โบราณสถานหมายเลข 17 เมืองศรีมโหสถ


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ชื่ออื่น : โบราณสถานหมายเลข 17 (028)

ที่ตั้ง : ม.2 บ้านโคกวัด ต.โคกปีป อ.ศรีมโหสถ

ตำบล : โคกปีบ

อำเภอ : ศรีมโหสถ

จังหวัด : ปราจีนบุรี

พิกัด DD : 13.90005 N, 101.420629 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : บางประกง

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองลำผักชี, คลองบางพลวง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวเมืองปราจีนบุรีระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 319 กิโลเมตรที่ 130 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3070 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร เมืองโบราณจะอยู่ทางด้านขวามือ โบราณสถานหมายเลข 17 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกนอกเมืองโบราณ ห่างจากคูเมืองด้านทิศตะวันออกไปประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันเป็นโบราณสถานหมดสภาพ อยู่ในสวนส้มของชาวบ้าน

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 (ฉบับพิเศษ)  ตอนที่ 220 วันที่ 24 ธันวาคม 2536

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

เป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่นอกคูเมืองด้านทิศตะวันออก ห่างจากคูเมืองประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตบ้านเรือนราษฎร

เมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนที่ราบใกล้พื้นที่ป่าและภูเขาเตี้ยในเทือกเดียวกับดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาบรรทัด มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านพื้นที่ อยู่ป่างจากเมืองโบราณไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 16 กิโลเมตร มีคลองลำผักชีไหลผ่านเมืองโบราณทางทิศเหนือ โดยไหลไปรวมกับคลองบางพลวงที่อยู่ห่างจากเมืองโบราณไปทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

20 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำบางปะกง, คลองลำผักชี, คลองบางพลวง

สภาพธรณีวิทยา

สภาพพื้นที่เมืองโบราณเป็นที่ราบตะกอนตะพักลุ่มน้ำในสมัยโฮโลซีน

ส่วนธรณีวิทยาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งอยู่ในเขตภาคตะวันออก ประกอบด้วย แนวเทือกเขาเขียว-เขาชมพู่ ซึ่งมีหินแกรนิตยุคไตรเอสซิกเป็นแกนหลักของเทือกเขา แนวเทือกเขาขุนอิน-เขางวงช้าง และเขาตะเภาคว่ำ ซึ่งมีหินแกรนิตยุดคาร์บอนิเฟอรัสเป็นแกนหักของเทือกเขาวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่บ้านเพถึงหนองใหญ่ แนวเทือกเขาบริเวณอำเภอแกลง แนวเทือกเขาสอยดาว-เขามะกอก ซึ่งมีหินแกรนิตเป็นแกนหลักบริเวณอำเภอขลุงถึงอำเภอโป่งน้ำร้อน และแนวเทือกเขาสามง่าม-เขาสมิงตั้งแต่อำเภอเขาสมิงถึงอำเภอโป่งน้ำร้อน

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 11-13

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2509

วิธีศึกษา : สำรวจ, ขุดแต่ง

ผลการศึกษา :

หน่วยศิลปากรที่ 5 ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน พบว่าเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทเจดีย์แผนผังกลม พบเสาศิลาแลงกลมไม่มีรู 3 ต้น คาดว่าเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2535

วิธีศึกษา : จัดการข้อมูลทางโบราณคดี

ผลการศึกษา :

หน่วยศิลปากรที่ 5 นำข้อมูลจากโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2530-2534 มาจัดทำเอกสารเผยแพร่เรื่อง “ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ” และ “ประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองศรีมโหสถ เล่ม 2”

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

โบราณสถานหมายเลข 17 เดิมกำหนดชื่อเป็นโบราณสถานหมายเลข 028 สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงกลม ตั้งอยู่นอกคูเมืองทางด้านทิศตะวันออก หน่วยศิลปากรที่ 5 กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งระหว่างวันที่ 26 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2509 พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ ประเภท หม้อดินเผาและไหดินเผา สมัยทวารวดี

ลักษณะเป็นฐานเจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลงแล้วใช้ดินลูกรังบดอัดตรงกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร ความสูง 3 เมตร จากการขุดศึกษาโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2509-2510 พบเสาศิลาแลงทรงกระบอกตัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 เมตร ความสูง 3 เมตร เรียงอยู่ทางด้านทิศใต้ จำนวน 3 ต้น ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวโบราณสถาน มีบ่อน้ำขนาดเล็ก ตั้งอยู่จำนวน 3 แห่ง

ปัจจุบันโบราณสถานหมดสภาพแล้ว ถูกปรับพื้นที่กลายเป็นสวนส้ม

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

จิรชฎา ตรีภาณุวรรณ

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร , สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ , ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร เล่ม 3 (พ.ศ.2534-2539) , กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร , 2540.

บรรจบ เทียมทัด และ นิคม มูสิกะคามะ. โบราณคดีเมืองปราจีนบุรี. พระนคร : กรมศิลปากร, 2514.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี