ขุดค้นทางโบราณคดี (การ)


excavation

(1) กระบวนการหรือกรรมวิธีการเก็บข้อมูลหรือการตรวจสอบทางโบราณคดี โดยการขุดหาวัตถุหลักฐานที่มีการทับถมในชั้นดิน เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ สรุปเรื่องราว หรือการขุดค้นเพื่อตรวจสอบหรืออนุรักษ์ทางโบราณคดี

ในกรณีที่ขุดตรวจสอบศึกษาร่องรอยสถาปัตยกรรม เรียกว่า การขุดแต่งทางโบราณคดี

(2) การขุดเพื่อค้นคว้าหาความรู้จากโบราณวัตถุ โบราณสถาน โดยหลักวิชาอันประกอบด้วยการขุดอย่างพินิจพิเคราะห์และจดบันทึกรายงานอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยพฤติกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ ที่เราเรียกว่าปนระวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

(3) วิธีปฏิบัติงานขั้นตอนหนึ่งของการทำงานโบราณคดี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยและบันทึกหลักฐานทางโบราณคดีที่ทับถมอยู่ใต้ชั้นดิน โดยการขุดค้นมีอยู่หลายเทคนิค แต่ละเทคนิคมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกัน เช่น Open Area Excavation, Planum Method, Quardrant Method และ Wheeler Method

ที่มา :

(1) สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

(2) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. โบราณคดีเบื้องต้น. (นิคม มูสิกะคามะ บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2517.

(3) Timothy C. Darvill. The concise Oxford dictionary of archaeology. New York : Oxford University Press, 2002.