เมืองคูบัว


โพสต์เมื่อ 4 มิ.ย. 2021

ที่ตั้ง :

ตำบล : คูบัว

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ราชบุรี

พิกัด DD : 13.486388 N, 99.835746 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง

เขตลุ่มน้ำรอง : แม่น้ำอ้อม, ห้วยคูบัว, ห้วยชินสีห์

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวเมืองราชบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 3339 (ราชบุรี-คูบัวไปทางทิศใต้ประมาณ กิโลเมตร จะพบตัวเมืองโบราณคูบัวอยู่ทางซ้ายมือ 

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

ปัจจุบันกรมศิลปากรพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และบูรณะโบราณสถานในเมือง

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร, กรมธนารักษ์

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 79 ตอนที่ 97 วันที่ 30 ตุลาคม 2505

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนที่ 87วันที่ 10 กันยายน 2544

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 126วันที่ พฤศจิกายน 2548  

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

เมืองโบราณคูบัวเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ คูน้ำคันดินทางทิศเหนือและทิศใต้ยาวประมาณ 800 เมตร ส่วนทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาวด้านละ 2,000 เมตร ปัจจุบันแนวของคูน้ำคันดินถูกรบกวน ในอดีตลักษณะของคูน้ำคันดินจะประกอบไปด้วยคูน้ำอยู่ตรงกลางระหว่างคันดิน ชั้น ตัวคูน้ำมีขนาดกว้างประมาณ 50 เมตร และคันดินมีขนาดกว้าง 53 เมตร และความสูงประมาณ เมตร โดยแนวของคูน้ำเกือบทุกด้านอยู่ในสภาพตื้นเขิน เป็นที่ราบ ชาวบ้านใช้เป็นพื้นที่ทำนาหรือถมดินปลูกผลไม้ ขุดทำบ่อกุ้ง และบางส่วนมีการปลูกสร้างบ้านเรือน ยกเว้นทางด้านทิศเหนือและบางส่วนของด้านทิศตะวันออก ยังคงมีสภาพคูน้ำ เนื่องจากเป็นลำห้วยธรรมชาติ คือ ลำห้วยคูบัว ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตก

สำหรับทางด้านตะวันออกของตัวเมืองค่อนไปทางเหนือ ซึ่งเป็นแนวของลำห้วยชินสีห์ ปัจจุบันกรมชลประทานได้ดำเนินการขุดลอกใหม่ โดยแนวคันดินด้านนอกตัวเมืองทางทิศตะวันออกมีคลองชลประทานขุดทับขนานไปตลอด ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง แนวคันดินด้านในถูกขุดทำลายโดยมีถนน รพชสายบ้านตะโก-บ้านดอนตูม ทับไปเกือบตลอดแนว แนวคันดินที่ยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็น คือแนวคันดินทางด้านทิศตะวันตกด้านนอกบริเวณบ้านโพธิ์งาม โดยมีลักษณะเป็นคันดินขนาดความกว้าง53 เมตร ความสูง เมตร และความยาวประมาณ 200 เมตร

ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองโบราณคูบัวเป็นที่ราบ พื้นที่ภายในตัวเมืองมีบ้านเรือนที่พักอาศัย ตลอดจนโรงเรือนต่างๆของชาวบ้าน พื้นที่ภายในตัวเมืองจะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านคูบัวเหนือ คูบัวใต้ บ้านระหนอง บ้านตะโก บ้านสระโบสถ์ และบ้านโพธิ์งาม พื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาสลับกับเนินดินและป่าละเมาะ บางส่วนเป็นพื้นที่ปลูกสวนผลไม้ เช่น กล้วย มะพร้าว มะม่วง เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณที่อยูใกล้ลำห้วยคูบัวและลำห้วยชินสีห์ มีวัดตั้งอยู่ แห่ง คือ วัดคูบัว ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของเมือง และวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งอยู่เกือบกลางเมือง มีลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านเข้ามาหล่อเลี้ยงในตัวเมือง คือ ลำห้วยชินสีห์ ซึ่งไหลเข้ามาจากทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง แล้วไหลย้อนขึ้นไป ทางตอนเหนือบริเวณหน้าวัดโขลงสุวรรณคีรี ก่อนที่จะไหลไปลงคูเมืองด้านตะวันออก บริเวณภายในเมืองนี้พบโบราณสถานอีกจำนวน แห่ง เนื่องจากปัจจุบันเนินโบราณสถานเหล่านี้ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพ

ส่วนพื้นที่นอกแนวคูน้ำคันดิน ทางด้านตะวันออกส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา มีคลองชลประทานขนานไปกับคูเมือง พื้นที่ทางด้านตะวันนอกนี้อยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอน ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี เดิมมีร่องรอยของทางน้ำเก่า ซึ่งไหลไปลงแม่น้ำอ้อมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 2.7 กิโลเมตร แต่ปัจจุบันทางน้ำมีสภาพตื้นเขิน ทางด้านตะวันออกของตัวเมืองนี้ พบซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีจำนวน แห่ง

พื้นที่นอกแนวคูเมืองด้านทิศใต้ บริเวณนี้พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนชาวบ้าน เนื่องจากอยู่ในเส้นทางเดินโบราณที่มีความสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีตที่เรียกกันว่า “ถนนท้าวอู่ทอง” ทางด้านทิศใต้นี้มีโบราณสถานจำนวน 11 แห่ง

พื้นที่นอกแนวคูเมืองด้านทิศเหนือ เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ถัดขึ้นไปทางเหนือของหมู่บ้าน มีลำห้วยคูบัวไหลเข้าคูเมืองทางด้านตะวันตกจึงมีการดัดแปลงทางน้ำธรรมชาติ ให้เป็นคูเมืองทางด้านทิศเหนือ ก่อนที่จะไหลออกนอกตัวเมืองบริเวณมุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับลำห้วยคูบัว มีโบราณสถานตั้งอยู่จำนวน แห่ง บริเวณนี้พบซากโบราณสถานจำนวน แห่ง ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเมืองคูบัว มีทางน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ลำห้วยชินสีห์ ซึ่งไหลผ่านมาจากบ้านห้วยชินสีห์ ไหลเข้าสู่ตัวเมืองโบราณคูบัว พื้นที่ทางด้านตะวันตกนี้พบโบราณสถานจำนวน 21 แห่ง

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

5 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำอ้อม และลำน้ำสาขา ได้แก่ ห้วยคูบัว ห้วยชินสีห์

สภาพธรณีวิทยา

บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำท่วมล้อมรอบที่ราบขั้นบันได เป็นผลให้แหล่งโบราณคดีที่พบในภูมิภาคนี้มีอายุไม่มากนัก ส่วนใหญ่จัดอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงยุคประวัติศาสตร์ ลักษณะดินบริเวณเมืองโบราณคูบัวเป็นดินชุด Nakhon Pathom (50) Thon Buri (14) Bang Pa In (30) Sara Buri (53) Damnoen Saduak (15) Banglen (9) Bangplae (13) Pran Buri (55) ซึ่งเป็นดิน Alluvial Soil แต่ทางเมืองโบราณลงมาเป็นดินชุด Hua Hin (16) ซึ่งจัดเป็นดินRegosols หรือดินชายฝั่งทะเล

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี

อายุทางโบราณคดี

ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 / พ.ศ.1100-1600 / 1400-900 BP

อายุทางวิทยาศาสตร์

1590±120, 1550±90, 1080±100 BP หรือในช่วง 1,000-1,400 BP / กำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน 14 (นายมานิจ ช้อนสุข และนายสรวิทย์ แซ่จิ้น) จากตัวอย่างเปลือกหอย

ประวัติการศึกษา

ผลการศึกษา :

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2494 ท่านเจ้าคุณพุทธวิริยากร วัดสัตนารถประวัติ ร่วมกับท่านเจ้าคุณจินดากรมุนี วัดราชบพิธ พระภิกษุสะอาด วัดลาดเมธัง และสามเณรไสว วัดศรีสุริยวงศ์ สำรวจซากโบราณสถานภายในคูบัว และได้จดลงบันทึก เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2500 พระภิกษุลมุล คุณาภิรโต แห่งวัดสัตตนาตปริวัตร จังหวัดราชบุรี ทำหนังสือแจ้งกรมศิลปากรว่ามีวัดร้างเป็นเนินดินขนาดใหญ่ อยู่ในเขตจังหวัดราชบุรี และมีชาวบ้านได้ลักลอบขุดค้นได้พระพุทธรูปและเทวรูปจำนวนมาก ทางกรมศิลปากรจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจอย่างคร่าวๆ พบเนินดินขนาดใหญ่หลายแห่ง มีก้อนอิฐกระจัดกระจายอยู่ตามเนินดิน ผู้สำรวจสันนิษฐานว่าเนินดินเหล่านั้นน่าจะเป็นโบราณสถาน และพบเศียรพระพุทธรูปที่ชาวบ้านพบในบริเวณนั้น มีลักษณะทางศิลปะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เดือนกันยายน พ.ศ.2503 กรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจอีกครั้งหนึ่ง พบเนินดินอีกหลายแห่ง แต่อยู่ในที่ดินของเอกชน จึงจำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของที่ดินก่อน ทำให้ยังไม่ได้ดำเนินการสำรวจหรือขุดค้นได้อย่างจริงจัง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2506 นายสมศักดิ์ รัตนกุล สำรวจพื้นที่และขุดค้นเนินดินหลายแห่งทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว พบเนินดินซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานมากกว่า 44 แห่ง แต่คณะทำงานได้กำหนดหมายเลขโบราณสถานไว้เพียง 44 แห่ง และได้ขุดแต่งโบราณสถานเหล่านั้นจำนวน 23 แห่ง (สมศักดิ์ รัตนกุล 2504) พบว่าส่วนใหญ่เป็นส่วนฐานเจดีย์หรือวิหาร ลักษณะการก่อสร้างโบราณสถาน ส่วนใหญ่สร้างด้วยอิฐเนื้อผสมแกลบ ใช้ดินสอ จากซากโบราณสถานทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีเจดีย์แบบต่างๆถึง 8 แบบ ทั้งฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานกลม และฐานแปดเหลี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ จากการขุดแต่งโบราณสถาน ยังพบประติมากรรมที่ทำด้วยดินเผาและปูนปั้น ซึ่งใช้ตกแต่งโบราณสถาน เช่น รูปเทวดา สัตว์ ยักษ์ พระโพธิสัตว์ และพระพุทธรูป หลักฐานเหล่านี้แสดงถึงความสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ว่าเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่เมืองหนึ่งในสมัยทวารวดี (ตรี อมาตยกุล 2523: 47-52) ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 13-16 และในครั้งนี้มีการเรียกชื่อเมืองโบราณแห่งนี้ตามชื่อที่ตั้งในปัจจุบันว่า “เมืองคูบัว” พ.ศ.2524-2525 ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ามาดำเนินงานทางโบราณคดีในเมืองโบราณคูบัว โดยมีอาจารย์สินชัย กระบวนแสง เป็นผู้ควบคุมการขุดค้น โดย พ.ศ.2524ขุดค้น 9 หลุม ในพื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือภายในเมืองโบราณ ได้แก่หลุม NW27-41, NW27-16, NW27-91, NW27-116, NW27-117, NW27-118, NW27-119, NW27-342 และ NW27-343ขนาดหลุมละ 3x3 เมตร ซึ่งตั้งสมมติฐานว่าพื้นที่บริเวณที่ขุดค้น น่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนในอดีต ส่วนในปี พ.ศ.2525 โครงการฝึกภาคสนามคณะโบราณคดี ขุดค้นจำนวน 9 หลุม ได้แก่หลุม NE8-33, NE8-34, NE8-35, NE8-10, NW9-610, NW9-585, NW9-560, NW9-585 และ NW9-560 ขนาดหลุมละ 3x3 เมตร อยู่ในพื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือภายในเมืองโบราณ ห่างจากวิหารของวัดโขลงสุวรรณคีรี ประมาณ 140 เมตร พบโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องใช้และเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นพื้ตนทีอยู่อาศัยเช่นเดียวกับการขุดค้นในปี พ.ศ.2524 พ.ศ.2536-2537 นายนิติ แสงวัณณ์ นักโบราณคดีประจำหน่วยศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี เป็นหัวหน้าคณะทำงาน เดินทางเข้าสำรวจเก็บข้อมูลในเขตเมืองคูบัว โดยเน้นที่การจัดทำแผนที่ แผนผังของเมืองโบราณดังกล่าว พบโบราณสถานเพิ่มอีก 5 แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 45, 46, 47, 48 และ 49 ทั้งยังขุดแต่งโบราณสถานที่วัดคูบัว (โบราณสถานหมายเลข 8) พ.ศ.2538 กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะโบราณสถานในเขตเมืองคูบัว 3 แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 8 (วัดคูบัว) โบราณสถานหมายเลข 18 (วัดโขลง) และโบราณสถานหมายเลข 44 (โคกของนายผาด, วัดหนองเกษร) พ.ศ.2539 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี ขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 31 (โคกวิหาร) พ.ศ.2540 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี โดยนางสาวพยุง วงษ์น้อย นายเดชา สุดสวาท และนางสาวสุริยา สุวรรณนิมิตร นักโบราณคดี ฝ่ายวิชาการ สำรวจพื้นที่เมืองคูบัว เพื่อรวบรวมข้อมูลโบราณสถานทั้งหมดประกอบการประมวลจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองคูบัว สำหรับกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินงานพัฒนาเมืองโบราณคูบัว จากการสำรววจพบโบราณสถานเพิ่ม 1 แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 50 ส่วนโบราณสถานหมายเลข 51-59 นั้น เป็นการให้หมายเลขเพิ่มเติมจากโบราณสถานที่สำรวจพบเมื่อปี พ.ศ.2504-2506

