โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ม.11
ตำบล : ท่าวังตาล
อำเภอ : สารภี
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.748583 N, 99.003487 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
เข้าทางซอย บ้านเสาหิน ซอย 11 ประมาณ 350 เมตร จะพบสี่แยกโดยทางด้านซ้ายจะมีทางเข้าเล็กๆ เข้าไปประมาณ 100 เมตร จะพบโบราณสถานตั้งอยู่หลังบ้านเรือนของประชาชน
วัดกุมกามหมายเลข 1 เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งแล้ว นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กรมศิลปากร
วัดกุมกามหมายเลข 1 เป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่ใกล้กับโบราณสถานวัดกุมกาม อยู่ห่างจากวัดช้างค้ำกานโถมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 100 เมตร อยู่ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออก 1 กิโลเมตร ด้านทิศเหนือของโบราณสถานติดกับลำเหมือง ปัจจุบันบริเวณโดยรอบโบราณสถาน เป็นสวนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สามารถเข้าได้ทางซอยล้านช้างค้ำ 2 และซอยเสาหิน 11
แม่น้ำปิง
เป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ถูกทับถมด้วยตะกอนที่เป็นทรายและหินกรวด ในสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545
วิธีศึกษา : ขุดแต่ง
ผลการศึกษา :
พบโบราณสถานวางผังตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันออก ประกอบด้วย วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ แนวกำแพงแก้วในด้านทิศใต้และทิศตะวันตกชื่อผู้ศึกษา : เฌอกรีน (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฌอกรีน (ผู้รับจ้าง) บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกุมกาม หมายเลข 1 ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 - 11 มิถุนายน 2555วัดกุมกามหมายเลข 1 เป็นโบราณสถานร้าง เดิมเรียกว่า โบราณสถานใกล้วัดกุมกาม เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับวัดกุมกาม แต่เนื่องจากอาจเกิดการสับสนในการเรียกชื่อ กรมศิลปากรจึงเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น วัดกุมกามหมายเลข 1
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง เมื่อ พ.ศ. 2545 (กรมศิลปากร 2548 : 53) พบข้อมูลโบราณสถานและโบราณวัตถุ ดังนี้
วัดกุมกามหมายเลข 1 วางผังตามแนวแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก ประกอบด้วยวิหารหน้าเจดีย์ และแนวกำแพงแก้วด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
1. วิหาร มีลักษณะเป็นวิหารโถง สภาพปัจจุบันคงเหลือเพียงส่วนฐานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ยกเก็จ มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าเพียงด้านเดียว ฐานวิหารก่ออิฐในลักษณะเรียบตรง ยกเว้นส่วนท้ายก่อเป็นฐานปัทม์ ท้ายวิหารมีฐานชุกชีสร้างเต็มพื้นที่ เช่นเดียวกับฐานชุกชีวัดกู่อ้ายสี วัดกู่อ้ายหลาน วัดอีค่าง วัดพญามังราย และวัดกู่ป้าด้อม นอกจากนี้ยังพบแนวอาสนะสงฆ์ตั้งอยู่ทางขวามือของพระประธานอีกด้วย สำหรับโครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ
2. เจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร ปรากฏให้เห็นเพียงส่วนฐานก่ออิฐในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น ด้านที่สมบูรณ์ที่สุดมีความสูงประมาณ 0.60 เมตร ไม่สามารถระบุรูปแบบสถาปัตยกรรมได้ นอกจากนี้ยังปรากฏแท่นบูชาบริเวณด้านหน้า และด้านหลังเจดีย์ ด้านละ 1 แท่น
โบราณวัตถุที่พบ
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด, เม็ดพระศกปูนปั้น, ภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาสันกำแพงและแหล่งเตาเวียงกาหลง รวมทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 – 2187) และโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น ตะปูจีน, กระเบื้องดินขอ, ที่บดยา และตะคันดินเผา เป็นต้น
การกำหนดอายุ
จากหลักฐานทางด้านศิลปกรรมและโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานได้ว่าวัดกุมกามหมายเลข 1 ควรสร้างขึ้นในระยะใกล้เคียงกับวัดกุมกาม ราวพุทธศตวรรษที่ 21
กรมศิลปากร. โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2548.