ตั้งอยู่ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ
ตั้งอยู่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญคือ ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไลหิน เศษภาชนะดินเผาลายขูดขีดและลายเชือกทาบ
ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง
พบอยู่ที่บริเวณนากุ้ง ด้านหลังวัดวิสุทธิวราวาส (วัดกลางคลอง) ม.6 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร เป็นเรือไม้ขนาดใหญ่ อายุราว 1,300-1,200 ปีก่อน รวมทั้งโบราณวัตถุต่างๆภายในเรือ นับว่าเป็นเรือที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบในประเทศไทย และยังเป็นการค้นพบภาชนะดินเผาแบบ Torpedo Jar เป็นครั้งแรกในพื้นที่ประเทศไทยอีกด้วย
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม เลขที่ 5 ม.10 ซอยปล่องเหลี่ยม 7 บ้านปล่องเหลี่ยม ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร "ปล่องเหลี่ยม" เดิมเป็นปล่องไฟของโรงงานน้ำตาล ซึ่งในอดีตเรียกกันว่า “โรงหีบนครชัยศรี” ของบริษัทน้ำตาลอินโดจีน ประเทศอังกฤษ สร้างเมื่อ พ.ศ.2413 มีนายจอห์น คอสเตเกอร์ เป็นผู้จัดการทั่วไป นาย จี.เอฟ.ฮิกส์ เป็นผู้จัดการโรงงาน
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างวัดกลางอ่างแก้วที่แน่ชัด จากเอกสารประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2410 โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ อุโบสถเก่า ลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านข้างและด้านหลังมีชายคาปีกนก รองรับโครงหลังคาด้วยเสาไม้กลม ด้านหน้ามีมุขยื่นออกมา 1 ห้อง ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้น หน้าบันด้านหน้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หน้าบันหลังคา กับหน้าบันมุขด้านหน้า ตกแต่งด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา
ต.บางหญ้าแพรก อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2435 โดยมีนายเฉย เป็นผู้ถวายที่ดิน ตั้งเป็นสำนักสงฆ์อยู่ได้ประมาณ 20 ปี ก็ร้างไป ต่อมาในปี พ.ศ.2464 ได้มีนายศุกร์-นางเรียง ช้างสีนวล ได้สร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ และนิมนต์พระปูมาเป็นเจ้าอาวาส
ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ในเอกสารประวัติวัดจังหวัดสมุทรสาคร ระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2430 อาคารเสนาสนะ ส่วนใหญ่มีการปรับปรุงซ่อมแซมเป็นอาคารสมัยใหม่ ยังคงเหลือศาลาการเปรียญหลังเก่าและกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ
ต.โคกขาม อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2222 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีหลักฐานสำคัญประกอบด้วย พระอุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลาย พระเจดีย์ และหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์คล้ายกับพระพุทธสิหิงค์ ที่ฐานมีจารึกระบุปีศักราช 2232
ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร วัดเจษฎารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เดิมเคยเป็นพื้นที่วัดร้างมาก่อน โดยมีเนินดินอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของอุโบสถเก่า ปัจจุบันได้ปรับพื้นเป็นที่ราบไปหมดแล้ว จนกระทั่งได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี 2401
ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2466 โดยมีนายคำ-นางแกละ ปัญญารัตน์ เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด และชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิขึ้น เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และได้อาราธนาพระเปลี่ยน กนฺตสีโล จากวัดคลองครุมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เดิมชื่อว่าวัดหัวตะเข้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดชัยมงคล
ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2230 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดคงคาราม” โบราณสถานสำคัญได้แก่ อุโบสถ วิหาร และเจดีย์
ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตามเอกสารประวัติวัดระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ.2460 เดิมเรียกว่าวัดท่าหิน เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีถนน เวลาปลูกบ้านชาวบ้านจะบรรทุกหินทรายมาไว้ที่หน้าวัด แล้วจึงค่อยทยอยขนไป ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดน่วมกานนท์ ตามชื่อและนามสกุลของผู้ถวายที่ดินให้วัด คือ นายตั๋ง(น่วม) กานนท์ เดิมเป็นวัดเล็กๆ ชำรุดทรุดโทรม หลังคามุงจาก ปัจจุบันวัดได้รับการบูรณะและสร้างเสนาสนะขึ้นมาใหม่แทบทั้งสิ้น
ต.บางกระเจ้า อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร วัดบางกระเจ้า ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2338 อาคารเสนาสนะสำคัญคือ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2467
ต.มหาชัย (เทศบาลนครสมุทรสาคร) อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ติดกับป้อมวิเชียรโชฎก ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัดว่าสร้างสมัยใด เชื่อกันว่าเริ่มสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2323 โดยชุมชนชาวรามัญ หรือสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 พร้อมกับป้้อมวิเชียรโชฎก