กู่เจ้าย่าสุตา


โพสต์เมื่อ 2 พ.ย. 2020

ชื่ออื่น : กู่เจ้าย่าสุตตา, ประตูขง, วัดกากแก้ว (ร้าง)

ที่ตั้ง : ถนนวังเหนือ บ้านป่าไม้ ต.เวียงเหนือ อ.เมืองลำปาง

ตำบล : เวียงเหนือ

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ลำปาง

พิกัด DD : 18.29608 N, 99.506588 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : วัง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

ตั้งอยู่ริมถนนวังเหนือ (ฝั่งด้านทิศเหนือ) ภายในเทศบาลนครลำปาง ห่างจากแยกวัดประตูต้นผึ้งไปทางทิศตะวันตกตามถนนวังเหนือไปประมาณ 190 เมตร

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

กู่เจ้าย่าสุตาเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในย่านนั้น และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยกรมศิลปากรได้ขุดแต่งแสดงฐานรากอาคารต่างๆและอนุรักษ์ซุ้มประตูโขง โดยเฉพาะประติมากรรมปูนปั้นประดับซุ้มประตู

ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันและตลอดเวลา เนื่องจากไม่มีรั้วหรือประตูปิดกั้นรอบโบราณสภาน

 

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เทศบาลนครลำปาง, กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

กู่เจ้าย่าสุตาประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 163 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2523

 

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

ปัจจุบันโบราณสถานตั้งอยู่ในตัวเมืองลำปาง ริมถนนวังเหนือ พื้นที่โบราณสถานล้อมรอบด้วยชุมชน ทิศใต้ติดกับบถนนวังเหนือ พื้นที่โบราณสถานมีการอนุรักษ์และจัดภูมิทัศน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

โบราณสถานแห่งนี้ ในอดีตตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณเขลางค์นคร ปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำวังมาทางทิศเหนือประมาณ 300 เมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งแผ่นดินที่ยาวและกว้างที่สุดในภาคเหนือ เรียกว่า “อ่างลำปาง”

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

268 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำวัง

สภาพธรณีวิทยา

ที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง เป็นส่วนหนึ่งของแอ่งแผ่นดินที่ยาวและกว้างที่สุดในภาคเหนือ เรียกว่า “อ่างลำปาง” ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านนา

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 21

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : หน่วนศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่, กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2533

วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ขุดแต่ง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณปฏิสังขรณ์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2533 เนื่องในโครงการบูรณะโบราณสถานเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

กู่เจ้าย่าสุตาเป็นซุ้มประตูทางเข้าของวัดกากแก้ว (ร้าง) อยู่ในเขตเมืองโบราณเขลางค์นคร 

ปี พ.ศ.2553 กรมศิลปากรได้ขุดค้นขุดแต่ง ทำให้เห็นแนวโบราณสถานเป็นเหนือพื้นดิน ซึ่งลึกกว่าพื้นใช้งานปัจจุบันประมาณ 1-1.5 เมตร และพบหลักฐานว่า วัดกากแก้ว (ร้าง) ก่อสร้างโดยวางผังให้หันหน้าไปทางทิศใต้ (หันหน้าออกแม่น้ำวัง) โบราณสถานประกอบไปด้วยซุ้มประตูโขง และฐานสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ เจดีย์ อุโบสถ วิหาร ทางเดินเข้าวิหาร และสิ่งก่อสร้างไม่ทราบหน้าที่ใช้งาน

ซุ้มประตูโขง เป็นซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลวดลายปูนปั้นพันธุ์พฤกษา มีรูปปูนปั้นเทวดาตรงเสาซุ้มประตู 4 รูป มีสภาพชำรุดแตกหักฐานล่างเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมย่อเก็จโครงสร้างประตูเป็นไม้ น่าจะได้รับอิทธิพลจากปูนปั้นเทวดาประดับผนังวิหารวัดเจ็ดยอด มีทางเดินเชื่อมมาจากซุ้มประตูโขงเข้าไปภายในวัด 

วิหาร มีการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์อย่างน้อย 2 สมัย มีทางเดินเชื่อมมาจากซุ้มประตูโขงเข้าไป พบเจดีย์อยู่ทางทิศเหนือ และอุโบสถอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหาร

พื้นที่ทางทิศตะวันออกของโบราณสถานไม่ได้รับการขุดแต่ง โดยเฉพาะส่วนทางทิศตะวันออกของอุโบสถ เนื่องจากมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ใต้ต้นโพธิ์ยังมีการตั้งสร้างไม้ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในย่านนี้เป็นอย่างมาก
 
กำหนดอายุจากลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูโขงและโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น สันนิษฐานว่าวัดกากแก้ว (ร้าง) สร้างขึ้นในสมัยล้านนา มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ครั้งเมื่อเมืองเขลางค์นครอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเชียงใหม่ 

 

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี