โพสต์เมื่อ 13 ม.ค. 2025
ที่ตั้ง : ซ.สามัคคีแปดพัน ม.6
ตำบล : บ้านใหม่
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ปทุมธานี
พิกัด DD : 13.961156 N, 100.546229 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองบางสาน
การเดินทางจำเป็นต้องเดินเท้าเข้าสู่แหล่ง โดยจากถนนวัดเทียนดัด (เลียบคลองประปา) ให้เข้าทางถนนวัดเทียนดัด ซอย 2 ประมาณ 400 เมตร จะพบสามแยกที่ตัดกับซอยบ้านบางสานฝั่งเหนือ โดยจุดบรรจบของซอยทั้งสองนี้ จะมีทางเดินที่เป็นซอยเล็ก ๆ เดินเท้าเข้าไปราว 300 เมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายตามทางอีกประมาณ 200 เมตรก็จะพบหลุมหลบภัย
โบราณสถานได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์จากหน่วยงานและคนในท้องถิ่น ให้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์ของชุมชน และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ มีศาลานั่งพักผ่อนและป้ายให้ข้อมูลโบราณสถาน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
เทศบาลตำบลบ้านใหม่
หลุมหลบภัยตั้งอยู่ริมคลองบางสาน (ฝั่งด้านทิศเหนือของคลอง) ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา (อยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามาทางทิศตะวันออกประมาณ 700 เมตร) รายล้อมไปด้วยชุมชนและโรงงาน
ปัจจุบันโบราณสถานอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง สภาพโดยรอบได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ เนื่องจากได้รับการดูแลจากท้องถิ่นอยู่สม่ำเสมอ แต่สภาพภายในมีน้ำท่วมขัง (คาดว่ามีท่วมขังอยู่เสมอ)
แม่น้ำเจ้าพระยา, คลองบางสาน
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน จากอิทธิพลของแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อผู้ศึกษา : สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองปทุมธานี
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2531
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของโบราณสถานด้วยแบบสำรวจ ได้แก่ ชื่อโบราณสถาน ที่ตั้ง ประเภทโบราณสถาน ประวัติความสำคัญ ชื่อและที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล และภาพถ่ายหรือแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของโบราณสถาน รวมถึงที่หลุมหลบภัยแห่งนี้ชื่อผู้ศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2547
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
ผลการศึกษา :
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ (ปัจจุบันคือเทศบาลตำบลบ้านใหม่) ได้บูรณะซ่อมแซมหลุมหลบภัยและปรับปรุงบริเวณพื้นที่โดยรอบชื่อผู้ศึกษา : กลุ่มบริษัท พรีไซซ, เทศบาลตำบลบ้านใหม่
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2560
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์
ผลการศึกษา :
กลุ่มบริษัท พรีไซซ และสมาคมพนักงาน กลุ่มบริษัท พรีไซซ ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ได้เข้ามาปรับปรุงและบำรุงรักษาพื้นที่โดยรอบ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และให้เยาวชนหรือคนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และพบเห็นสถานที่จริงที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นหลบภัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามหลุมหลบภัยสร้างขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปเมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามเยอรมัน และญี่ปุ่นก็ประกาศเข้าร่วมกับเยอรมันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จากนั้นวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำกองทัพเข้าเมืองไทยทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสมุทรปราการ ตอนแรกไทยได้ทำกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานที่มั่น เพื่อเป็นทางผ่านสำหรับการขยายอำนาจไปยังพม่าและอินเดียที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สงครามที่เกิดขึ้นในเอเชียนี้เรียกกันว่า "สงครามมหาเอเชียบูรพา" เมื่อไทยเห็นว่าญี่ปุ่นมีชัยชนะและคาดว่าจะชนะสงคราม จึงได้ประกาศสงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ส่งผลให้กรุงเทพฯ เป็นเป้าหมายการโจมตีถูกทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่าง ๆ ของกองทัพญี่ปุ่น ทำให้ช่วงเวลานั้นรัฐบาลได้ออกคู่มือการป้องกันภัยทางอากาศให้กับประชาชน การเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และได้สร้างหลุมหลบภัยสาธารณะตามสถานที่ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้หลบระเบิดในครั้งนั้น ปัจจุบันในกรุงเทพ ฯ มีหลุมหลบภัยหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบันมีเพียง 2 แห่งคือ สวนสัตว์เขาดิน และเอเชียทีค (เอกชา, 2560) ส่วนที่ปทุมธานีมีอยู่ 1 แห่ง คือ ตำบลบ้านใหม่
หลุมหลบภัยที่ตำบลบ้านใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 เนื่องด้วยทหารบกได้มาตั้งค่ายทหารสื่อสารที่วัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่แถบนี้ยังมีสภาพเป็นป่า การที่ไทยตั้งค่ายในบริเวณนี้ก็เพื่อใช้เป็นที่สอดส่องควบคุมดูแลทัพญี่ปุ่น ซึ่งได้ใช้คลองรังสิตเป็นเส้นทางลำเลียงพลลงใต้และจังหวัดกาญจนบุรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้นได้มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย ทหารบกจึงได้สร้างบ้านพักและหลุมหลบภัยให้ในบริเวณป่าใกล้วัด
หลุมหลบภัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างด้วยคอนกรีต ส่วนประกอบคือที่กำบังระเบิดและตัวอุโมงค์หลบภัยที่กำบัง 2 ปีก มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากทึบปลาย ตัดขนาบ 2 ข้างอุโมงค์ ตัวอุโมงค์เป็นรูปหลังเต่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามยาวประมาณ 6 เมตร ตรงยอดมีปล่องระบายอากาศขนาด 1 ฟุต มีทางเข้า 2 ทาง จุคนได้ประมาณ 15-20 คน
สภาพปัจจุบันได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์จากหน่วยงานและคนในท้องถิ่น ให้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์ของชุมชน และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ มีศาลาที่ภายในมีนิทรรศการเล็ก ๆ บอกเล่าประวัติความเป็นมาของหลุมหลบภัยแห่งนี้ว่า “จากคำบอกเล่าของนายประสิทธิ์ ปานย้อย อดีตกำนันตำบลบ้านใหม่ พ.ต.ท.จำนง ดำนิล และ ส.อ.เชิด บุญเอื้อ ซึ่งเป็นบุคลที่อยู่ในช่วงเวลานั้น ได้ให้ข้อมูลว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้สร้างบ้านพักไว้ 2 หลัง และหลุมหลบภัย 1 แห่ง โดยขนวัสดุก่อสร้างมาทางน้ำ ใช้กำลังทหารในการก่อสร้าง ลักษณะของหลุมหลบภัยมีลักษณะแบบไข่ผ่าซีก (รูปนูนหลังเต่า) ทำด้วยก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้า-ออก 2 ทาง ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านในหลุมหลบภัยเป็นห้องโล่ง จุคนได้ 15-20 คน จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะมาพักที่บ้านพักหลังจากมีสัญญาณเตือนภัยว่าจะมีการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจุบันบ้านพักไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว คงเหลือแต่หลุมหลบภัยที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา"
"ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4. เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2561. เข้าถึงจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/index2.php.
เอกชา. "หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังเหลืออยู่" (20 ตุลาคม 2560). เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2561. เข้าถึงจาก http://www.4saleung.com/archives/5260.