โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022
ที่ตั้ง : ม.3 ถ.ปัตตานี - นราธิวาส (42)
ตำบล : ตันหยงลุโละ
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ปัตตานี
พิกัด DD : 6.875381 N, 101.308827 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปัตตานี, ทะเลอ่าวไทย
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองกรือเซะ
จากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ถ.เพชรเกษม ช่วงปัตตานี-นราธิวาส) ไปทางตะวันออกมุ่งหน้าตำบลตันหยงลุโละ หรือมุ่งหน้ามัสยิดกรือเซะ ประมาณ 4.7 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าซอยโรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา (ตามป้ายบ้านปาเระ) ไปตามถนนประมาณ 230 เมตร พบแหล่งโบราณคดีทางขวามือ
กรมศิลปากร
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 หน้า 3690 วันที่ 8 มีนาคม 2478
สภาพเป็นพื้นที่พื้นที่โล่งและป่ารกร้าง อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) เข้ามาในซอยโรงเรียนจงรักสัตย์วิทยาประมาณ 230 เมตร
ทะเลอ่าวไทย, แม่น้ำปัตตานี, คลองกรือเซะ
ตะกอนหาดทรายปัจจุบัน (กรมทรัพยากรธรณี 2559)
เมืองปัตตานีสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาเป็นเมืองที่มีกำแพงทำด้วยไม้ซุงล้อมรอบเรียกว่า “โกตารายา” โดยมีประตูเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่ขนาดช้างเดินผ่านได้ 2 ประตู ประตูที่ 1 อยู่ที่กำแพงเมืองด้านตะวันตก มีชื่อว่า “ปินตูเกิรบัง” หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ประตูชัยฮังตูวะห์” ส่วนประตูที่ 2 อยู่ที่กำแพงเมืองด้านตะวันออก มีชื่อว่า “ปินตูฆาเยาะห์” หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ประตูช้าง” ประตูเมืองที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของประตูเมืองด้านทิศตะวันตก เดิมปรากฏไม้ประตูจมลึกอยู่ในดินสภาพผุพัง ปัจจุบันมีสภาพเป็นป่ารกร้าง (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 240)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน), 2559.
กรมศิลปากร. "ประตูเมืองปัตตานีเก่า" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ, และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.