพิเศษ 127ง วันที่ 21 ธันวาคม 2544 (วัดพญามังราย(วัดพระเจ้ามังราย))
วัดพญามังรายเป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองเวียงกุมกามทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระเจ้าองค์ดำ ห่างกันประมาณ 30 เมตร อยุ่ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออกประมาณ 350 เมตร
สภาพก่อนการขุดแต่ง เป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ คู่กัน 2 เนิน ชาวบ้านเรียกกันว่า เนินพญามังรายและเนินพระเจ้าองค์ดำ อยู่ภายในเขตสวนลำไยของชาวบ้าน
ปัจจุบันบริเวณโบราณสถานแวดล้อมด้วยสวนและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน
แม่น้ำปิง
เป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ถูกทับถมด้วยตะกอนที่เป็นทรายและหินกรวด ในสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2532
วิธีศึกษา : ขุดแต่ง
ผลการศึกษา :
พบกลุ่มโบราณสถานวัดพญามังราย ประกอบด้วย วิหารตั้งอยู่หน้าเจดีย์ หันหน้าสู่ทิศเหนือ ฐานอาคาร 1 หลัง ทางทิศตะวันตกของเจดีย์ กำแพงแก้วเฉพาะด้านทิศเหนือ และซุ้มโขงชื่อผู้ศึกษา : มิตรเมืองเก่า 2544 (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มิตรเมืองเก่า 2544 บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบรารสถานวัดพญามังราย ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 - 11 มิถุนายน 2555วัดพญามังรายเป็นโบราณสถานร้าง แต่เดิมเป็นเนินดินขนาดใหญ่คู่กับวัดพระเจ้าองค์ดำ ชื่อของโบราณสถานเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันตั้งแต่โบราณสถานยังมีสภาพเป็นเนินดิน โดยเรียกว่า เนินพญามังราย ซึ่งตั้งอยู่คู่กับเนินพระเจ้าองค์ดำ ภายหลังจากการขุดแต่ง จึงแยกออกเป็นวัดพญามังรายและวัดพระเจ้าองค์ดำ
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถานวัดพญามังราย ในปี พ.ศ. 2532 (กรมศิลปากร 2548 : 91) พบข้อมูลของโบราณสถานและโบราณวัตถุ ดังนี้
โบราณสถานวัดพญามังราย ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ ฐานอาคาร และแนวกำแพงแก้ว
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
1. วิหาร เป็นวิหารโถงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปัจจุบันปรากฏเฉพาะส่วนฐานปัทม์ที่ประดับด้วยลูกแก้วอกไก่คู่ ด้านหลังวิหารเป็นห้องประดิษฐานพระประธาน มีการสร้างฐานชุกชีเต็มพื้นที่ห้องเช่นเดียวกับวัดกู่อ้ายสี วัดกู่อ้ายหลาน วัดกู่ป้าด้อม และวัดกุมกาม เป็นต้น ถัดจากห้องนี้ มีคูหาท้ายวิหาร (คันธกุฎี) เป็นแบบเดียวกับวิหารวัดกานโถม วัดปู่เบี้ย และวัดอีค่าง เป็นต้น
พื้นของวิหารปูด้วยอิฐ มีเสาจำนวน 3 คู่ ฐานเสาทำด้วยหินแกรนิต มีบันไดหลักตรงมุมยกเก็จทางทิศตะวันตกด้านหน้าวิหาร และยังมีบันไดเล็กที่ท้ายวิหารด้านทิศตะวันตกเช่นเดียวกัน โครงสร้างหลังคาทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ
2. เจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร ปัจจุบันคงเหลอเฉพาะส่วนฐานเขียงตอนล่างในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รองรับฐานหน้ากระดานยกเก็จซ้อนกัน 2 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นชั้นฐานปัทม์ประดับด้วยลูกแก้วอกไก่ยกเก็จ ซึ่งชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับยอดซุ้มและปลายซุ้มจระนำที่พบบริเวณยอดฐานเจดีย์ มีความเป็นไปได้ว่าเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ที่เรือนธาตุประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน
3. ฐานอาคาร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารโถงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่ในบริเวณด้านทิศตะวันตกของวิหารและเจดีย์
โบราณวัตถุที่พบ
โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดขนาดต่างๆ และชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริดในศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21
นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนลายปูนปั้นเป็นจำนวนมากบริเวณฐานเจดีย์ มีชิ้นที่สำคัญได้แก่ ลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ใช้ประดับซุ้มจระนำ ซึ่งเทียบได้กับลวดลายปูนปั้นที่วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) กำหนดอายุในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 และรูปสิงห์ปูนปั้นในกรอบลูกฟัก ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับปูนปั้นประดับฐานกรอบซุ้มโขงที่วัดหัวหนอง เวียงกุมกาม มีอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21
การกำหนดอายุสมัย
จากการพิจารณารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในระยะเดียวกับวัดพระเจ้าองค์ดำ คือช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 21
กรมศิลปากร. โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2548.