โพสต์เมื่อ 8 ส.ค. 2021
ชื่ออื่น : พระสมุทรเจดีย์, วัดเจดีย์กลางน้ำ, พระเจดีย์กลางน้ำ
ที่ตั้ง : 114 ม.3 บ้านเจดีย์ ถ.สุขสวัสดิ์
ตำบล : ปากคลองบางปลากด
อำเภอ : พระสมุทรเจดีย์
จังหวัด : สมุทรปราการ
พิกัด DD : 13.600301 N, 100.586829 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
จากอำเภอพระประแดงเข้าทางหลวงสาย 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ไปบรรจบกับทางหลวง 3105 ไปตามทางจนสุดทาง วัดตั้งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
สามารถเข้านมัสการและเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลา 7.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประจำปีของจังหวัดสมุทรปราการ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11
วัดพระสมุทรเจดีย์
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 (ครั้งที่ 1)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 186 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2536 (ครั้งที่ 2)
วัดพระสมุทรเจดีย์ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนืออ่าวไทย หรือที่เรียกว่า ปากน้ำ เนื่องจากติดชายทะเลทางตอนใต้จึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลท่วมถึง
ทะเลฝั่งอ่าวไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางทิศตะวันออก
วัดพระสมุทรเจดีย์ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ จัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางตอนล่าง หรือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนจนโผล่เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งยังมีการทับถมอยู่ตลอดเวลา โดยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นบริเวณที่ท้องน้ำตื้นเขิน น้ำไหลช้าจึงเกิดการตกตะกอนได้มาก ซึ่งทำให้เกิดสันดอนขึ้นและน้ำจะเปลี่ยนทางเดินเสมอ จัดได้ว่าการกระทำของน้ำไหลเป็นกระบวนการทางธรณีสัณฐานวิทยาของพื้นที่บริเวณนี้ที่ทำให้เกิดการกัดกร่อน การนำพา และการทับถม ลักษณะเนื้อดินประกอบด้วยเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายเล็กน้อย เก็บกักน้ำอย่างดีเมื่อน้ำแช่ขัง (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2538, 45-46)
ชื่อผู้ศึกษา : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2474
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
หนังสือเทศนาประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ และหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (พ.ศ.2504) กล่าวไว้ตรงกันว่าองค์พระสมุทรเจดีย์สูงเพียง 10 วาเท่านั้น (ประวัติพระสมุทรเจดีย์และวัดกลาง, 2508, 9)ชื่อผู้ศึกษา : ราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2512
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ราชบัณฑิตยสภา
ผลการศึกษา :
หนังสือ “ตำนานวัตถุสถานต่างๆซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนา" ราชบัณฑิตยสภารวบรวม กล่าวถึงองค์พระสมุทรเจดีย์สูงถึง 13 วา 3 มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางทิศตะวันออกปีที่ศึกษา : พ.ศ.2478
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติครั้งที่ 1ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2536
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติครั้งที่ 2ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2539, พ.ศ.2540, พ.ศ.2541
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ปีงบประมาณ 2539-2541 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานในพื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ) ตามโครงการการจัดทำฐานข้อมูลทางโบราณคดีชื่อผู้ศึกษา : วาทินี แก้วเกตุ
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2548
วิธีศึกษา : ศึกษาสถาปัตยกรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
วาทินี แก้วเกตุ ศึกษาคติการสร้างและรูปแบบของศาสนสถานในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรณีศึกษา : วัดพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ พบว่าพระสมุทรเจดีย์เป็นงานศิลปกรรมที่เป็นตัวแทนสะท้อนแง่มุมทางการเมืองการปกครอง และการศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยยังมีรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยสุโขทัย อยุธยา แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนตามพัฒนาการของศิลปะในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนมีลักษณะเฉพาะของตนเองพระสมุทรเจดีย์เป็นปูชนียสถานสำคัญตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา(หันหน้าออกทะเล) หรือทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
มูลเหตุการณ์สร้างพระสมุทรเจดีย์เกิดขึ้นในคราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้ดัดแปลงแก้ไขเมืองสมุทรปราการเสียใหม่ให้มีป้อมปราการชายทะเลที่แข็งแรงมั่นคงด้วยมีพระดำริว่าเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองแรกทางปากแม่น้ำที่ข้าศึกจะเข้าไปรุกรานพระนครซึ่งการสร้างเมืองสมุทรสาครสำเร็จลงในปีพ.ศ.2365 และในระหว่างทรงทอดพระเนตรดูงานทรงเห็นเกาะทรายที่เกิดขึ้นท้ายป้อมผีเสื้อสมุทรเกาะหนึ่งจึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นที่เกาะนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าการที่พระองค์โปรดให้สร้างป้อมไว้ก็หมายที่จะป้องกันพระพุทธศาสนาให้พ้นจากศัตรูทั้งหลายดังนั้นเมื่อสร้างเมืองเสร็จจึงให้เร่งถมเกาะหาดทรายนั้นทันที (ประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์, 2501, 23-27) โดยโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองกับเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ) มาดำเนินการก่อสร้างเริ่มจากการใช้ก้อนหินมาถมที่บนเกาะให้พื้นแน่นมีความสูงพ้นน้ำโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพกับพระยาราชสงครามเขียนแบบแผนผังรูปมหาเจดีย์ถวายทอดพระเนตรแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทรงพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” พร้อมกับพระราชนามเมืองสมุทรปราการดำเนินการเพียงเท่านี้ก็เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ.2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ดำเนินการก่อสร้างต่อโดยโปรดให้เจ้าพระยาศรีธรรมราช(น้อย) กับเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ) เป็นแม่กองสร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นตามแบบจนแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2371 เป็นรูปทรงที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระราชดำริให้สร้างคือเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสูง10 วานอกจากองค์พระสมุทรเจดีย์แล้วสิ่งก่อสร้างในคราวเดียวกันนี้ยังมีกำแพงแก้วล้อมรอบองค์พระสมุทรเจดีย์และศาลาที่พักตั้งอยู่ทั้ง4 ทิศรวมอยู่ด้วย (ประวัติพระสมุทรเจดีย์และวัดกลางวรวิหาร, 2508, 11)
ภายหลังก่อสร้างพระสมุทรสำเร็จเรียบร้อยเพียงเล็กน้อยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุและพระปิฎกธรรมจากกรุงเทพมหานครมาบรรจุที่คอระฆังองค์พระสมุทรเจดีย์แต่ต่อมาภายหลังมีคนร้ายขุดลักพระบรมสารีริกธาตุนั้นพนักงานที่เฝ้าพระสมุทรเจดีย์จับคนร้ายไม่ได้จึงปิดเรื่องนี้ไว้จนสิ้นรัชกาล
รัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จนมัสการพระสมุทรเจดีย์คราวเสด็จประพาสเมืองสมุทรปราการและโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์ให้สูงใหญ่แน่นหนามั่นคงขึ้นตามปรากฏพระราชปรารภว่า “พระสมุทรเจดีย์เป็นพระมหาเจดีย์สำคัญที่ชาวต่างประเทศจะต้องพบเห็นเป็นเกียรติยศแก่แผ่นดินก่อนเจดีย์สำคัญอื่นๆแต่พื้นที่เกาะยังคับแคบองค์พระเจดีย์ก็ต่ำเตี้ยสมควรจะสถาปนาให้สูงใหญ่ขึ้นไปอีก (ประวัติพระสมุทรเจดีย์และวัดกลาง, 2508, 11)
ประกอบกับมีผู้กราบทูลเรื่องการสูญหายของพระบรมสารีริกธาตุพระองค์จึงมีพระราชดำริว่าเพราะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสององค์ระฆังที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเล็กไม่แน่นหนาจึงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์ทรงลอมฟางที่พระนครศรีอยุธยา
ในการปฏิสังขรณ์นั้นมีการถมเกาะให้กว้างขวางกว่าเดิมก่อพระสมุทรเจดีย์เป็นทรงลอมฟาง (ทรงระฆัง) หุ้มเจดีย์ของเดิมให้สูงขึ้นไปอีกจนมีความสูง19 วา2 ศอกคืบส่วนฐานที่ขยายออกนั้นทำฐานประทักษิณมีเจดีย์ทิศ4 องค์ตั้งบนฐานประทักษิณชั้นที่2 และมีช้างล้อมรอบที่ฐาน
สิ่งสำคัญนอกจากพระเจดีย์ที่เพิ่มเติมคราวปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยนี้ได้แก่กำแพงรอบองค์พระพระวิหารใหญ่หันหน้าออกทะเล (รื้อศาลาที่พักด้านทิศใต้ที่สร้างสมัยรัชกาลที่3 ลงแล้วสร้างวิหารนี้แทน) ศาลาราย4 ทิศเฉพาะทิศใต้ทำเป็นศาลาไทยตรีมุขอีกสามด้านเป็นศาลาแบบเก๋งจีนสร้างพระแท่นสำหรับวางแท่นบูชาหอระฆังและหอเทียนอย่างละ1 คู่เรือนตะเกียงล้อมรอบเกาะหลักศิลาปักไว้รอบๆสำหรับผูกเรือก่อศิลาแลงโดยรอบเกาะทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ถมเพิ่มสร้างวิหารน้อยสองหลังถัดจากวิหารน้อยขึ้นไปทางเหนือสร้างกระถางใหญ่สำหรับปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้เม็ดมาจากเมืองพุทธคยาและโปรดพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังแล้วเสด็จยกยอดพระสมุทรเจดีย์ในปีพ.ศ.2404 (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542, 67 ; ประวัติพระสมุทรเจดีย์และวัดกลาง, 2508,12; วาทินีแก้วเกตุ, 2548,17)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการซ่อมแซมพระวิหารศาลารายทั้งสี่ทิศรื้อวิหารน้อยสองหลังกับศาลาที่พักทางเหนือซึ่งชำรุดมากแล้วโปรดให้สร้างศาลาโถงห้าห้องทรงยุโรปขึ้นแทน (บ้างว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ทางด้านทิศเหนือปลูกขึ้นในสมัยนี้คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542, 67)
