แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 195 ผลลัพธ์

ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย

ตั้งอยู่ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อยู่ชิดริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างพร้อมป้อมปิศาจสิง ป้อมราหูจร และป้อมฝั่งตะวันตกอีก 5 ป้อม เพื่อประจำเมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของสยามตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฝาโถ เขางู

ตั้งอยู่ที่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-12 รายล้อมไปด้วยภาพปูนปั้นลายเทพชุมนุมที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง คือสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

เทือกเขางู

ตั้งอยู่ ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในเทือกเขางูมีถ้ำหินปูนจำนวนมาก ถ้ำเหล่านี้ถูกใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 จนกระทั่งปัจจุบัน แหล่งโบราณคดีสำคัญ ได้แก่ ถ้ำฤๅษี ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำระฆัง ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีและสมัยอยุธยา  รอยพระพุทธบาทสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานบนยอดเขางู รวมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ๑๑๘ จปร. ที่สลักอยู่บริเวณปากถ้ำระฆังหรือถ้ำค้างคาว 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านเขากระจิว

ตั้งอยู่ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนการก่อตั้งวัดเขากระจิวในสมัยรัตนโกสินทร์ บนยอดเขากระจิวมีเจดีย์อยู่ 1 องค์ และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ซึ่งเจดีย์องค์เดิมอาจเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี เนื่องจากมีร่องรอยซากโบราณสถานและแนวถนนโบราณที่ปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ เชื่อมต่อจากเนินเขาไปยังเนินโบราณสถานสมัยทวารวดีที่อยู่หลังโรงเรียนวัดเขากระจิว

อ่านเพิ่มเติม

บ้านใหม่

ตั้งอยู่ ม.4 บ้านใหม่ ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-16 มีร่องรอยเนินอิฐและกองอิฐหลายแห่ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นร่องรอยของศาสนสถานก่ออิฐสมัยทวารวดี 

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระสมุทรเจดีย์

ตั้งอยู่ ต.ปากคลองบางปลากด อ.เมืองสมุทรปราการ เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 และสร้างสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นปูชนียสถานสำคัญมากแห่งหนึ่งของสมุทรปราการ เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เมือ พ.ศ.1926 ภายในวัดมีสิ่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หลวงพ่องาม และหลวงพ่อเพชรมีชัย

อ่านเพิ่มเติม

เขายี่สาร

วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ ม.1 บ้านเขายี่สาร ต.เขายี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ เป็นวัดและโบราณสถานบนเขาเพียงแห่งเดียวของ จ.สมุทรสงคราม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลปะของท้องถิ่น ทั้งสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม

อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุมุจลินทร์

ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร วัดมุจลินทรารามสร้างขึ้นในปี 2340 ในบริเวณ ต.ทุ่งตะไคร ต่อมาในปี 2496 จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ ต.ช่องไม้แก้ว ห่างจากบริเวณเดิมไป 700 เมตร ส่วนที่ตั้งวัดเดิมเหลือเพียง "พระธาตุมุจลินทร์" ชาวบ้านเรียก “พ่อท่านในกุฎิ” และกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดมุจลินทรารามในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

วัดโคกมะเฟือง

วัดพุทธสำคัญใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2417 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถและกุฏิเจ้าอาวาส ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝากผนังตกแต่งอาคารแบบท้องถิ่นที่งดงาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดชลธาราสิงเห

วัดพุทธที่สำคัญของ จ.นราธิวาส สร้างขึ้นราว พ.ศ.2403 นอกจากจะมีความโดดเด่นของศิลปกรรมท้องถิ่นภายในวัดแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างมากด้านประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการปักปันเขตแดนกับอังกฤษ จนได้ชื่อว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเพิง

ม.5 บ้านทุ่งไพล ต.คูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขายะลา

เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม

เขาสามแก้ว

ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณไชยา

อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

วัดพระบรมธาตุไชยา

ม.3 ต.เวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

ปากจั่น

ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก  สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาถ้ำลอด

ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นของล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24

อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุ, วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ม.3 ต.ทุ่งยั้ง (เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง) อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง คงสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระยาลิไท ราวปี พ.ศ.1902 ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าแดด หลักที่ 9 ส่วนคำว่าทุ่งยั้ง มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยับยั้งที่เมืองนี้

อ่านเพิ่มเติม