บ้านใหม่


โพสต์เมื่อ 7 ส.ค. 2021

ชื่ออื่น : นาไร่โคก, บอมเตาอิฐ, บอมอิฐ, หนองตุ๊ดตู่, ดอนตุ๊ดตู่, นาหนองหมัน

ที่ตั้ง : ม.4 บ้านใหม่

ตำบล : มาบปลาเค้า

อำเภอ : ท่ายาง

จังหวัด : เพชรบุรี

พิกัด DD : 12.964016 N, 99.935034 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : เพชรบุรี, อ่าวไทย

เขตลุ่มน้ำรอง : ห้วยละหารบอน, ห้วยทบ

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากอำเภอเมืองเพชรบุรี ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ เมื่อถึงแยกท่ายางให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3187 เข้าไปประมาณ 4.1 กิโลเมตร จะพบสี่แยก ให้เลี้ยวขวาแล้วไปตามทางอีกประมาณ กิโลเมตร ถึงแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ โดยอยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีมาบปลาเค้ามาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ กิโลเมตร

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม เดิมมีเนินดินที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น แต่ปัจจุบันถูกไถปรับเพื่อทำนาปลูกข้าว พบโบราณวัตถุ เช่น เศษภาชนะดินเผาและเศษอิฐ กระจายอยู่บนพื้นดิน ใกล้กับแหล่งโบราณคดีมีคลองชลประทานจากเขื่อนเพชรไหลผ่าน (อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก ประมาณ กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

10 เมตร

ทางน้ำ

ห้วยทบ

สภาพธรณีวิทยา

สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินชุดเพชรบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านใหม่อยู่ห่างจากเขากระจิว ซึ่งเป็นเขาหินปูนลูกโดดขนาดย่อม มาทางทิศตะวันออกประมาณ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลปัจจุบันมาทางทิศตะวันตกประมาณ 11 กิโลเมตร

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี, สมัยรัตนโกสินทร์, สมัยอยุธยา

อายุทางโบราณคดี

(พุทธศตวรรษที่ 9-12?) / พุทธศตวรรษที่ 12-16 / พ.ศ.1100-1600 / 1400-900 BP, พุทธศตวรรษที่ 19-ปัจจุบัน

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : ฉัตรชัย อักษรศิลป์

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2533

วิธีศึกษา : สำรวจ

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2533 ฉัตรชัย อักษรศิลป์ และคณะ สำรวจทางโบราณคดีบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ พบเศษอิฐและเศษภาชนะดินเผาจำนวนหนึ่ง

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2536

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2536 ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร สำรวจแหล่งโบราณคดีแห่งนี้อีกครั้ง ดังปรากฏในรายงานการศึกษาและการสำรวจทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมทวารวดี จังหวัดเพชรบุรี (อ้างถึงใน สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี 2541: 65)

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2540 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร สำรวจทางโบราณคดีบ้านใหม่เพิ่มเติมเนื่องในโครงการจัดทำแผนแม่บทเพื่ออนุรักษ์พัฒนาเมืองคูบัว

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ภายในพื้นที่บ้านใหม่ สำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีใน 4 พื้นที่ ได้แก่ นาไร่โคก, บอมเตาอิฐ (บอมอิฐ), หนองตุ๊ดตู่ (ดอนตุ๊ดตู่), และนาหนองหมัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ฉัตรชัย อักษรศิลป์ และคณะ 2533 : 69-72 ; ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี 2536 : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี 2541 : 65-66)

1.นาไร่โคก ปัจจุบันเป็นเนินดินขนาดเล็ก โดยรอบเป็นพื้นที่นา เดิมเป็นที่ดอนขนาดใหญ่ แต่ถูกไถปรับพื้นที่เพื่อขยายพื้นที่ทำนา ในบริเวณนี้เคยพบกระดูกเผาไฟในหม้อดินเผา ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 50-60 .พบประมาณ 100 ใบ และยังพบก้อนอิฐในบริเวณนี้ นอกจากนี้จากการสำรวจของฝ่ายวิชาการในปี พ..2536 พบเศษภาชนะดินเผาแบบเดียวกับที่เคยพบว่ามีกระดูกเผาไฟบรรจุอยู่ และพบภาชนะสำริดเนื้อบาง ชิ้น

