โพสต์เมื่อ 28 ส.ค. 2023
ชื่ออื่น : วัดเจดีย์แดง, เจดีย์แดงนอก, วัดเจดีย์แดงนอก (ร้าง)
ที่ตั้ง : ชุมชนกู่เต้า ถ.ช้างเผือก
ตำบล : ช้างเผือก
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : เชียงใหม่
พิกัด DD : 18.803351 N, 98.985929 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
ตั้งอยู่ริมถนนช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ ห่างจาก ม.ราชภัฏเชียงใหม่ มาทางทิศใต้ (มุ่งหน้าคูเมืองเชียงใหม่ หรือมุ่งหน้าประตูช้างเผือก) ประมาณ 300 เมตร ตามถนนช้างเผือก จะพบโบราณสถานเจดีย์แดงอยู่ทางซ้ายมือ
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม มีป้ายให้ข้อมูลโบราณสถาน
กรมศิลปากร
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเจดีย์แดง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 65 วันที่ 22 เมษายน 2529
เจดีย์แดงเป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่ริมถนนช้างเผือก ห่างจากกำแพงเมืองเชียงใหม่ บริเวณประตูช้างเผือก ไปทางทิศเหนือประมาณ 340 เมตร ปัจจุบันได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จนอยู่ในสภาพแข็งแรง มีการปรับปรุงภูมิทัศน์และล้อมรั้วเตี้ย ๆ ไว้
ปัจจุบันโบราณสถานตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันตกประมาณ 1.8 กิโลเมตร
แม่น้ำปิง
ลักษณะภูมิประเทศของเมืองเชียงใหม่ เป็ นที่ราบเชิงเขา ลักษณะลาดเอียงจากทางตะวันตกไปตะวันออก และจากเหนือไปสู่ใต้ ระดับความลาดเทน้อยกว่าร้อยละ 2
เมืองเชียงใหม่อยู่เหนือกว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง 310 เมตร มีทำเลที่ตั้งอยูบริเวณที่ราบแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ด้านทิศตะวันออกของเชิงดอยสุเทพมีแม่น้ำปิ งไหลผ่านกลางเมืองในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วไปสู่ที่ราบด้านทิศใต้ ลักษณะดินเกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่มีความอุดมสมบูรณ์ จากทั้งแม่น้ำปิงและลำห้วยจากดอยสุเทพ
ชื่อผู้ศึกษา : สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2528
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2529
วิธีศึกษา : ประกาศขึ้นทะเบียน
ผลการศึกษา :
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : ฝ่ายส่งเสริมการศาสนาและวัฒนธรรม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2536
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนวัดร้างชื่อผู้ศึกษา : สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2535
วิธีศึกษา : ทำผัง
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ทำผังโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2561
วิธีศึกษา : สำรวจ, ทำแบบจำลอง
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ทำแบบจำลองสามมิติเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่กำแพงเมือง-แจ่งเมืองเชียงใหม่และโบราณสถานภายในเมือง รวมถึงโบราณสถานเจดีย์แดงปัจจุบันเจดีย์แดงเป็นโบราณสถานร้าง มักเรียกกันว่า "เจดีย์แดงนอก" เนื่องจากมีเจดีย์แดงในตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 400 เมตร (ในชุมชนตลาด) ไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างอื่นของวัดโบราณ เหลือเพียงเจดีย์หนึ่งองค์ที่ได้รับการบูรณะแล้ว มีการกันพื้นที่โดยรอบ ทางทิศตะวันตกติดถนนช้างเผือก ทิศเหนือติดอาคารพาณิชย์ ทิศใต้และตะวันออกติดที่ดินเอกชน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมและฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมยกเก็จสองครั้งซ้อนกันสามชั้น รับฐานบัวลูกแก้วอกไก่สองฐานที่ซ้อนกันอยู่ในฐานปัทม์ฐานเดียว เหนือขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จหนึ่งชั้นมีปูนปั้นแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยม ช่องสี่เหลี่ยมแต่ละช่องเจาะเป็นช่องตีนกา ฐานนี้รองรับฐานหน้ากระดานทรงกลมสามชั้นและมาลัยเถาซึ่งเหลือเพียงชั้นเดียว ส่วนนอกเหนือจากนั้นพังทลายไป จากลักษณะการวางตัวของเจดีย์สันนิษฐานว่าวัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ไม่ปรากฏชื่อวัดแห่งนี้ในเอกสารตำนานและพงศาวดารใด ๆ แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะลักษณะของฐานบัวลูกแก้วอกไก่สองฐานที่ซ้อนกันอยู่ในฐานปัทม์ใหญ่ สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะอยู่ในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา