โพสต์เมื่อ 17 ม.ค. 2022
ที่ตั้ง : สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าเชิงดอยสุเทพและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ ม.3 ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่
ตำบล : สุเทพ
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.779963 N, 98.946227 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 121 (ถนนเลียบคลองชลประทานเชียงใหม่-หางดง) ฝั่งขาเข้าเมือง เลี้ยวซ้ายเพื่อไปยังสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ เมื่อถึงเขตห้ามล่าสัตว์ป่าให้ตรงไปตามทางเพื่อไปยังบ้านพักเขตอุทยานหมายเลข3-4 (มีป้ายแสดงเส้นทาง) โบราณสถานวัดกูผีบ้า (ร้าง) จะอยู่บริเวณหน้าบ้านพักหมายเลข 3-4
กรมศิลปากร, สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ
โบราณสถานวัดกู่ผีบ้า (ร้าง) ตั้งอยู่นอกตัวเมืองเชียงใหม่ด้านทิศตะวันตก โดยอยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ปัจจุบันเป็นป่าไม้บนที่ลาดเชิงดอยสุเทพด้านทิศตะวันออก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าเชิงดอยสุเทพและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ หมู่ที่ 3 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านพักเจ้าหน้าที่เขตล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ
ทิศใต้ ติดกับ พื้นที่ลาดเชิงเขา
ทิศตะวันออก ติดกับ พื้นที่ลาดเชิงเขา
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านพักของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ
แม่น้ำปิง
โบราณสถานตั้งยู่ที่ลาดเชิงเขาดอยสุเทพ ตะกอนทับถมจากตะกอนน้ำพาและตะกอนเศาหินเชิงเขา
ทิวเขาดอยสุเทพ-ปุยประกอบด้วยหินแปรหลายชนิด และหินอัคนีชนิดหินแกรนิตซึ่งชื่อทางธรณีวิทยาเรียกว่า “กลุ่มหินฐานซับซ้อน” และสันนิษฐานว่ามีอายุถึงมหายุคพรีแคมเบรียน มีอายุประมาณ 600 ล้านปีมาแล้ว หินกลุ่มนี้ ได้แก่ หินไนส์ หินชีสต์ หินแคลซิลิเกต หินอ่อนโดยมีหินแกรนิตและหินเพกมาไทต์แทรกบริเวณฐานและแก่นกลางของทิวเขามีหินควอตไซต์อายุแคมเบรียนและหินปูน อายุออร์โดวิเชียนวางซ้อนทับบริเวณทางตอนใต้ของดอยสุเทพและถ้ำบริจินดาเชิงดอยอินทนนท์
ชื่อผู้ศึกษา : สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2554
วิธีศึกษา : ขุดค้น, บูรณปฏิสังขรณ์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ทำการบูรณปฎิสังขรณ์ ขุดแต่งและขุดค้นแหล่งโบราณสถาน พบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถานหมายเลย 1 จากการขุดค้นสันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานของเจดีย์ ส่วนโบราณสถานหมายเลข 2 สันนิษฐานว่าอาจเป็นส่วนฐานของเจดีย์หรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูป กำหนดอายุโบราณสถานว่าอยู่ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาโบราณสถานกู่ผีบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกในปัจจุบัน ไม่ปรากฏที่มาและเอกสารที่กล่าวถึงวัดนี้ที่ชัดเจน ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของกรมป่าไม้บริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบริเวณที่ตั้งของกลุ่มวัดอรัญวาสีหรือวัดป่าของเมืองเชียงใหม่
สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานวัดกู่ผีบ้าในปี พ.ศ. 2554 จากการขุดแต่งและขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี ดังนี้
นอกจากนี้ในการขุดค้น ขุดแต่งยังพบโบราณวัตถุ เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาแหล่งเตาสันกำแพงและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาสมัยราชวงศ์หมิงและชิงของจีน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา
จากข้อสรุปเบื้องต้นสันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้มีอายุอยู่ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 21 (สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ 2554 : 101-103)
กรมศิลปากร. แหล่งโบราณคดีล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ วัดกู่ผีบ้า (ร้าง). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก www.gis.finearts.go.th
แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ 4 ปี (พ.ศ.2558-2561) [ออนไลน์].เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559. เข้าถึงได้จาก www.chiangmai.go.th
สรัสวดี อ๋องสกุล. ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2543.
สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่. รายงานโบราณเจดีย์กู่ผีบ้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ โดยห้างหุ้นส่วนเจติยารา คอนสตรัคชั้น. เอกสารอัดสำเนา, 2554.
สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่. โครงการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อการอนุรักษ์กลุ่มโบราณสถานวัดร้างในเขตอรัญญิกเมืองเชียงใหม่รายงานการขุดค้นขุดแต่งวัดกู่ผีบ้าร้าง ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช่างรุ่งคอนสตัคชั่น. เอกสารอัดสำเนา, 2554.