โพสต์เมื่อ 17 พ.ย. 2020
ชื่ออื่น : วัดกอม่วงเขียว
ที่ตั้ง :
ตำบล : หนองผึ้ง
อำเภอ : สารภี
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.734613 N, 99.016876 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
หากมาจากเมืองเชียงใหม่ ให้ใช้ถนนเชียงใหม่ – ลำพูน (ถนนสายต้นยาง หรือทางหลวงหมายเลข 106) ประมาณ 6.3 กิโลเมตร ช่วงใน ต.หนองผึ้ง อ.สารภี วัดกอมะม่วงเขียวจะอยู่ทางซ้าย บริเวณหน้าปากทางเข้าของซอย 9
วัดกอมะม่วงเขียวเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งแล้ว นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กรมศิลปากร
วัดกอมะม่วงเขียวเป็นโบราณสถานร้าง อยู่ฝั่งตะวันออกของเวียงกุมกาม ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณริมถนนเชียงใหม่ – ลำพูน (ถนนสายต้นยาง หรือทางหลวงหมายเลข 106) บริเวณปากซอย 9 อยู่ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออกประมาณ 3.3 กิโลเมตร
พื้นที่โดยรอบเป็นร้านค้าและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ก่อนการขุดแต่ง วัดกอมะม่วงเขียวมีสภาพเป็นเนินดินและในบริเวณโบราณสถานมีตอมะม่วงขนาดใหญ่ จึงเป็นที่มาของชื่อโบราณสถาน
แม่น้ำปิง
เป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ถูกทับถมด้วยตะกอนที่เป็นทรายและหินกรวด ในสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : ช่อฟ้าก่อสร้าง (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : ขุดแต่ง
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช่อฟ้าก่อสร้าง (ผู้รับจ้าง) ขุดแต่งโบราณสถานวัดกอมะม่วงเขียว ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2546 - 18 ตุลาคม 2546 พบวิหารที่เหลือเฉพาะเพียงส่วนฐานปัทม์ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวกำแพงแก้วบางส่วนทางด้านทิศตะวันออก และอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นวิหารขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุประเภทเครื่องถ้วย และชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม ประติมากรรมชื่อผู้ศึกษา : ปุราณรักษ์ (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2547
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ์ (ผู้รับจ้าง) บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกอมะม่วงเขียว ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2547 - 16 กรกฎาคม 2547ชื่อผู้ศึกษา : กนกลักษณ์ บิลด์ดิ้ง โฮม (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด กนกลักษณ์ บิลด์ดิ้ง โฮม (ผู้รับจ้าง) บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกอมะม่วงเขียว ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 - 29 สิงหาคม 2555วัดกอมะม่วงเขียวเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของวัดกอมะม่วงเขียวนั้นไม่มีเอกสารใดกล่าวถึง โดยเป็นชื่อที่มาจากชาวบ้านเรียกต่อ ๆ กันมา เพราะแต่เดิมบริเวณเนินโบราณสถานเคยมีตอต้นมะม่วงขนาดใหญ่
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและออกแบบเพื่อการบูรณะ ในปี พ.ศ.2546 (กรมศิลปากร 2548 : 50) พบข้อมูลของโบราณสถานและโบราณวัตถุ ดังนี้
โบราณสถานวัดกอมะม่วงเขียวประกอบด้วย วิหารหันหน้าสู่ทิศตะวันออก แนวกำแพงแก้ว และอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
วิหาร สภาพปัจจุบันปรากฏเฉพาะส่วนฐานปัทม์ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จด้านหน้า 2 ตอน ด้านหลัง 1 ตอน สำหรับเป็นห้องประดิษฐานพระประธาน โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าวิหาร
แนวกำแพงแก้ว ส่วนใหญ่ได้พังทลายลงไปแล้ว คงเหลือให้เห็นเพียงบางส่วนทางทิศตะวันออก สันนิษฐานได้ว่าส่วนบนอาจมีลักษณะเป็นบัวคว่ำหรือบัวหลังเจียด
อาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบเฉพาะส่วนฐาน หันหน้าสู่ทิศตะวันออกเช่นเดียวกับวิหาร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารขนาดเล็ก
โบราณวัตถุที่พบ
สำหรับโบราณวัตถุที่สำคัญที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ ภาชนะดินเผาประเภทไห ขวดเคลือบน้ำตาลและเขียวอ่อนที่ผลิตจากแหล่งเตาสันกำแพง ชามเคลือบขาวใสจากแหล่งเตาเวียงกาหลง และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงซึ่งผลิตจากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเกียงซี (พ.ศ. 1911 – 2187) นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น เม็ดพระศกปูนปั้น กระเบื้องมุงหลังคา ตะปูปลิง สากดินเผา เป็นต้น
การกำหนดอายุสมัย
จากการพิจารณารูปแบบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานได้ว่าวัดกอมะม่วงเขียวน่าจะมีอายุการสร้างอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
กรมศิลปากร. โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2548.