แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 28 ผลลัพธ์

โคกพลับ

ตั้งอยู่  ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี  ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ

อ่านเพิ่มเติม

ไร่จรัลเพ็ญ

ตั้งอยู่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญคือ ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไลหิน เศษภาชนะดินเผาลายขูดขีดและลายเชือกทาบ

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำจาม เขางู

ถ้ำจาม ตั้งอยู่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในถ้ำมีภาพศิลปกรรมสมัยทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) บนผนังทุกด้าน โดยเฉพาะภาพตอนเสด็จสู่ปรินิพพาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำจีน เขางู

ถ้ำจีน ตั้งอยู่ในเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี พบภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูป 2 องค์ สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-14) แต่ต่อมาถูกดัดแปลงโดยพอกทับด้วยปูนปั้นในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22-23) นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงสมัยอยุธยาเป็นจำนวนมาก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฝาโถ เขางู

ตั้งอยู่ที่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-12 รายล้อมไปด้วยภาพปูนปั้นลายเทพชุมนุมที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง คือสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฤๅษี เขางู

เป็นหนึ่งในถ้ำของเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ในคูหาใหญ่ (หรือเรียกกันว่าถ้ำฤๅษี) ที่ผนังถ้ำมีภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดี สูงประมาณ 2.5 เมตร พระหัตถ์ขวาแสดงปางแสดงธรรมเทศนา (วิตรรกะมุทรา) ระหว่างข้อพระบาททั้ง 2 ข้าง มีจารึกอักษรปัลลวะตอนปลาย ภาษาสันสกฤต รูปแบบอักษรเป็นแบบที่นิยมใช้ในอินเดียใต้ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12

อ่านเพิ่มเติม

เทือกเขางู

ตั้งอยู่ ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในเทือกเขางูมีถ้ำหินปูนจำนวนมาก ถ้ำเหล่านี้ถูกใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 จนกระทั่งปัจจุบัน แหล่งโบราณคดีสำคัญ ได้แก่ ถ้ำฤๅษี ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำระฆัง ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีและสมัยอยุธยา  รอยพระพุทธบาทสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานบนยอดเขางู รวมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ๑๑๘ จปร. ที่สลักอยู่บริเวณปากถ้ำระฆังหรือถ้ำค้างคาว 

อ่านเพิ่มเติม

เมืองคูบัว

เมืองคูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ แผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน พบหลักฐานของการอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และศาสนสถานจำนวนมาก

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 1 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์สมัยยทวารวดี ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียงเฉพาะส่วนฐานเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐ การขุดแต่งในปี พ.ศ.2504 พบผอบเงินที่ตอนกลางขององค์เจดีย์ ภายในเป็นผอบทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 องค์

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 10 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัวด้านทิศตะวันตก ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ขุดค้นพบประติมากรรมปูนปั้นที่นับว่ามีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้คนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ภาพบุคคลถูกมัดมือติดกันหรือภาพนักโทษ ภาพกลุ่มสตรีกำลังเล่นดนตรี ภาพเทวดา และภาพสตรี 2 คน (เจ้านายกับบ่าว) เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 40 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ก่ออิฐสมัยทวารวดี โดยรอบพบโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินเผามากกว่าโบราณสถานแห่งอื่นๆ ในเมืองคูบัว ทั้งชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เศียรยักษ์ ศีรษะคนต่างชาติ (แขก) หัวสิงโต ลวดลายประดับสถูป เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 44 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่ทิศใต้นอกเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานของเจดีย์สมัยทวารวดี ที่มีการทำฐานยกเก็จหรือยกกระเปาะ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น "กาลัน" ในศิลปะจาม “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานหมายเลข 8 เมืองคูบัว

ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี เป็นเจดีย์ที่มีการยกเก็จขึ้นที่มุมทั้งสี่ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น "กาลัน" ในศิลปะจาม “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร

อ่านเพิ่มเติม

เขายี่สาร

วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ ม.1 บ้านเขายี่สาร ต.เขายี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ เป็นวัดและโบราณสถานบนเขาเพียงแห่งเดียวของ จ.สมุทรสงคราม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลปะของท้องถิ่น ทั้งสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนตาเพชร

ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม

หลุมขุดค้นนอกกำแพงเมืองสิงห์

หลุมขุดค้นอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำแควน้อย บริเวณเหนือคุ้งน้ำ นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ของเมืองสิงห์ หรืออยู่ระหว่างกำแพงเมืองกับแม่น้ำแควน้อย

อ่านเพิ่มเติม

เจดีย์วัดรางจั่น

ม.11 บ้านรางจั่น ต.หนองขาว (เทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

อ่านเพิ่มเติม

วัดโบสถ์ (ร้าง)

ม.1 บ้านหนองขาว ต.หนองขาว (เทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

อ่านเพิ่มเติม

บ้านหมอสอ

ม.8 บ้านหมอสอ ต.พระแท่น (เทศบาลตำบลพระแท่นลำพระยา) อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

อ่านเพิ่มเติม

วัดชัยมงคล

ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2466 โดยมีนายคำ-นางแกละ ปัญญารัตน์ เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด และชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิขึ้น เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และได้อาราธนาพระเปลี่ยน กนฺตสีโล จากวัดคลองครุมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เดิมชื่อว่าวัดหัวตะเข้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดชัยมงคล

อ่านเพิ่มเติม