ตั้งอยู่ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ
ตั้งอยู่ ต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พบหลักฐานของชุมชนและสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 3,500-1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญ เช่น หลุมฝังศพมนุษย์ และวัตถุอุทิศให้กับศพ ทั้งเครื่องมือหินขัด เครื่องประดับทำจากหินอ่อนและเปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผา ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น
ตั้งอยู่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญคือ ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไลหิน เศษภาชนะดินเผาลายขูดขีดและลายเชือกทาบ
เมืองคูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ แผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน พบหลักฐานของการอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และศาสนสถานจำนวนมาก
ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงชั่วคราวของคนในสมัยหินใหม่ (ราว 6,000-4,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานสำคัญที่พบ เช่น เครื่องมือหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องประดับที่ทำจากกระดูกสัตว์หรือเขาสัตว์ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เป็นต้น
ต.ปึกเตียน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี และมีการอยู่อาศัยมาจนสมัยอยุธยา อาจเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลที่อยู่ในเส้นทางการเดินเรือเลียบชายฝั่ง โบราณวัตถุที่พบ เช่น เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องถ้วยจีนเป็นกระปุกเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ้อง ลูกปัดหินอาเกต จุกดินเผาหรือตราประทับ แท่นหินบด
ตั้งอยู่ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนการก่อตั้งวัดเขากระจิวในสมัยรัตนโกสินทร์ บนยอดเขากระจิวมีเจดีย์อยู่ 1 องค์ และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ซึ่งเจดีย์องค์เดิมอาจเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี เนื่องจากมีร่องรอยซากโบราณสถานและแนวถนนโบราณที่ปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ เชื่อมต่อจากเนินเขาไปยังเนินโบราณสถานสมัยทวารวดีที่อยู่หลังโรงเรียนวัดเขากระจิว
ตั้งอยู่ ม.6 บ้านโคกเศรษฐี ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ น่าจะเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลในวัฒนธรรมทวารวดี และอาจจะเป็นผู้สร้างและใช้งานเจดีย์ทุ่งเศรษฐี
ตั้งอยู่ ม.4 บ้านใหม่ ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-16 มีร่องรอยเนินอิฐและกองอิฐหลายแห่ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นร่องรอยของศาสนสถานก่ออิฐสมัยทวารวดี
ดอยมะขามป้อม 1 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
บ้านท้ายไร่ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ กลองมโหระทึกแบบเฮกเกอร์1 กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเหล็กประเภทขวานมีบ้อง ง้าวมีบ้อง และเสียมมีบ้อง
เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พบหลักฐานว่าเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 หรือประมาณ 2000 ปีมาแล้ว กระทั่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในสมัยทวารวดีและสมัยเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ
ดอยมะขามป้อม 2 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตติดต่อระหว่าง อ.ฮอด และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือแห่งแรกที่พบหลักฐานเกี่ยวกับสำริดและโลหวิทยา และยังพบหลักฐานที่เก่าไปถึงสมัยหินกลางและหินใหม่
แหล่งโบราณคดีสบคำ บริเวณที่ลาดตีนดอยคำ ลำน้ำคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ และหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เมื่อราว 15,000 – 3,000 ปีมาแล้ว
วัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ตามตำนานและพงศาวดารกล่าวว่าสร้างโดยพระยากุมาร พงศาวดารเมืองพัทลุงได้กล่าวถึงการสร้างวิหารและพระพุทธรูปที่วัดเขียนบางแก้วโดยพระยากุมารระบุอยู่ในปี พ.ศ.1482 โบราณสถานสำคัญ เช่น พระมหาธาตุเจดีย์
เมืองชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง, ต.มะกอกเหนือ และ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีการใช้พื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 โดยช่วงหนึ่งอาจใช้เป็นศูนย์กลางของเมืองพัทลุง ดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสาร เช่นในจดหมายเหตุของ De Lamane ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ.2229
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505
ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง
ตั้งอยู่บ้านจาเละ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมืองโบราณบ้านจาเละอยู่ในกลุ่มเมืองโบราณยะรัง ผังเมืองมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน ปรากฏเนินโบราณสถานมากกว่า 10 แห่ง อาจเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และพัฒนามาเป็นศูนย์กลางของพุทธมหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16