Stupa
(1) แรกเริ่มมีที่มาจากเนินดินหลุมฝังศพ หรือสิ่งก่อสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของบุคคลสำคัญ เพื่อเป็นอนุสรณ์และกราบไหว้บูชา ดังนั้นสถูปจึงมีความหมายพ้องกับเจดีย์ และใช้แทนกันได้ บางครั้งพบว่าใช้ควบคู่กันว่า สถูปเจดีย์
(2) เป็นคำที่แผลงมาจากคำในภาษาบาลีและสันสกฤต ภาษาบาลีใช้คำว่า “ถูป” (Thupa) ส่วนในภาษาสันสกฤตคือ “สตูป” (Stupa) หมายถึงเนินดินหลุมฝังศพรูปครึ่งวงกลม อันเกิดจากประเพณีดั้งเดิมของชาวอินเดีย ซึ่งหลังจากฝังศพแล้วจะพูนดินไว้เหนือหลุมศพ เพื่อเป็นหลักหมายสำคัญ
(3) สิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ (คำว่า “สถูป” ใช้แทนคำว่า “เจดีย์” มาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ส่วนในประเทศไทย สมัยสุโขทัย คำว่าสถูปและเจดีย์ใช้ควบคู่กัน เป็น “สถูปเจดีย์” จนกระทั่งในปัจจุบัน แต่โดยทั่วไปนิยมคำว่าเจดีย์มากกว่าสถูป)
ที่มา :
(1) สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550 : 494.
(2) ประภัสสร์ ชูวิเชียร. 5 มหาเจดีย์สยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2554 : 6-7.
(3) สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2538 : 6.