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย, ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

เมืองโบราณคูบัว เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ แผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านหลายสาย ลำห้วยเหล่านี้เป็นลำห้วยสาขาของลำน้ำสายใหญ่ ซึ่งได้แก่ แม่น้ำอ้อม (แม่น้ำแม่กลองสายเดิมและแม่น้ำแม่กลอง

การสำรวจเมืองโบราณคูบัวตั้งแต่ปี พ..2504 จนถึงปัจจุบัน พบโบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในและภายนอกคูเมืองจำนวน 67 แห่ง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งแล้วจำนวน 23แห่ง ส่วนใหญ่เป็นซากฐานสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นสืบเนื่องกับพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน แหล่งโบราณคดีของเมืองโบราณคูบัว อาจแบ่งได้เป็น ประเภท (ตามลักษณะการใช้งานคือ

1.คูน้ำและคันดิน คูน้ำอยู่ตรงกลางระหว่างคันดิน ชั้น ตัวคูน้ำกว้างเฉลี่ยประมาณ 50 เมตร ส่วนคันดินกว้างประมาณ 53 เมตร สูงเมตร คูน้ำ-คันดินด้านทิศเหนือและใต้ยาวด้านละประมาณ 800 เมตร ส่วนคูน้ำ-คันดินด้านทิศตะวันออกและตะวันตกยาวด้านละประมาณ 2,000 เมตร รวมความยาวมั้ง ด้านโดยรอบตัวเมืองประมาณ 5,680 เมตร

2.ศาสนสถาน จากการสำรวจพบจำนวน 67 แห่ง บริเวณภายในเมืองพบโบราณสถานที่ยังปรากฏหลักฐานอยู่จำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 8, 15, 18, 24, 25, 28, 36 และ 46 และบริเวณที่เคยสำรวจพบเนินโบราณสถาน แต่ปัจจุบันถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพอีก แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 9, 16, 17, 23 และโบราณสถานใกล้กับโบราณสถานหมายเลข อีก 2แห่ง ซึ่งขุดแต่งโดยนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ..2524-2526

บริเวณนอกแนวคูน้ำ-คันดินด้านทิศตะวันออก พบโบราณสถานที่ยังเหลือร่องรอยจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข19, 26, 31, 32, 33 และ 49 บริเวณที่เคยสำรวจพบเนินโบราณสถาน แต่ปัจจุบันถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพอีกจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 29 และ 30

บริเวณนอกคูเมืองด้านทิศใต้พบโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 34, 39, 41, 43, 44 และ 50 บริเวณที่เคยสำรวจพบเนินโบราณสถาน แต่ปัจจุบันถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 35, 37, 38, 40, 42, โบราณสถานบริเวณบ้านนายต่อม เอี่ยมโฉมโบราณสถานบริเวณบ้านนางสาวสนุ่น ขำเลิศ และโบราณสถานบริเวณบ้านนายเลิศ พิบูลย์แถว

บริเวณนอกคูเมืองทางมุมตะวันตกเฉียงเหนือ พบโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข1, 2, 5, 6 และ บริเวณที่เคยสำรวจพบเนินโบราณสถานแต่ปัจจุบันถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข และ 4

บริเวณนอกคูเมืองทางด้านทิศตะวันตก พบโบราณสถานที่ยังปรากฏร่องรอยจำนวน 14 แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 10, 11, 12, 14, 20, 21, 45, 51, 52, 53, 54, 55, 56 และ 57 ส่วนโบราณสถานที่ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานหมายเลข 13, 22, 27, 47, 48, 58, 59, โบราณสถานบริเวณบ้านนายเปี้ย จันทะ และโบราณสถานบริเวณบ้านนางผาด คล้ายพั้ง

โบราณสถานที่ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพ และไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งได้อีกจำนวน แห่ง คือ โบราณสถานบริเวณบ้านนายมิ่ง แก้วสว่าง

ศาสนสถานในพุทธศาสนามหายานเท่าที่พบ มักนิยมตกแต่งอาคารด้วยลวดลายต่างๆ ทั้งที่เป็นแผ่นภาพดินเผา แผ่นภาพปูนปั้น ตลอดจนประติมากรรมนูนสูง ทั้งดินเผาและปูนปั้น ดังเช่นที่โบราณสถานหมายเลข 39 และ 40 ได้พบภาพดินเผารูปพระโพธิสัตว์ เทวดา อมนุษย์ เช่น นาค ครุฑ คนธรรพ์ ยักษ์ รากษส คนแคระ และรูปสัตว์ต่างๆ เช่น สิงห์ ช้าง ม้า เป็นต้น โดยเฉพาะเศียรพระโพธิสัตว์ดินเผา ที่แสดงถึงฝีมือช่างชั้นสูง คล้ายคลึงกับภาพเขียนภายในถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย รูปพระโพธิสัตว์ดินเผาที่ส่วนองค์ยังคงสภาพดีอยู่ ล้วนยืนในท่าตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพกทรงศิราภรณ์ไม่ว่าจะเป็นมงกุฎ กุณฑล กรองศอ พาหุรัด ฯลฯ ลักษณะเดียวกับประติมากรรมในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่มีพระเกศายาวม้วนเป็นลอนประพระอังสา และทรงหนังกวางคล้ายกับที่ถ้ำอชันตา และถ้ำเอลโลรา ประเทศอินเดีย จนมีผู้สันนิษฐานว่าประติมากรรมดินเผาที่พบที่โบราณสถานหมายเลข 39 และ 40 นี้ อาจจะทำขึ้นโดยช่างฝีมือดีชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคูบัว (ศิลป พีระศรี 2504: 60) ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-13

ศาสนสถานที่ปรากฏหลักฐานทั้งพุทธศาสนามหายานและเถรวาทที่สำคัญหนึ่งคือ โบราณสถานหมายเลข 18 หรือวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งยู่เกือบกลางเมืองคูบัว มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดในบรรดาพุทธสถานเมืองคูบัว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของวิหาร เพราะมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะของฐานโบราณสถานนี้คล้ายกับศาสนสถานเขาคลังใน กลางเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังได้พบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์สำริดขนาดเล็ก มีรูปแบบคล้ายคลึงกับประติมากรรมที่พบทางภาคใต้

ส่วนศาสนสถานในพุทธศาสนา ลัทธิเถรวาท ไม่นิยมการประดับตกแต่งมากนัก อาจมีเพียงแผ่นอิฐแต่งลวดลายหรือชิ้นส่วนลวดลายดินเผาประดับ หรืออาจเป็นแผ่นภาพเล่าเรื่องในพุทธศาสนา เช่น ภาพปูนปั้นประดับโบราณสถานหมายเลข 10 เป็นภาพจากนิทานในนิกายสรวาสติวาส ภาพเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกับภาพปูนปั้นประดับฐานเจดีย์จุลประโทน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวพุทธศตวรรษที่ 12

โบราณสถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ซึ่งได้พบผอบทองคำ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุครอบด้วยผอบเงิน ฝาแกะลวดลายดอกบัว บรรจุในช่องกลางของกล่องรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะเป็นช่องช่อง วางอยู่ใต้ฐาน กล่องดังกล่าวคล้ายกับที่พบที่สทิงพระ จ.สงขลา และคล้ายกับกล่องเครื่องพิธีวางศิลาฤกษ์ของลังกาที่เรีกยว่า “ยันตรกาล” ปกติมี ช่อง หรือมากกว่านั้น เพื่อบรรจุรูปสัญลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่องจักรวาลที่มีต้นเค้ามาจากอินเดีย ทั้งหมดล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องการเคารพบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคาร ซึ่งสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (พัชรินทร์ ศุขประมูล 2534: 83)

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ ความกว้างประมาณ 18 เซนติเมตร ความยาว 34 เซนติเมตร และความหนา เซนติเมตร ดินที่ใช้เผามีส่วนผสมของแกลบข้าวเมล็ดใหญ่ โบราณสถานส่วนมากใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้าง มีโบราณสถานเพียงแห่งเดียว คือ โบราณสถานหมายเลข 18 วัดโขลงสุวรรณคีรี ที่มีฐานก่อด้วยศิลาแลง

การวางฐานรากของอาคาร ก่อนการก่อสร้าง ส่วนใหญ่ใช้ทรายปูพื้นปรับระดับให้เสมอกันแล้วจึงเริ่มก่ออิฐ การก่อสร้างอาคารศาสนสถานส่วนใหญ่ใช้อิฐเรียงต่อกันขึ้นไปโดยใช้ดินหรือปูนสอ ส่วนลักษณะการก่อฐานอาคารมี รูปแบบ คือ

การก่ออิฐทึบตันทั้งองค์ ตอนกลางองค์เจดีย์ภายในพบอิฐลักษณะพิเศษ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอิฐที่ใช้ในการวางศิลาฤกษ์ ลักษณะผิวหน้าอิฐขัดเป็นมัน บางครั้งพบว่ามีทองคำเปลวปิดอยู่

การก่ออิฐเป็นระเบียบเฉพาะแนวชั้นนอก ส่วนแนวชั้นในองค์เจดีย์ใช้ดินหรือเศษอิฐหักถมลงไปตรงกลาง

ลักษณะของฐานโบราณสถานที่พบจากการขุดแต่งในระหว่างปี พ..2504-2506 สามารถแบ่งออกเป็น รูปแบบ (สมศักดิ์ รัตนกุล 2535: 24-26) คือ

2.1 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐขึ้นไปตรงๆอย่างธรรมดาไม่มีการย่อมุข

2.2 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บนฐานสี่เหลี่ยมมีองค์เจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีมุขยื่นออกมาด้านละ มุข

2.3 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีฐานเขียงซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ และมีซุ้มรอบองค์เจดีย์

2.4 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดยื่นออกมาจากฐานทั้งสี่ด้านหรือด้านเดียว

2.5 ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาจากมุมทั้งสี่

2.6 ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

2.7 ฐานกลม

2.8 ฐานแปดเหลี่ยม

3.แหล่งที่อยู่อาศัย ปัจจุบันได้สำรวจพบเนินดินแหล่งโบราณคดีที่มีร่องรอยโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในชีวิตประจำวัน มีลักษณะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย จำนวน แห่ง ได้แก่

แหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณบ้านดอน ตั้งอยู่นอกเมืองคูบัวทางทิศตะวันออกในเขตบ้านดอน ต.เกาะศาลพระ อ.วัดเพลง พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินทั้งแบบผิวเรียบและมีการตกแต่งผิวด้วยลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และลายกดประทับกระจายอยู่มั่วไป อีกทั้งยังพบเศษอิฐจำนวนหนึ่ง

แหล่งที่อยู่อาศัยด้านหน้าวัดโขลง ตั้งอยู่บนแนวคันดินด้านในทางทิศตะวันออกเกือบกึ่งกลางเมืองคูบัว พบโบราณวัตถุพวกเศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน เศษเครื่องเคลือบสีเขียวแบบจีน เบี้ยดินเผา หินบด ลูกปัดแก้ว และก้อนอิฐจำนวนหนึ่ง

