โพสต์เมื่อ 18 มิ.ย. 2021
ชื่ออื่น : เขางู
ที่ตั้ง : ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี
ตำบล : เกาะพลับพลา
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ราชบุรี
พิกัด DD : 13.574289 N, 99.772916 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองหนองใหญ่
ใช้ทางหลวงหมายเลข3087 (สายราชบุรี-จอมบึง-สวนผึ้ง) จากตัวจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8กิโลเมตร เมื่อพบสามแยกก็เลี้ยวขวาแล้วไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบอุทยานหินเขางูและสวนสาธารณะอยู่ด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างสวนสาธารณะเขางู ไปตามถนนอีกประมาณ 630 เมตร จะพบทางขึ้นสู่ถ้ำจีนอยู่ด้านขวามือ
เทศบาลตำบลเขางู, กรมศิลปากร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 174หน้า 3776วันที่ 15 ตุลาคม 2517
เป็นถ้ำหนึ่งในเทือกเขางู ซึ่งเป็นเขาหินปูน บริเวณที่เรียกว่าเขาลาดกล้วย อยู่ห่างจากถ้ำฤๅษีไปทางทิศตะวันตกประมาณ 470เมตร ตัวถ้ำอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 60 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 15 เมตร สูงประมาณ 20 เมตร หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
เดิมพื้นถ้ำปูด้วยอิฐ แต่ปัจจุบันถูกขุดไปทั้งบริเวณ พื้นจึงเต็มไปด้วยเศษอิฐ นอกจากนั้นยังมีการทำบันไดซีเมนต์จากเชิงเขาขึ้นสู่ปากถ้ำ และเทพื้นซีเมนต์บริเวณหน้าถ้ำ
แม่น้ำแม่กลอง อยู่ห่างจากเทือกเขางูไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.3 กิโลเมตร มีคลองหนองใหญ่ อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.1 กิโลเมตร
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2517
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
แผนกสำรวจ กองโบราณคดี กรมศิลปากร สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่, อรพินธุ์ การุณจิตต์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2538 สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่ และอรพินธุ์ การุณจิตต์ สำรวจแหล่งโบราณคดีในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งแหล่งโบราณคดีเทือกเขางู ทั้งถ้ำฤๅษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ เพื่อจัดทำทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2ผนังถ้ำด้านทิศตะวันออก มีภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูป 2 องค์ สมัยทวารวดี โดยองค์ด้านในเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางแสดงธรรมเทศนา องค์ด้านนอกเหลือเพียงครึ่งองค์ลักษณะคล้ายกับองค์แรก สันนิษฐานว่าเดิมคงจะสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-14) แต่ต่อมาถูกดัดแปลงโดยพอกทับด้วยปูนปั้นในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22-23) นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก
Jean Boisselier มีความเห็นว่า ผนังด้านซ้าย (ด้านทิศตะวันออก) เดิมประดับด้วยพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทขนาดใหญ่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงด้วยการสลักและปั้นปูนเพิ่มเติมใหม่ในสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ ต่อจากพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ ปางแสดงธรรมด้วยพระหัตถ์ขวา ซึ่งมีการตกแต่งเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาเช่นเดียวกัน (เบญจมาศ ศิริฤกษ์ และคณะ 2533: 12)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ วิชั่น เซอร์วิส จำกัด, 2551.
กรมศิลปากร. ราชบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534.
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร. คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง.กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, 2541.
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2538.
เกสรา จาติกวนิช. “พุทธประวัติในประติมากรรมทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, 68-71. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. “ศิลปะทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 39-43.สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.
เด่นโชค มั่นใจ. สภาพทางธรณีวิทยาและการสำรวจความมั่นคงของหน้าผาหินบริเวณเขางู ตำบลเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2550.
เบญจมาศ ศิริฤกษ์, ธรารีย์ ภัทโรดม, และพัชระ เลื่อนผลเจริญชัย. “เขางู แผนการพัฒนาและอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อการท่องเที่ยว.”เอกสารประกอบการสัมมนาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
พิริยะ ไกรฤกษ์. ทวารวดีและศรีวิชัยในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 25--?.
พิริยะ ไกรฤกษ์. ประติมากรรมสมัยทวารวดีที่เขางู. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2518.
พิริยะ ไกรฤกษ์. รากเหง้าแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2553.
พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2544.
ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2542.
ยอร์ช เซเดส์. “หลักที่ 22 จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2: จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย, 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472.
ยอร์ช เซเดส์. “จารึกที่ 22 จารึกในถ้ำฤษี เขางู.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2: จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie: inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo, 20.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2504.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมสมัยทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 35-38. สุพรรณบุรี: สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2547.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภรณพิพรรฒธนากร, 2469.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. “วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี.” วารสารโบราณคดี 5, 2 (ตุลาคม 2516): 195-207.
de Lajononquiere, M.L. “Le domaine archaéologique de l'Indochine.” Bulletin de la archaéologiue de l'Indochine(1909), 188-262.
de Lajononquiere, M.L. “Essai d'inventaire archaéologique du Siam.” Bulletin de la archaeologiue de l'Indochine (1911-1912), 19-181.