โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : สระแก้ว, สระมะเขือ (เมืองศรีมโหสถ)
ที่ตั้ง : ม.1 บ้านสระมะเขือ ต.โคกปีป อ.ศรีมโหสถ
ตำบล : โคกปีบ
อำเภอ : ศรีมโหสถ
จังหวัด : ปราจีนบุรี
พิกัด DD : 13.906234 N, 101.426873 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : บางปะกง
จากตัวเมืองปราจีนบุรีระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 319 กิโลเมตรที่ 130 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3070 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร เมืองโบราณจะอยู่ทางด้านขวามือ และจะพบวัดสระมะเขือทางซ้ายมือ สระมะเขืออยู่เลยไปวัดไปประมาณ 300 เมตร อยู่ทางซ้ายมือ
กรมศิลปากร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3690 วันที่ 8 มีนาคม 2478
สระมะเขือเป็นสระน้ำโบราณ ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณศรีมโหสถ โดยอยู่ห่างออกจากคูเมืองออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร
เป็นเมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนที่ราบใกล้พื้นที่ป่าและภูเขาเตี้ยในเทือกเดียวกับดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาบรรทัด มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านพื้นที่ อยู่ป่างจากเมืองโบราณไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 16 กิโลเมตร มีคลองลำผักชีไหลผ่านเมืองโบราณทางทิศเหนือ โดยไหลไปรวมกับคลองบางพลวงที่อยู่ห่างจากเมืองโบราณไปทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร
แม่น้ำบางปะกง, คลองลำผักชี, คลองบางพลวง
สภาพพื้นที่เมืองโบราณเป็นที่ราบตะกอนตะพักลุ่มน้ำในสมัยโฮโลซีน
ส่วนธรณีวิทยาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งอยู่ในเขตภาคตะวันออก ประกอบด้วย แนวเทือกเขาเขียว-เขาชมพู่ ซึ่งมีหินแกรนิตยุคไตรเอสซิกเป็นแกนหลักของเทือกเขา แนวเทือกเขาขุนอิน-เขางวงช้าง และเขาตะเภาคว่ำ ซึ่งมีหินแกรนิตยุดคาร์บอนิเฟอรัสเป็นแกนหักของเทือกเขาวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่บ้านเพถึงหนองใหญ่ แนวเทือกเขาบริเวณอำเภอแกลง แนวเทือกเขาสอยดาว-เขามะกอก ซึ่งมีหินแกรนิตเป็นแกนหลักบริเวณอำเภอขลุงถึงอำเภอโป่งน้ำร้อน และแนวเทือกเขาสามง่าม-เขาสมิงตั้งแต่อำเภอเขาสมิงถึงอำเภอโป่งน้ำร้อน
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2509
ผลการศึกษา :
หน่วยศิลปากรที่ 5 ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2535
วิธีศึกษา : จัดการข้อมูลทางโบราณคดี
ผลการศึกษา :
หน่วยศิลปากรที่ 5 นำข้อมูลจากโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2530-2534 มาจัดทำเอกสารเผยแพร่เรื่อง “ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ” และ “ประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองศรีมโหสถ เล่ม 2”ลักษณะเป็นบ่อขุดที่เจาะลงไปในพื้นศิลาแลง ทางด้านทิศเหนือของสระมะเขือยังพบบ่อน้ำขนาดเล็กอีก 2 – 3 บ่อ จากการสำรวจของกรมศิลปากรเคยพบโกลนสิงโตทำจากศิลาแลงเป็นรูปสิงห์นั่งขึ้นรูป โดยใช้ศิลาแลง 3 ก้อนมาต่อกันขนาดความสูง 92 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าอาจเป็นแกนที่ใช้รูปปั้นเข้ามาตกแต่งอีกทีหนึ่ง เพื่อใช้เป็นประติมากรรมทวารบาลตั้งไว้เพื่อเฝ้าศาสนสถาน ปัจจุบันโกลนสิงโตได้ถูกขโมยไปแล้ว
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการ จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม ... [และคนอื่น ๆ].วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปราจีนบุรี.กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ, 2544.
บรรจบ เทียมทัด และ นิคม มูสิกะคามะ. โบราณคดีเมืองปราจีนบุรี. พระนคร : กรมศิลปากร, 2514.