รูปแบบศิลปกรรมพระสมุทรเจดีย์มีลักษณะแผนผังที่สิ่งก่อสร้างหลักตามแนวแกนทิศได้แก่พระวิหารหลวงพระเจดีย์อาคารทรงยุโรปและต้นพระศรีมหาโพธิ์
รูปแบบพระเจดีย์ที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นงานสร้างในรัชกาลที่4 โดยเปลี่ยนจากเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในรัชกาลที่1-3 เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่4 โดยพระสมุทรเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งบนฐานแปดเหลี่ยมล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วมีกระเบื้องกรุสีน้ำตาลลวดลายอย่างจีนที่ฐานบัวชั้นล่างเจาะท้องไม้เป็นซุ้มประดับประติมากรรมรูปช้างตรงกลางเป็นบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้านขึ้นสู่ลานประทักษิณชั้นที่สองที่มีพนักระเบียงประดับกระเบื้องกรุสีน้ำตาลที่ลานประทักษิณชั้นนี้มีบันไดทางขึ้นด้านละ2 ทางทั้ง4 ด้านไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนซึ่งเป็นที่รองรับเจดีย์ประธานและเจดีย์ประจำมุมทั้งสี่ซึ่งจากรูปแบบเจดีย์ประธานจัดได้ว่าเป็นตัวแทนพัฒนาการทางศิลปะในสมัยนี้กล่าวคือมีการย้อนกลับไปสร้างเจดีย์ทรงระฆังที่นิยมในสมัยอยุธยาแต่มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบบางประการจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่4 เช่นการทำฐานประทักษิณรองรับเจดีย์ทรงระฆังเสาหานสี่เหลี่ยมรวมถึงรูปแบบเส้นลวดที่ประดับที่ท้องไม้และปล้องไฉน (วาทินีแก้วเกตุ, 2548,77)
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ได้แก่วิหารหลวงสร้างในสมัยรัชกาลที่4 มีเครื่องบนก่อด้วยเครื่องปูนตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่3 เนื่องจากง่ายต่อการก่อสร้างและมีความมั่นคงแข็งแรงแต่มีโครงลายอย่างไทยที่รักษาระเบียบของช่อฟ้าใบระกาหางหงส์สำหรับลายปูนปั้นที่กึ่งกลางหน้าบันทำเป็นรูปช้างสามเศียรเทินพระเกี้ยวอันเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของรัชกาลที่5 จึงสันนิษฐานว่าอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงคราวที่มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่5 (วาทินีแก้วเกตุ, 2548,32, 77) ภายในวิหารหลวงมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรประดิษฐานภายในซุ้มปูนปั้นทรงพุ่มมหาโพธิ์มีรูปพระมหาพิชัยมงกุฏประดับที่ยอดซุ้ม
สำหรับอาคารทรงยุโรปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่5 ทางด้านทิศเหนือของพระเจดีย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะอาคารเป็นอย่างตะวันตกไม่มีหลังคาจั่วอย่างไทยภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่2 ภายในยังมีภาพเขียนเขียนขึ้นในปีพ.ศ.2538 มีภาพการสร้างเมืองสมุทรปราการและการสร้างพระสมุทรเจดีย์ (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542, 83-84, 87)
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆหลงเหลืออยู่เช่นหลักผูกเรือเป็นหลักศิลาแปดเหลี่ยมยอดเสาเป็นรูปดอกบัวสร้างในสมัยรัชกาลที่3 ปัจจุบันโผล่พ้นดินเพียงเล็กน้อยหอกลองและหอระฆังสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่4 ศาลารายซึ่งเดิมมีสี่หลังแต่รัชกาลที่4 เปลี่ยนแปลงศาลาด้านหน้าเป็นวิหารหลวงและรัชกาลที่5 เปลี่ยนศาลาด้านหลังเป็นอาคารทรงยุโรปปัจจุบันจึงเหลือเพียงสองหลังด้านข้างที่รัชกาลที่3 โปรดให้สร้างเป็นรูปเก๋งจีน เช็คให้ตรงกับประวัติด้านบน
ปัจจุบันที่ตั้งพระสมุทรเจดีย์ซึ่งเดิมเป็นเกาะกลางปากอ่าวไทยถูกดินตะกอนมาทับถมจนไม่เหลือสภาพเป็นเกาะกลางน้ำแล้ว
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์เป็นงานประจำปีของจังหวัดสมุทรปราการวันแรม 5 ค่ำเดือน11 (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542, 135)
กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ, 2516.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ, 2542.
ประวัติพระสมุทรเจดีย์ และวัดกลางวรวิหาร. พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2508.
ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี. แหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน จังหวัดสมุทรปราการ. เอกสารอัดสำเนา.
วาทินี แก้วเกตุ. การศึกษาคติการสร้างและรูปแบบของศาสนสถานในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรณีศึกษา : วัดพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ (ศศ.บ. (โบราณคดี)), มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.
สังข์ พัธโนมัย ผู้รวบรวม. ประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2538,