ลูกปัดแก้วขี้เถ้าพืชที่มีอลูมิน่าสูง


ลูกปัดแก้วขี้เถ้ำพืชที่มีอลูมิน่าสูง (v-Na-Al) มีขี้เถ้าของพืชเป็นส่วนผสมในการผลิตแก้ว มีปริมาณของอลูมิน่า 2-6% แคลเซี่ยม 5-10% แมกนีเซียม 2-5% โซเดียม 10-17% โปแตสเซียม 2-5% ผลิตครั้งแรกในเมืองบาร่า (Bara) ประเทศปากีสถาน ประเทศอินเดียเหนือ จังหวัดซินเจียง ประเทศจีน และประเทศบังคลาเทศ ในพุทธศตวรรษที่ 4-7 และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นไป มีการผลิตกลุ่มย่อยของแก้วชนิดนี้ออกเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยที่ 1 ผลิตในบริเวณเขตแอฟริกาตอน ใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า (Sub-Saharan Africa) กลุ่มย่อยที่ 2 พบว่านำมาผลิตเป็นแจกันในหมู่เกาะ สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และในประเทศเคนยา

ที่มา :

ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย." ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.