แหล่งที่อยู่อาศัยบ้านสระโบสถ์ อยู่ในตัวเมืองใกล้กับคูเมืองด้านทิศตะวันออกค่อนไปทางด้านใต้ใกล้กับโบราณสถานหมายเลข 28 พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินกระจายอยู่ทั่วไป

โบราณวัตถุที่พบที่เมืองคูบัว มีทั้งที่เป็นของที่ทำขึ้นเนื่องในศาสนาและทำขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน โบราณวัตถุที่ทำขึ้นเนื่องในศาสนา นอกจากประติมากรรมประดับอาคารศาสนสถานที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังพบพระพุทธรูปดินเผาและพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทมีดอกบัวรองรับ ปางแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากนี้ยังได้พบพระพิมพ์ ทั้งที่ทำจากดินเผาและหินชนวน ชิ้นส่วนธรรมจักรศิลา ประติมากรรมรูปบุคคลที่ทำด้วยดินเผาและปูนปั้น ภาพบุคคลที่พบนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในเมืองโบราณคูบัวในเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย การดำรงชีวิต ลักษณะสังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนภายนอกที่มาจากโพ้นทะเล เช่น ภาพดินเผารูปผู้ชายไว้เครา แต่งกายมีผ้าโพกศีรษะแหลม สวมรองเท้าบู๊ท สันนิษฐานว่าอาจเป็นชาวอาหรับที่เดินทางเข้ามาค้าขาย

โบราณวัตถุที่ทำขึ้นใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยดินเผา อาทิ ตะคัน ตะเกียง แว ลูกกระสุน ที่ประทับลวดลาย เครื่องประดับทำจากโลหะ เครื่องมือโลหะ ลูกปัดแก้ว ฯลฯ รูปแบบของเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับที่เหล่านี้ ล้วนแต่สืบทอดมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่มีเทคนิคและวิธีการที่ซับซ้อนขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงถึงพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมศิลปากรราชบุรีกรุงเทพฯอมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2534.

ตรี อมาตยกุลเมืองโบราณที่บ้านคูบัว จากสมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรีกรุงเทพฯชวนพิมพ์, 2523.

พยุง วงษ์น้อย (บรรณาธิการ). ลายศิลป์ดินเผาเมืองคูบัว รายงานผลการศึกษาโครงการศึกษาประติมากรรมดินเผาแบบทวารวดีที่เมืองคูบัวกรุงเทพฯ ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี, 2545

พร้อม สุทัศน์ ณ อยุธยาการฝังรากฐานพระพุทธศาสนาลงที่บ้าน “คูบัว” อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ถึง พระเจ้ากนิษกะ จาก พ..239-703พระนคร แพร่พิทยา, 2511.

พัชรินทร์ ศุขประมูล. “สมัยประวัติศาสตร์.” ราชบุรีกรุงเทพฯ อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2534.

พิริยะ ไกรฤกษ์. “ประติมากรรมในประเทศไทย.” เมืองโบราณ 9, 3 (สิงหาคม-พฤศจิกายน 2526), 12-50.

ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม [Online]. Accessed 30 March 2011. Available from http://www.gis.finearts.go.th

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทยกรุงเทพฯ เมืองโบราณ, 2547.

ศิลป พีระศรี. “การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี.” สมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี.พระนคร ศิวพร, 2504.

สมชาติ มณีโชติ และคนอื่นๆรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีบ้านคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เฉพาะหลุมขุดค้นNW27-342กรุงเทพฯคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2523.

สมศักดิ์ รัตนกุลโบราณคดีเมืองคูบัวกรุงเทพฯ กรมศิลปากร (จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ว่าที่ ร..สมศักดิ์ รัตนกุล), 2535.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรีคูบัว ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2541.

อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. “ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2525.

เอ็นดู นิลกุล. “การศึกษาภาชนะะดินเผาที่ตำบลคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี ที่ได้จากการขุดค้นระหว่างปี พ..2524-2525” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2528.