โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่
ตำบล : หนองหอย
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.751167 N, 99.00363 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
จากถนนมหิดล ให้เข้าทางมหิดล ซอย 6 ตรงมาตามทางระยะประมาณ 1 กิโลเมตร โบราณสถานวัดพันเลาจะอยู่ทางขวามือ
วัดพันเลาเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขุดแต่งแล้ว นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กรมศิลปากร
วัดพันเลาเป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาล บริเวณนอกเขตเมืองเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออกประมาณ 900 เมตร ภายในเขตโบราณสถานประกอบไปด้วยส่วนฐานของอาคารจำนวน 11 หลัง
สภาพแวดล้อมในปัจจุบันของวัดพันเลา ถูกแวดล้อมไปด้วยบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และสันนิษฐานว่ายังคงมีส่วนของโบราณสถานอยู่ภายในเขตพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนโดยรอบ
แม่น้ำปิง
เป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ถูกทับถมด้วยตะกอนที่เป็นทรายและหินกรวด ในสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : ช่อฟ้าก่อสร้าง (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545
วิธีศึกษา : ขุดแต่ง
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช่อฟ้าก่อสร้าง (ผู้รับจ้าง) ขุดแต่งแหล่งโบราณคดีวัดพันเลา ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 - 19 สิงหาคม 2545 พบส่วนฐานอาคารจำนวน 11 หลัง โดยมีการก่อสร้างซ้อนทับกันหลายสมัยชื่อผู้ศึกษา : ศิวกรการช่าง (บจ.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
บริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด (ผู้รับจ้าง) บูรณะโบราณสถานวัดพันเลา ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2546 - 14 พฤศจิกายน 2546ชื่อผู้ศึกษา : มิตรเมืองเก่า 2544 (หจก.)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มิตรเมืองเก่า 2544 (ผู้รับจ้าง) บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดพันเลา ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 - 11 เมษายน 2555วัดพันเลาเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของโบราณสถานมีการสันนิษฐานว่า คำว่า “พัน” อาจหมายถึงยศทางทหารหรือขุนนาง และอาจเป็นวัดที่ถูกอุปถัมภ์โดยนายทหารหรือขุนนางที่ชื่อ “เลา”
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นและขุดแต่งโบราณสถานวัดพันเลา ในปี พ.ศ. 2545 (กรมศิลปากร 2548 : 92) พบส่วนฐานอาคารจำนวน 11 หลัง โดยกำหนดให้เป็นโบราณสถานหมายเลข 1 – 11 มีลักษณะดังนี้
โบราณสถานหมายเลข 1 – 2 เป็นส่วนฐานของวิหาร
โบราณสถานหมายเลข 3 เป็นส่วนอาคารรูปตัว L กลับด้าน อาจเป็นอาคารโถง โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ
โบราณสถานหมายเลข 4 เป็นฐานอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อมุขยื่นออกไปทางทิศตะวันตก เชื่อมกับโบราณสถานหมายเลข 3
โบราณสถานหมายเลข 5, 6, 7 และ 9 มีการสร้างเชื่อมต่อกัน สันนิษฐานว่าอาจเป็นแนวกำแพงก่ออิฐ และอาจมีหลังคาคลุมหรือเปิดโล่ง
โบราณสถานหมายเลข 8 เป็นแท่นประดิษฐานพระพุทธรูป
โบราณสถานหมายเลข 10 เป็นวิหารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการยกเก็จ
โบราณสถานหมายเลข 11 เป็นส่วนฐานของอาคารที่ไม่สามารถระบุทรงได้
จากการขุดแต่งศึกษา พบว่าส่วนฐานของโบราณสถานหมายเลข 3 – 9 ตั้งอยู่บนชั้นทับถมของตะกอนทราย กลุ่มอาคารดังกล่าวน่าจะสร้างขึ้นสมัยหลัง ส่วนโบราณสถานหมายเลข 1, 2 และ 10 ส่วนฐานของอาคารอยู่ในระดับต่ำ น่าจะเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในช่วงแรก
โบราณวัตถุที่พบ
จากการขุดแต่งศึกษา พบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ เศียรพระพุทธรูป ศิลปะล้านนาพุทธศตวรรษที่ 21 ประติมากรรมปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษา ลายก้านขด หัวบันไดรูปตัวเหงา นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ชิ้นส่วนปล้องไฉน เป็นต้น
การกำหนดอายุสมัย
จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม พบว่าลักษณะของอาคารหลังหนึ่งมีแผนผังแบบเดียวกับที่วัดกู่อ้ายสี ซึ่งกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 รวมทั้งพบบ่อน้ำทางทิศเหนือแบบเดียวกับกลุ่มโบราณสถานวัดหัวหนอง รวมถึงหลักฐานโบราณวัตถุ จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานวัดพันเลาน่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
กรมศิลปากร. โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2548