หน้ากาล


(Kala face, Kala)

(1) รูปหน้าสัตว์ในเทพนิทาน มองเห็นทางด้านหน้า บางครั้งเรียกว่า “เกียรติมุข” บ้างก็เรียกว่า “สิงหมุข” เพราะดูคล้ายสิงห์ มักทำประดับเหนือประตูทางเข้าอาคารหรือคูหา มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาศาสนสถาน

(2) คติเรื่องหน้ากาลและเกียรติมุขโดยสังเขป หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลา ซึ่งมีเรื่องเล่ากล่าวถึงผู้ที่กลืนกินตนเอง แม้แต่ริมฝีปากล่างของตน ดังนั้นหน้ากาลในศิลปะไทยจึงปรากฏแต่เพียงหน้า ไม่มีตัว ส่วนเกียรติมุขเกิดจากนรสิงห์ตนหนึ่งที่พระศิวะเคยประทานพรให้แล้วเกิดความทะเยอทะยาน พระองค์จึงกลับมาปราบโดยตัดเศียรแล้วนำไปประดับไว้ที่ทางเข้าศาสนสถาน เพื่อให้ลมหายใจของมันมอบพลังให้แก่ผู้ที่เข้ามายังศาสนสถาน

 

ที่มา :

(1) สันติ เล็กสุขุม. งานช่างคำช่างโบราณ : ศัพท์ช่างและข้อคิดเกี่ยวกับงานช่างศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2553 : 256.

(2) พลอยชมพู ยามะเพวัน. “พัฒนาการจากหน้ากาลมาเป็นราหูในสมัยรัตนโกสินทร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554 : 10.