โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : เลขที่ 1 บ้านนาโคก ม.2 ต.นาโคก อ.เมืองสมุทรสาคร
ตำบล : นาโคก
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สมุทรสาคร
พิกัด DD : 13.475879 N, 100.104444 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง, ท่าจีน, สุนัขหอน
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองนาขวาง, คลองนาโคก
จากถนนพระราม 2 (ธนบุรี - ปากท่อ) บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายขับตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร วัดนาโคกตั้งอยู่ทางซ้ายมือ
เป็นพุทธศาสนสถานที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีงานประจำปีปิดทองหลวงพ่อสัมฤทธิ์วัดนาโคก ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, วัดนาโคก
สภาพพื้นที่เป็นราบลุ่มริมชายฝั่งทะเล วัดล้อมรอบไปด้วยนาเกลือ ด้านทิศเหนือติดกับที่เอกชน ทิศใต้ติดกับคลองนาขวาง (ซึ่งจะไปเชื่อมกับคลองสุนัขหอนที่อยู่ห่างจากออกไปทางทิศตะวันออกของวัดประมาณ 3.8 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกติดกับที่เอกชน ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำท่าจีน มีเนื้อที่ตั้งวัด 21 ไร่ ห่างจากคลองนาโคกมาทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร
คลองนาขวาง, คลองนาโคก, คลองสุนัขหอน, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง
ดินชุดท่าจีน เป็นดินเค็มชายฝั่งทะเล ลักษณะเป็นดินเลน เนื้อดินเหนียวและเค็มจัด เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่เป็นดินเค็มเพราะน้ำทะเลท่วมถึง และระดับน้ำใต้ดินขึ้นมาสูงเกือบถึงหน้าดินตลอดปี (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2543 : 3)
วัดนาโคก เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่มีประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัด สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2420 (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 34) แต่เดิมสภาพเหมือนกุฏิสงฆ์ที่มุงด้วยใบจาก ต่อมาเมื่อสมัยพระครูสาครธรรมคุณ เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดในช่วง พ.ศ.2492-2539 ท่านได้พัฒนาปรับปรุงก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างๆ ขึ้นมาใหม่จำนวนหลายสิ่ง เช่น ศาลาการเปรียญ ศาลาเอนกประสงค์
พระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2460 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานอุโบสถ และพระพุทธรูปยืนสำริดปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านบริเวณให้ความเคารพนับถือกราบไว้เป็นอย่างมาก ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ทางวัดจะมีงานประจำปีปิดทองหลวงพ่อสัมฤทธิ์
กองพุทธศาสนสถาน กรมศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2545.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2543.
ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด. เอกสารโรเนียว. จัดเก็บอยู่ในสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี, ม.ป.ป.