2.บอมเตาอิฐ (บอมอิฐ) ปัจจุบันเป็นที่นา มีเศษอิฐกองอยู่บนคันนา เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นเนินอิฐสูง แต่ในปี พ..2530 มีการไถปรับพื้นที่เพื่อทำนา จนกลายสภาพเป็นที่ราบดังเช่นในปัจจุบัน อิฐที่พบในบริเวณนี้เป็นอิฐขนาดใหญ่ เนื้อหยาบ มีส่วนผสมของแกลบข้าวมากลักษณะและขนาดคล้ายกับอิฐที่พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านมาบปลาเค้า

3.หนองตุ๊ดตู่ (ดอนตุ๊ดตู่ปัจจุบันเป็นพื้นที่นา บนคันนาพบเศษภาชนะดินเผา เนื้อแกร่งเคลือบ ลักษณะเป็นเครื่องถ้วยอันนัมของญวน (ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี 2536) และจากการสำรวจของฉัตรชัย อักษรศิลป์ และคณะ (2533) พบว่ามีเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่เต็มพื้นที่เป็นบริเวณกว้างประมาณ 200 เมตร มีทั้งภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenware) ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบเขียว (Stoneware glazes) และภาชนะดินเผาเนื้อกระเบื้อง (Porcelain) สีขาวขุ่นและเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ จากแหล่งผลิตที่เตาครัวชิงและเตาซัวโถว ประเทศจีน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23-24

4.นาหนองหมัน ปัจจุบันเป็นพื้นที่นา บนแนวคันนาพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบเป็นจำนวนมาก และพบก้อนดินเผาไฟ เดิมบริเวณนี้เป็นเนินดินที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น แต่ถูกไถปรับเพื่อใช้เป็นพื้นที่นา บริเวณใกล้กันนี้ ชาวบ้านเรียก “หนองช้างน้อย” เคยพบเศษอิฐกระจายอยู่ อาจเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง

แหล่งโบราณคดีบ้านใหม่แม้ว่าจะถูกทำลายเสียหายเป็นอย่างมาก แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการสำรวจบนผิวดิน คณะสำรวจได้สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-16 เนินอิฐและกองอิฐที่พบในพื้นที่อาจเป็นร่องรอยของศาสนสถานก่ออิฐสมัยทวารวดี (พิจารณาจากลักษณะก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่และมีแกลบข้าวปนอยู่ในเนื้ออิฐมาก ซึ่งเป็นลักษณะอิฐสมัยทวารวดีจากปริมาณอิฐที่พบและการกระจายตัวของหลักฐานทางโบราณคดีที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง ทำให้สันนิษฐานต่อไปได้ว่ากลุ่มแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่อาจจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่สมัยทวารวดี มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มีการติดต่อกับชุมชนอื่นเนื่องจากพบเศษภาชนะดินเผาจากต่างถิ่น และน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับชุมชนโบราณที่บริเวณเขากระจิวและบ้านมาบปลาเค้า

จากลักษณะของหลักฐานทางโบราณคดี ที่ตั้ง ลักษณะพื้นที่ รวมถึงสภาพแวดล้อม คณะสำรวจได้จัดกลุ่มแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ ให้อยู่กลุ่มเดียวกับแหล่งโบราณคดีบ้านเขากระจิวและบ้านมาบปลาเค้า คือ “กลุ่มแหล่งโบราณคดีเขากระจิว” (สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี 2541; สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี 2543) ซึ่งแหล่งโบราณคดีกลุ่มนี้ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณรอบเขากระจิว เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมเหมาะแก่การเป็นจุดพักการเดินทางหรือชุมทาง หลักฐานทางโบราณคดีที่พบมากได้แก่ เศษภาชนะดินเผาและเศษอิฐ กระจายตัวอยู่เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งน่าจะเป็นชุมชนขนาดค่อนข้างใหญ่ นอกจากนั้นยังมีซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบทวารวดี 

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ฉัตรชัย อักษรศิลป์ และคณะการสำรวจและศึกษาร่องรอยชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในจังหวัดเพชรบุรีเอกสารประกอบการสัมมนาปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.

ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดีรายงานการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมทวารวดี จังหวัดเพชรบุรี. (เอกสารอัดสำเนา). อ้างถึงใน สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรีคูบัว ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2541.

ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม [Online]. Accessed 30 March 2011. Available from http://www.gis.finearts.go.th

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรีคูบัว ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2541.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี. ทุ่งเศรษฐี โบราณสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรีกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2543.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง