โพสต์เมื่อ 18 มิ.ย. 2021
ชื่ออื่น : เขางู
ที่ตั้ง : ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี
ตำบล : เกาะพลับพลา
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ราชบุรี
พิกัด DD : 13.575687 N, 99.774969 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองหนองใหญ่
ใช้ทางหลวงหมายเลข3087 (สายราชบุรี-จอมบึง-สวนผึ้ง) จากตัวจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8กิโลเมตร เมื่อพบสามแยกก็เลี้ยวขวาแล้วไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบอุทยานหินเขางูและสวนสาธารณะอยู่ด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างสวนสาธารณะเขางู ไปอีกประมาณ 370 เมตร จะพบทางขึ้นสู่ถ้ำฝาโถอยู่ด้านขวามือ
เทศบาลตำบลเขางู, กรมศิลปากร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 174หน้า 3776วันที่ 15 ตุลาคม 2517
เป็นถ้ำหนึ่งในเทือกเขางู ซึ่งเป็นเขาหินปูน บริเวณที่เรียกว่าเขาลาดกล้วย อยู่ห่างจากถ้ำฤๅษีไปทางทิศตะวันตกประมาณ 260เมตร ตัวถ้ำอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 75 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 6.5 เมตร หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถ้ำลึกประมาณ25.3 เมตร
ปัจจุบัน มีการทำบันไดซีเมนต์จากเชิงเขาขึ้นสู่ปากถ้ำ และเทพื้นซีเมนต์บริเวณหน้าถ้ำรวมทั้งภายในถ้ำ นอกจากนั้นยังทำแท่นบูชาพระพุทธรูปภายในถ้ำด้วยซีเมนต์
แม่น้ำแม่กลอง อยู่ห่างจากเทือกเขางูไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.3 กิโลเมตร มีคลองหนองใหญ่ อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.1 กิโลเมตร
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2517
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
แผนกสำรวจ กองโบราณคดี กรมศิลปากร สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่, อรพินธุ์ การุณจิตต์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2538 สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่ และอรพินธุ์ การุณจิตต์ สำรวจแหล่งโบราณคดีในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งแหล่งโบราณคดีเทือกเขางู ทั้งถ้ำฤๅษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ เพื่อจัดทำทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ (ยาว 8.75 เมตร สูง 1.85 เมตร) สมัยทวารวดี หันพระเศียรไปทางปากถ้ำ หลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นแผ่นกลม เหนือประภามณฑลขึ้นไปเป็นภาพปูนปั้นรูปเทพชุมนุมและต้นไม้ ภาพต้นไม้ตกแต่งด้วยผ้าแขวนห้อยชายและรัดลำต้นด้วยวงแหวนประดับอุบะ ลักษณะของใบไม้เป็นแบบเดียวกัน คือ ใบสาละ จึงหมายถึงตอนเสด็จสู่ปรินิพพาน ซึ่งแวดล้อมด้วยเทพชุมนุม 7 องค์ องค์แรกถือดอกบัว องค์ที่ 2 เป็นรูปเทพพนม องค์ที่ 3 ถือพวงมาลัย ส่วนองค์ที่ 4-7 เหลือแต่เศียร
ส่วนผนังถ้ำทางด้านทิศเหนือมีภาพพระสาวกจำนวน 4 องค์ มีบุคคลหนึ่งที่แสดงอาการเคลื่อนไหวแบบการเดินหรือเหาะ พระหัตถ์ไขว้กันแนบพระอุระ ซึ่งเป็นท่าแสดงความเคารพ (สวัสดิกะมุทรา) ซึ่งการไขว้พระหัตถ์แบบนี้เหมือนกับพระนารายณ์ที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และเหมือนกับพระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรที่วิหารคัล ศิลปะสมัยโปลนนารุวะของศรีลังกา ซึ่งสังเกตได้ว่ามีพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547: 204)
การแสดงพระพุทธรูปนอนหันพระเศียรออกไปทางปากถ้ำ และมีเทพชุมนุมอยู่เหนือพระพุทธรูปนั้น ใกล้เคียงกันมากกับภาพในถ้ำหมายเลข 26 ที่อชันตา ประเทศอินเดีย ภาพในถ้ำหมายเลข 26 ที่อชันตา ประเทศอินเดีย (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547: 204;พิริยะ ไกรฤกษ์ 2553) ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 11 (พิริยะ ไกรฤกษ์ 2553) หรือพุทธศตวรรษที่12 (กองโบราณคดี กรมศิลปากร 2538) อย่างไรก็ตามในส่วนของเทพชุมนุมที่เป็นปูนปั้นนั้น อาจมาทำเพิ่มเติมขึ้นภายหลังในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ก็ได้ โดยพิจารณาจากรูปแบบศิลปกรรม (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547: 204) และอาจแสดงให้เห็นว่านิกายเถรวาทของทวารวดีได้รับเอาประติมานิรมาณวิทยาของลัทธิมหายานเช่นที่อชันตามาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับคตินิยมของตน ที่มีอายุอยู่ในช่วงครี่งหลังพุทธศตวรรษที่ 13 (พิริยะ ไกรฤกษ์ 2553)
นอกจากนี้ ภายในถ้ำยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสีแดงจำนวนมาก ส่วนบริเวณปากถ้ำมีร่องรอยของโครงหลังคามุงกระเบื้องดินเผาและแนวกำแพงก่ออิฐถือปูน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโบราณวัตถุและสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ วิชั่น เซอร์วิส จำกัด, 2551.
กรมศิลปากร. ราชบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534.
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร. คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง.กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, 2541.
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2538.
เกสรา จาติกวนิช. “พุทธประวัติในประติมากรรมทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, 68-71. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. “ศิลปะทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 39-43.สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.
เด่นโชค มั่นใจ. สภาพทางธรณีวิทยาและการสำรวจความมั่นคงของหน้าผาหินบริเวณเขางู ตำบลเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2550.
พิริยะ ไกรฤกษ์. ทวารวดีและศรีวิชัยในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 25--?.
พิริยะ ไกรฤกษ์. รากเหง้าแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2553.
พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2544.
ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2542.
ยอร์ช เซเดส์. “หลักที่ 22 จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2: จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย, 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472.
ยอร์ช เซเดส์. “จารึกที่ 22 จารึกในถ้ำฤษี เขางู.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2: จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie: inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo, 20.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2504.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมสมัยทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 35-38. สุพรรณบุรี: สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2547.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภรณพิพรรฒธนากร, 2469.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. “วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี.” วารสารโบราณคดี 5, 2 (ตุลาคม 2516): 195-207.
de Lajononquiere, M.L. “Le domaine archaéologique de l'Indochine.” Bulletin de la archaéologiue de l'Indochine(1909), 188-262.
de Lajononquiere, M.L. “Essai d'inventaire archaéologique du Siam.” Bulletin de la archaeologiue de l'Indochine (1911-1912), 19-181.