โพสต์เมื่อ 7 เม.ย. 2022
ชื่ออื่น : วัดหัวตะเข้
ที่ตั้ง : ม.3
ตำบล : ชัยมงคล
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สมุทรสาคร
พิกัด DD : 13.559468 N, 100.156582 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง, ท่าจีน
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองสุนัขหอน, คลองลาดตะเคียน, คลองจางวางเชย, คลองรางเชิงหวาย, คลองตาขำ
จากถนนพระราม 2 มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่อำเภอบ้านแพ้ว โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3097 มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านแพ้ว ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร กลับรถย้อนกลับมาทางเดิมประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเลียบคลองหัวตะเข้มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร เลี้ยวขวาข้ามสะพานข้ามคลองจางวางเชย วัดตั้งอยู่ด้านหน้า
เป็นพุทธศาสนสถานที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, วัดชัยมงคล
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ วัดล้อมรอบไปด้วยคลองธรรมชาติ และบ่อเลี้ยงปลา ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกติดที่เอกชนซึ่งทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา ด้านทิศใต้ติดคลองลาดตะเคียน ทิศตะวันตกติดคลองจางวางเชย มีเนื้อที่ตั้งวัด 30 ไร่ 1 งาน เป็นที่ธรณีสงฆ์ 22 ไร่ 2 งาน
คลองลาดตะเคียน, คลองจางวางเชย, คลองรางเชิงหวาย, คลองตาขำ, คลองสุนับหอน, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง
ดินชุดสมุทรปราการ พบในที่ราบชายฝั่งทะเลถัดจากดินชุดท่าจีนเข้ามา ลักษณะเป็นดินเลน เนื้อดินเหนียวและเค็ม เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง แต่เป็นดินเค็มไม่สามารถปลูกข้าวได้ ส่วนใหญ่ใช้ขุดบ่อเลี้ยงปลา หรือยกร่องปลูกมะพร้าว (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2543 : 3)
วัดชัยมงคล เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2466 โดยมีนายคำ-นางแกละ ปัญญารัตน์ เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด และชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิขึ้น เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และได้อาราธนาพระเปลี่ยน กนฺตสีโล จากวัดคลองครุมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เดิมชื่อว่าวัดหัวตะเข้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดชัยมงคล รายนามเจ้าอาวาสที่มาปกครองได้แก่
รูปที่ 1 พระครูสาครสีลาจารย์ พ.ศ.2466-2519
รูปที่ 2 พระครูสาครมงคลชัย พ.ศ.2519-2549
รูปที่ 3 พระครูพิพัฒน์ชัยมงคล พ.ศ.2549-ปัจจุบัน
อาคารเสนาสนะในวัดที่สำคัญ ได้แก่
- อุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์
- ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปีพ.ศ.2555 เป็นอาคารไม้ทรงไทย ยกพื้นสูง
- มณฑป สร้างเมื่อปีพ.ศ.2537 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์
- วิหาร สร้างเมื่อปีพ.ศ.2554 เป็นอาคารไม้ทรงไทย ไม้ที่นำมาสร้างวิหารเป็นไม้ของอุโบสถเก่า
- หอสวดมนต์ หอฉัน กุฏิสงฆ์ สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ.2553 เป็นอาคารไม้ทรงไทย
- หอกลอง หอระฆัง สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2546 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงยอดปราสาท
- ศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2548 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- เมรุ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2529 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์
- ศาลาครอบพระ สร้างเมื่อปีพ.ศ.2556 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เปิดโล่งทั้ง 4 ด้าน ภายในประดิษฐานพระสังกัจจายย์
กองพุทธศาสนสถาน กรมศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2545.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2543.
ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด. เอกสารโรเนียว. จัดเก็บอยู่ในสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี, ม.ป.ป.