โพสต์เมื่อ 20 ก.ย. 2021
ชื่ออื่น : ถ้ำพระ, ถ้ำวังพระ
ที่ตั้ง : ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค
ตำบล : ไทรโยค
อำเภอ : ไทรโยค
จังหวัด : กาญจนบุรี
พิกัด DD : 14.41003 N, 98.85357 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แควน้อย
ปัจจุบันพื้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำพระไทรโยคอยู่ในพื้นที่ "โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ปัจจุบันพื้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำพระไทรโยคอยู่ในพื้นที่ "โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ทั้งยังเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ค้างคาวต่างๆ ไม่เปิดให้เข้าเยี่ยมชมโดยพลการ การเข้าในพื้นที่ต้องขออนุญาตจากทางโครงการฯ ก่อน
กองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ถ้ำตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแควน้อย ห่างจากคุ้งน้ำแควน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 65 เมตร หันปากถ้ำไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ปัจจุบันพื้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำพระไทรโยคอยู่ในพื้นที่ "โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"
แม่น้ำไทรโยค
ถ้ำตั้งอยู่ในเขาหินปูน ในกลุ่มหินราชบุรียุคเพอร์เมียน (245-286 ล้านปีมาแล้ว) ท่ามกลางพื้นที่โดยรอบที่เ่ป็นแนวเทือกเขาหินปูน (ยุคเพอร์เมียน) และพื้นที่ทับถมของตะกอนน้ำพาและตะกอนตะพักลำน้ำของแม่น้ำแควน้อย
ชื่อผู้ศึกษา : Eigel Nielsen, H.R. Van Heekeren, Per Sørensen, ชิน อยู่ดี, ธรรมนูญ อัตถากร, อาภรณ์ ณ สงขลา, ประพัฒน์ โยธาประเสริฐ
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2503, พ.ศ.2504, พ.ศ.2505
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : เดนมาร์ก, กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
โครงการความร่วมมือทางโบราณคดีระหว่างไทย-เดนมาร์ก (The Thai-Danish Prehistoric Expedition) ฝ่ายเดนมาร์กประกอบด้วย Dr. Eigel Nielsen นักโบราณชีววิทยา ชาวเดนมาร์ก หัวหน้าคณะ, Dr. H.R. Van Heekeren นักโบราณคดีชาวดัตช์ และ Per Sørensen นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก ส่วนฝ่ายไทยนำโดย นายชิน อยู่ดี, ธรรมนูญ อัตถากร, อาภรณ์ ณ สงขลา และประพัฒน์ โยธาประเสริฐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ร่วมกันสำรวจและขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์การขุดค้นสำรวจและขุดค้นของคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี พ.ศ.2503-2505 พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ (สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี 2552) คือ
-โครงกระดูกมนุษย์สมัยหินกลาง 1 โครง
-เครื่องมือหินกะเทาะแบบหัวบิเนียน
-ลูกปัดหินทรงกระบอก
-เศษภาชนะดินเผาแบบที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า
-กระดูกสัตว์
-เปลือกหอยน้ำจืด
-เปลือกหอยทะเล
ชิน อยู่ดี. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. พระนคร : กรมศิลปากร, 2510.
สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร. ฐานข้อมูลโบราณคดีใน "วัฒนธรรมบ้านเก่า". สุพรรณบุรี : สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2552.
Sørensen, P. Archaeological excavations in Thailand : surface finds and minor excavations. London : Curzon, 1988.